Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65130
Title: การลดข้อบกพร่องในงานดัดแปลงรถบรรทุกตามความต้องการของลูกค้าที่มาจากการแจ้งข้อร้องเรียนหลังการใช้งานรถบรรทุกของลูกค้า
Other Titles: Defects reduction of modification as customer requirements from the complaints after use.
Authors: สมยศ ผ่องใส
Advisors: จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jeerapat.N@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดข้อบกพร่องจากข้อร้องเรียนของลูกค้าในงานดัดแปลงรถบรรทุกของบริษัทกรณีศึกษา โดยศึกษาส่วนงานดัดแปลงรถบรรทุกตามความต้องการของลูกค้า ข้อร้องเรียนจากข้อบกพร่องประเภทแชสซีเสียหายเป็นเรื่องที่ถูกแจ้งมากที่สุด ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อบริษัท ผู้วิจัยจึงนำเอาเทคนิค ซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) มาประยุกต์ใช้ ดำเนินงานวิจัยตามหลักการ DMAIC เพื่อปรับปรุง และพัฒนากระบวนการดัดแปลงในส่วนงานเชื่อมโลหะให้มีคุณภาพ โดยใช้การออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน (Box-Behnken Design) เพื่อหาระดับปัจจัยที่เหมาะสม ปัจจัยที่ใช้ทำการทดลองมี 3 ปัจจัย คือ กระแสไฟ แรงเคลื่อนไฟฟ้า  และอัตราการไหลของแก๊สคลุม ซึ่งในการทดลองผู้วิจัยทำการศึกษาพฤติกรรมของพนักงานเชื่อม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มพฤติกรรมการเชื่อมช้า และกลุ่มพฤติกรรมการเชื่อมเร็ว ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลการทดลองเชิงสถิติ ผลจากการทดลองพบว่า ปัจจัยกระแสไฟ แรงเคลื่อนไฟฟ้า และอัตราการไหลของแก๊สคลุม ส่งผลกระทบต่อการเกิดข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีระดับปัจจัยที่เหมาะสมในกลุ่มพฤติกรรมการเชื่อมช้า กระแสไฟ 185 แอมแปร์ แรงเคลื่อนไฟ 150 โวลท์ และอัตราการไหลของแก๊สคลุม 20 ลิตร/นาที และกลุ่มพฤติกรรมการเชื่อมเร็ว กระแสไฟ 235 แอมแปร์ แรงเคลื่อนไฟ 175 โวลท์ และอัตราการไหลของแก๊สคลุม 30 ซม./นาที จากผลของการปรับปรุงครั้งนี้ทำให้สัดส่วนของเสียที่เกิดข้อบกพร่องในกระบวนการดัดแปลงรถบรรทุก ส่วนงานเชื่อมโลหะ จาก 0.60% ลดลงเหลือ 0.12% และจาก 0.72% ลดลงเหลือ 0.20% ของกลุ่มพฤติกรรมการเชื่อมช้า และเร็ว ตามลำดับ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายงานซ่อมแซมของบริษัทกรณีศึกษาลงได้  
Other Abstract: This research aims to decrease faults from the complaints by the customer from the case study company’s truck modification, focusing on customer’s order truck modification. The study has shown that damaged chassis have the greatest number of complaints, which negatively affects both safety of users and the company’s image. Therefore, the researcher has applied the Six Sigma technique with DMAIC methods to improve the quality of welding modification process. The Box-Behnken Design has been used to find the appropriate level of factors – from the three factors used in the study which are current, voltage and gas flow. In the experiment, the researcher studied the behavior of welding staff divided into 2 groups. There are slow and fast welding behavior group. The researcher has collected and analyzed statistical significance showing that current, voltage and gas flow have significantly caused the faults: the appropriate for slow welding behavior group, current is 185A, voltage is 150V and gas flow is 20 liter/min and fast welding behavior group, current is 235A, voltage is 175V and gas flow is 30 liter/min. This improvement has diminished proportion of faults in welding modification process from 0.60% to 0.12% and from 0.72% to 0.20% for slow and fast welding behavior group respectively which resulted in decreased repairing expenses of the case study company.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65130
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1332
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1332
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070977321.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.