Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64328
Title: การเตรียมสีเซรามิกจากกากอุตสาหกรรมจากการชุบผิวเหล็กกล้า
Other Titles: Preparation of ceramic pigment from steel plating waste
Authors: เบญจมาศ ห้วยหงษ์
ปุญศนิษฐ์ องค์อภิบูลย์
Advisors: วันทนีย์ พุกกะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Wantanee.B@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นศึกษาการใช้กากตะกอนโครเมียมจากอุตสาหกรรมการชุบผิวเหล็กกล้า มาเป็นวัตถุดิบทดแทนในผงสีเซรามิก องค์ประกอบหลักทางเคมีของกากตะกอนโครเมียม คือ โครเมียมออกไซด์ (Cr₂O₃) ซึ่งเป็นออกไซด์ที่สามารถทำให้เกิดสีเขียวในเคลือบ จากองค์ประกอบทางเคมีของกากตะกอนโครเมียม พบว่า น่าจะนำมาทำเป็นผงสีเขียวได้เนื่องจากมีปริมาณโครเมียมออกไซด์สูง งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมผงสีเซรามิกสีเขียวจากกากตะกอนโครเมียมเทียบกับสีเขียวทางการค้าและพิจารณาความแตกต่างของสีและค่าสีมาตรฐาน CIELAB โดยศึกษาผงสีเขียวที่มีส่วนผสมของกากตะกอนโครเมียมต่อซิลิกาและแคลเซียมคาร์บอเนตในอัตราส่วน 1:1:1 1:1:0.8 1:1:0.6 และ 1:1:0.4 โดยโมล ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า สัดส่วนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ลดลงทำให้สีเขียวที่ได้เข้มขึ้น โดยอัตราส่วนผสมระหว่างกากตะกอนโครเมียม ซิลิกา และแคลเซียมคาร์บอเนตที่ให้สีเขียวที่ใกล้เคียงกับสีทางการค้าที่สุด คือ 1:1:0.4 หลังจากนั้นเติมโครเมียมออกไซด์ 0.1 และ0.2% โดยโมล ลงในส่วนผสมเคลือบทึบที่มีอัตราส่วนของกากตะกอนโครเมียมต่อ ซิลิกา และแคลเซียมคาร์บอเนต 1:1:0.4 จากการเปรียบเทียบผลของปริมาณโครเมียมออกไซด์ที่มีต่อลักษณะเคลือบทึบ พบว่า การเติมโครเมียมออกไซด์ 0.1% โดยโมล ทำให้เคลือบทึบมีสีเขียวมากยิ่งขึ้น แต่ยังไม่ใกล้เคียงกับสีเขียวทางการค้าเท่าที่ควร จึงมีการเติมเหล็กออกไซด์และโคบอลต์ออกไซด์เพิ่มเข้าไป 0.05 0.10 และ 0.15% โดยน้ำหนัก การเติมเหล็กออกไซด์เพิ่มเข้าไป 0.05% โดยน้ำหนัก ให้สีเขียวที่ใกล้เคียงกับสีทางการค้ามากที่สุด (Δ{u1D438}<5) จึงสรุปได้ว่าสามารถใช้กากตะกอนโครเมียมจากอุตสาหกรรมการชุบผิวเหล็กกล้ามาเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตผงสีเซรามิกสีเขียวได้
Other Abstract: This study focused on the use of chromium waste from steel surface plating industry as a replacement of raw materials in ceramic pigment. According to chemical composition of chromium waste, it is possible to use it as raw materials in green ceramic pigment which is a chromium-rich pigment. The main chemical composition of chromium waste is chromium oxide (Cr2O3) which can create green color in glazes. This study prepared of green ceramic pigment from chromium waste compared with commercial green pigment, considering the difference of the obtained color and the commercial colors by CIELAB standards. Characteristics of green pigment from the mixtures of each chromium waste, silica and calcium carbonate, the mol ratios of which among 1:1:1 1:1:0.8 1:1:0.6 and 1:1:0.4, were observed. The experimental results showed the smaller content of calcium carbonate led to more vivid green. The optimum ratio of chromium waste, silica and calcium carbonate of 1:1:0.4 provided the similar green relative the commercial green. The addition of chromium oxide 0.1 and 0.2 mol% in the opaque glaze, with the 1:1:0.4 pigment was concerned. The experimental results showed the addition of 0.1 mol% chromium oxide gave the closer green opaque glaze but not yet satisfactory. So, the addition of iron oxide and cobalt oxide of 0.05, 0.10 and 0.15 wt% each was subsequently undergone. The results suggested that 0.05 wt% iron oxide gave the best green which was very similar to commercial green pigment (Δ{u1D438}<5). This indicated that chromium waste from steel surface plating industry could be potentially used as a raw material in green ceramic pigment production.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64328
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjamas H_Se_2561.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.