Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65326
Title: การประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองเพื่อการลดของเสีย กรณีศึกษากระบวนการผลิตเพลากลาง
Other Titles: Application of experimental design for defects reduction : case study of shaft propeller line production process
Authors: พรเทพ ลาภธุวะศิริ
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การออกแบบการทดลอง
ผลิตภัณฑ์ -- ข้อบกพร่อง
การควบคุมความสูญเปล่า
Experimental design
Manufactures -- Defects
Loss control
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ที่มีอิทธิพลต่อค่าสมดุล (Balance) ของเพลากลางและเสนอเงื่อนไขที่เหมาะสมในการผลิต เพื่อลดของเสียที่เกิดจากการทดสอบค่าสมดุลเกินจากข้อกำหนด งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการอาศัยความรู้และความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญและจากเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อระบุถึงปัจจัยทั้งหมดที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อค่าความสมดุล โดยใช้แผนภาพแสดงสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) จากนั้นเรียงลำดับความ สำคัญของแต่ละปัจจัย โดยการวิเคราะห์ข้อบกพร่องในกระบวนการผลิต (Failure Mode and Effect Analysis) แล้วจึงเลือกปัจจัยที่น่าจะมีผลกระทบต่อค่าสมดุลของเพลากลาง 4 ปัจจัยได้ดังนี้ แรงดันไฟฟ้าของเครื่องเชื่อม (Supply Voltage) อัตราการป้อนลวดของเครื่องเชื่อม (Welding Speed) ค่าความร่วมศูนย์กลางของโยก (Concentricity) และค่าทอร์กของการประกอบโยก (Torque) โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกปัจจัยเพื่อใช้ในการออกแบบการทดลองคือต้องสามารถปรับและควบคุมค่าได้โดยไม่มีผลกระทบกับกระบวนการผลิตและไม่ทำให้เกิดค่าใช้จ่าย ในการผลิต จากนั้นจึงใช้การออกแบบการทดลองแบบฟูลเฟคทอเรียล (Full Factorial Experiment) เพื่อวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่มีต่อค่าสมดุลของเพลากลาง และปัจจัยใดที่มีอันตรกิริยา (Interaction) ระหว่างกัน จากผลกการวิเคราะห์ด้วยหลักการทางสถิติวิศวกรรมที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ของการวิจัยเบื้องต้นพบว่า มี 3 ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสมดุลของเพลากลางคือ แรงดันไฟฟ้าของเครื่องเชื่อม อัตราการป้อนลวดของเครื่องเชื่อม ค่าความร่วมศูนย์ของโยก การออก แบบการทดลองแบบเฟคทอเรี่ยลถูกนำมาใช้อีกครั้งเพื่อสภาวะที่เหมาะสมโดยเพิ่มระดับ (Level) ให้กับปัจจัยที่มีผลกับค่าสมดุลผลการทดลอง สามารถหาสภาวะที่เหมาะสมที่ทำให้ค่าสมดุลมีค่า10 กรัม คือแรงดันฟ้าของเครื่องเชื่อมที่ 28.5036 โวลท์ อัตราการป้อนลวดของเครื่องเชื่อม ที่ 22.0191 วินาที/รอบ และค่าความร่วมศูนย์ที่ 0.1436 มิลลิเมตร เมื่อสภาวะการผลิตใหม่ที่ได้ไปทดสอบเพื่อยืนยันผลแล้วนำค่าเฉลี่ยความสมดุลของเพลากลางนี้ไปเปรียบเทียบเชิง สถิติกับ พบว่าค่าสมดุลใหม่นี้มีค่าลดลง 14.68 กรัมจากค่าสมดุลของเพลากลางปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The objective of this thesis is to study factors that are influential in the balance test of propeller shaft and to propose the optimum working condition for reducing the waste parts, which are rejected as out of specification with practicable solution. Commencing with skills from specialist and knowledge from various relevant documents, this research is to define potential factors to the balancing test by using cause and effect diagram and risk priority number by using Failure Mode and Effect Analysis (FMEA). The analysis found that 4 factors need to be considered in the balancing test. Since all of these factors are changeable and controllable without incurring additional production costs. The factors comprise supply voltage, welding speed, york concentricity and torque. Full factorial design has been applied to analyze. These parameters are significant and have interaction effect to the balancing test by using 0.05 significant levels. The experiment reveals that 3 factors include supply voltage, welding speed and york concentricity are significant to the balancing test. Factorial design is then reapplied by increasing level for each factor in order to explore the appropriate working condition to obtain the lowest balancing of the shaft propeller. This experiment shows that the optimum conditions are supply voltage at 28.5036 volt, welding speed 22.0191 sec/round and york concentricity 0.1436 mm. Then compared to the current balancing test mean and purpose condition balancing test mean that of the optimum condition is significantly lower by decrease 14.68 gram from current condition.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65326
ISBN: 9740310265
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornthep_la_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ857.12 kBAdobe PDFView/Open
Pornthep_la_ch1_p.pdfบทที่ 1746.08 kBAdobe PDFView/Open
Pornthep_la_ch2_p.pdfบทที่ 21.22 MBAdobe PDFView/Open
Pornthep_la_ch3_p.pdfบทที่ 31.66 MBAdobe PDFView/Open
Pornthep_la_ch4_p.pdfบทที่ 41.15 MBAdobe PDFView/Open
Pornthep_la_ch5_p.pdfบทที่ 51.25 MBAdobe PDFView/Open
Pornthep_la_ch6_p.pdfบทที่ 61.4 MBAdobe PDFView/Open
Pornthep_la_ch7_p.pdfบทที่ 7671.66 kBAdobe PDFView/Open
Pornthep_la_back_p.pdfบรรณานุกรม และ ภาคผนวก861.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.