Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64770
Title: ผลการใช้ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง: กรณีศึกษาสภานักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Effects of activity package based on peer-mediation model to enhance conflict resolution skills: a case study of elementary student council in the three southern border provinces
Authors: รัตนาวดี แม่นอุดม
Advisors: สมพงษ์ จิตระดับ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Somphong.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งสำหรับสภานักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สภานักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 จำนวน 31 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 2) แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบกึ่งโครงสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ย จำนวน 18 กิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติทดสอบ (Paired-Sample t-test) วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยใช้ค่าสถิติแบบ (Independent-sample-t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยมีความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนเข้าใจความคิดความรู้สึกของตนเองและรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น รู้จักการเป็นผู้ฟังที่ดีและตระหนักถึงคุณค่าของกระบวนการเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยว่ามีความสำคัญกับตนเองในมิติของการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน
Other Abstract: This research aimed to study the effects of activity package based on peer-mediation model to enhance conflict resolution skills for elementary student council in the three southern border provinces. The sample were 31 fourth to sixth grade elementary student council of a large public elementary school located at a southern border province in Thailand. All students participated, as the sample in this study, were purposive selected. To conduct an experiment of the study, the researcher used (1) the conflict resolution skill test using rating scale 25 questions (2) the semi-structured oral test 5 questions. The treatment to be implemented included 18 activity packages based on peer-mediation model, 2 hours a week. All collected data were analyzed with descriptive statistic (i.e., mean, standard deviation) and content analysis. It was found that, after learning through the implemented 18 activity packages, the students higher demonstrated their conflict resolution skill with statistically significant level at .05. They also had ability to understand the emotions of others, to be a good listener, and realize that peer mediation was important process to help them deal with conflict in school.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64770
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.968
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.968
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6083345927.pdf5.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.