Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6487
Title: รูปแบบความผูกพันกับการอนุมานสาเหตุการกระทำ ของตนเองและผู้อื่นในสถานการณ์ทางลบ
Other Titles: Attachment styles and causal attribution of one's own behaviors versus others' behaviors in negative situations
Authors: อรพรรณ ภารพบ
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Subjects: ความผูกพัน
การอนุมานสาเหตุ (จิตวิทยา)
การรับรู้ตนเอง
Issue Date: 2546
Abstract: ศึกษาว่ารูปแบบความผูกพันที่แบ่งเป็นสี่ด้าน ได้แก่ มั่นคง หมางเมิน หมกมุ่น และหวาดหวั่น มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการอนุมานสาเหตุการกระทำของตนเองและผู้อื่น ในสถานการณ์ทางลบหรือไม่ ซึ่งการอนุมานสาเหตุสามารถแบ่งออกได้สามมิติ ได้แก่ มิติแหล่งกำเนิดของสาเหตุ มิติความคงทนถาวรและมิติความเป็นสากล และศึกษาว่ารูปแบบความผูกพันจะมีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญกับความลำเอียง ในการอนุมานสาเหตุ ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนพื้นฐานในการอนุมานสาเหตุ และปรากฏการณ์ผู้กระทำ-ผู้สังเกตหรือไม่ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้ร่วมการวิจัย (N = 400) เป็นชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 17-37 ปี และจบการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบความผูกพันด้านมั่นคงมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวก กับการอนุมานสาเหตุการกระทำของตนเองในแง่ดีทั้งในมิติแหล่งกำเนิดของสาเหตุ มิติความคงทนถาวร และมิติความเป็นสากล 2. รูปแบบความผูกพันด้านมั่นคงมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวก กับการอนุมานสาเหตุการกระทำของผู้อื่นในแง่ดีเฉพาะในมิติความคงทนถาวร และมิติความเป็นสากล 3. รูปแบบความผูกพันด้านหมกมุ่นมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวก กับการอนุมานสาเหตุการกระทำของตนเองในแง่ร้ายเฉพาะในมิติความคงทนถาวร และมิติความเป็นสากล 4. รูปแบบความผูกพันด้านหมกมุ่นมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวก กับการอนุมานสาเหตุการกระทำของผู้อื่นในแง่ร้ายเฉพาะในมิติความคงทนถาวร และมิติความเป็นสากล 5. รูปแบบความผูกพันด้านหมางเมินมีสหสัมพันธ์ที่ไม่มีนัยสำคัญ กับการอนุมานสาเหตุการกระทำของตนเองในแง่ดีทั้งในมิติแหล่งกำเนิดของสาเหตุ มิติความคงทนถาวร และมิติความเป็นสากล 6. รูปแบบความผูกพันด้านหมางเมิน มีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับการอนุมานสาเหตุการกระทำของผู้อื่นในแง่ร้าย ในเฉพาะในมิติแหล่งกำเนิดของสาเหตุ 7. รูปแบบความผูกพันด้านหวาดหวั่น มีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับการอนุมานสาเหตุการกระทำของตนเองในแง่ร้าย ทั้งในมิติแหล่งกำเนิดของสาเหตุ มิติความคงทนถาวร และมิติความเป็นสากล 8. รูปแบบความผูกพันด้านหวาดหวั่นมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวก กับการอนุมานสาเหตุการกระทำของผู้อื่นในแง่ร้ายทั้งในมิติแหล่งกำเนิดของสาเหตุ มิติความคงทนถาวร และมิติความเป็นสากล 9. รูปแบบความผูกพันด้านมั่นคง มีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางลบกับคะแนนความคลาดเคลื่อนพื้นฐาน ในการอนุมานสาเหตุในระดับที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับคะแนนรูปแบบความผูกพันด้านหมางเมินและด้านหวาดหวั่น แต่สูงกว่าอย่างไม่มีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับคะแนนรูปแบบความผูกพันด้านหมกมุ่น 10. รูปแบบความผูกพันด้านหมางเมินไม่มีความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ผู้กระทำ-ผู้สังเกต แต่จากการวิเคราะห์เพิ่มเติม พบว่าเฉพาะในสถานการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบทั่วไป ความผูกพันด้านหมางเมินมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวก กับปรากฏการณ์ผู้กระทำ-ผู้สังเกต 11. รูปแบบความผูกพันด้านหมางเมินมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวก กับความคลาดเคลื่อนพื้นฐานในการอนุมานสาเหตุในระดับสูงกว่า เมื่อเทียบกับรูปแบบความผูกพันด้านมั่นคง แต่ไม่แตกต่างเมื่อเทียบกับรูปแบบความผูกพันด้านหมกมุ่น ส่วนรูปแบบความผูกพันด้านหวาดหวั่นมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวก กับความคลาดเคลื่อนพื้นฐานในการอนุมานสาเหตุในระดับสูงกว่า เมื่อเทียบกับรูปแบบความผูกพันทั้งด้านมั่นคงและด้านหมกมุ่น
Other Abstract: To examine the relationships between the 4 attachment styles : secure, dismissing, preoccupied, and fearful, and causal attribution of one's own behaviors versus other's behaviors specifically in negative situations. This research was also designed to explore whether there was any relationship between the attachment styles and such attributional bias as fundamental attribution error and actor-observer effect. The participants (N = 400) in this research were males and females aged between 17-37 years old, and held or expected a bachelor degree in minimum. The results show that 1. Secure attachment style has positive linear correlations with optimistic explanatory style in personalization, stability, and pervasiveness dimensions when explaining one's own behaviors. 2. Secure attachment style has positive linear correlations with optimistic explanatory style in stability and pervasiveness dimensions when explaining others' behaviors. 3. Preoccupied attachment style has positive linear correlations with pessimistic explanatory style in stability and pervasiveness dimensions when explaining one's own behaviors. 4. Preoccupied attachment style has positive linear correlations with pessimistic explanatory style in stability and pervasiveness dimensions when explaining others' behaviors. 5. Dismissing attachment style has non-significant correlations with optimistic explanatory style in personalization, stability, and pervasiveness dimensions when explaining one's own behavior. 6. Dismissing attachment style has a positive linear correlation with pessimistic explanatory style in personalization dimension when explaining others' behaviors. 7. Fearful attachment style has positive linear correlations with pessimistic explanatory style in personalization, stability, and pervasiveness dimensions when explaining one's own behaviors. 8. Fearful attachment style has positive linear correlations with pessimistic explanatory style in personalization, stability, and pervasiveness dimensions when explaining others' behaviors. 9.Secure attachment style has a stronger negative linear correlation with the fundamental attribution error when comparing to dismissing and fearful attachment style, but not when comparing to preoccupied attachment style. 10. Dismissing attachment style has a non-significant correlation with actor-observer effect. However, further analysis shows that only in the situations concerning general relationships, dismissing attachment style has a positive linear correlation with actor-observer difference. 11. Dismissing attachment style has a stronger positive linear correlation with fundamental attribution error when comparing to secure attachment style, but not when comparing to preoccupied attachment style. Fearful attachment style has a stronger positive linear correlation with fundamental attribution error when comparing to both secure and preoccupied attachment style.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6487
ISBN: 9741735243
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orapun.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.