Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/651
Title: ความชอบธรรมทางการเมือง : เปรียบเทียบแนวความคิดของมาคีอาเวลลีกับบีแธม
Other Titles: Political legitimacy : a comparative study of poltiical thought of Niccolo Machiavelli and David Beetham
Authors: รสชง เปรมทรัพย์
Advisors: ไชยันต์ ไชยพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Chaiyand.C@Chula.ac.th
Subjects: มาคิอาเวลลี, นิโคโล, ค.ศ. 1469-1527
บีแธม, เดวิด
ความชอบธรรมของรัฐบาล
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาถึงความคิดทางการเมืองในประเด็นเรื่อง ความชอบธรรม ของ นิโคโล แมคเคียเวลลี และเดวิด บีแธม โดยมีขอบเขตการศึกษาที่การวิเคราะห์ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและความเชื่อในความคิดทางการเมืองของนักคิดทั้งสองท่าน ทั้งนี้อาศัยวิธีการตีความจากตัวเอกสารซึ่งใช้เอกสารหลักคือ สรรนิพนธ์ของแมคเคียเวลลี เรื่อง The Prince และสรรนิพนธ์ของบีแธมเรื่อง The Legitimation of Power มีเอกสารประกอบคืองานเขียน งานวิจัยและงานวิจารณ์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ความคิดทางการเมืองของนักคิดทั้งสองท่านไม่ได้มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญ แม้จะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันถึงห้าร้อยปีก็ตาม โดยสรุปว่าความชอบธรรมทางการเมืองเป็นเรื่องของความสามารถในการประสานผลประโยชน์ทางสังคมท่ามกลางความต้องการที่แตกต่างของกลุ่มต่างๆ ในสังคมความชอบธรรมสามารถเกิดขึ้นได้จากการประสานงานระหว่างอำนาจและความเชื่อที่เป็นแหล่งกำเนิดของความเชื่ออื่นๆ การประสานงานนี้เป็นไปเพื่อสร้างกฎ ระเบียบ แบบแผนในการปฏิบัติ และเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับ กฎแห่งอำนาจ หรือเพื่อทำให้กฎแห่งอำนาจของสังคมได้รับการยอมรับว่ามีความชอบธรรม
Other Abstract: The objective of this study is to study the comparative political thought of Niccolo Machiavelli and David Beetham as it pertains to the issue of political legitimacy. The main resources used in this study are "The Prince" by Machiavelli and "The Legitimation of Power" by Beetham. Other resources used are all commentaries. The result of this study shows that even though there is 500 year gap between them but they both share most of the ideas. Legitimacy is the ability to manage social resources and values which include human freedom. This management structure is called "The Rule of Power". It is basically secured by using the armholders and the constitutional law. Moreover, the result of this study shows that the legitimate power can be illusionately created by the practice of power together with the ultimate belief in order to support the rule of power on purpose.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/651
ISBN: 9741701136
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Roschong.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.