Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65348
Title: | ลักษณะเด่นของตัวละครเอกกำพร้าในชาดกพื้นบ้านล้านนา |
Other Titles: | Distinctive characteristics of the orphan hero in Northern Thai folk jatakas |
Authors: | นิตยา วรรณกิตร์ |
Advisors: | ศิราพร ณ ถลาง ประคอง นิมมานเหมินท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Siraporn.N@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | วรรณกรรมไทย (ภาคเหนือ) วรรณกรรมพื้นบ้าน ตัวละครและลักษณะนิสัย ชาดก Thai literature Folk literature Characters and characteristics Jataka stories |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาตัวละครเอกกำพร้าในชาดกพื้นบ้านล้านนาใน ด้านบุคลิกลักษณะ พฤติกรรมและโครงสร้างชีวิต พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับตัวละครเอก กำพร้าที่ปรากฏในอรรถกถาชาดก ปัญญาสชาดก ชาดกพื้นบ้านและนิทานกำพร้าของชนชาติไท ผู้วิจัยใช้ข้อมูลชาดกพื้นบ้านล้านนาที่มีตัวละครเอกกำพร้า 49 เรื่อง ผู้วิจัยได้จำแนกตัว ละครเอกกำพร้าเป็น 3 ประเภทตามสาเหตุของความเป็นกำพร้าคือ ตัวละครเอกกำพร้าที่บิดา มารดาสิ้นชีวิต ตัวละครเอกกำพร้าที่ไม่ปรากฏชัดเจนว่าบิดามารดาเป็นใครและตัวละครเอก กำพร้าที่พลัดพรากจากบิดามารดา ด้านบุคลิกลักษณะพบว่าตัวละครเอกกำพร้ามีลักษณะที่เป็น พระโพธิสัตว์ตามอุดมคติทางพุทธศาสนา อาทิ ลักษณะเกี่ยวกับการการกำเนิด รูปลักษณ์พิเศษ ส่วนสถานภาพของตัวละครเอกกำพร้าส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่ยากจน ในการวิเคราะห์โครงสร้าง ชีวิตของตัวละครเอกกำพร้า ผู้วิจัยได้จำแนกเป็นสามช่วงชีวิตคือ ช่วงเริ่มต้นของชีวิต เป็นเรื่องราว ชีวิตตั้งแต่ยังไม่เกิด กระทั่งคลอดออกมาจนถึงวัยเด็ก ชีวิตช่วงนี้เป็นการกล่าวถึงสาเหตุความ กำพร้า สภาพชีวิตความเป็นอยู่ตอนเริ่มต้น บุคลิกลักษณะและการได้พบกับผู้อุปถัมภ์ของตัวละคร เอกกำพร้า ช่วงชีวิตที่สองคือชีวิตในช่วงผจญภัย/เผชิญอุปสรรค เป็นการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ การเดินทาง การผจญภัยและการประสบกับปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ให้ต้องแก้ไข ส่วนช่วงสุด ท้ายของชีวิต ปัญหาต่าง ๆ จะคลี่คลายไปสู่จุดจบ ตัวละครเอกกำพร้าประสบความสำเร็จในชีวิต ด้วยการได้ครองเมืองหรือการมีทายาท ผลการศึกษาวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ลักษณะเด่นของตัวละครเอกกำพร้าในชาดกพื้นบ้าน ล้านนาเป็นการผสมผสานกันระหว่างบทบาทของพระโพธิสัตว์ พระเอกในนิทานจักรๆวงศ์ๆและ ชาวบ้านธรรมดา ลักษณะตังกล่าวคล้ายคลึงกับตัวละครเอกกำพร้าในชาดกพื้นบ้านของไทเขิน เพราะทั้งสองกลุ่มมีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมและมีการรับรู้วรรณกรรมร่วมกัน ในขณะที่ตัว ละครเอกกำพร้าในอรรถกถาชาดกและปัญญาสชาดกจะมุ่งแสดงบทบาทของพระโพธิสัตว์เป็น สำคัญ ส่วนตัวละครเอกกำพร้าในนิทานกำพร้าของชนชาติไทและกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในอุษาคเนย์ ตอนกลาง มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะแสดงบทบาทของพระเอกแบบชาวบ้าน อนึ่งลักษณะและเรื่องราวชีวิตของตัวละครยังสามารถสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่า นิยมและอุปนิสัยของชาวล้านนา ลักษณะความสัมพันธ์ในสังคมล้านนา ตลอดจนลักษณะร่วม และแตกต่างทางสังคมระหว่างล้านนากับสังคมอื่น นอกจากนี้ตัวละครเอกกำพร้าในชาดกพื้นบ้าน ล้านนายังมีบทบาทในการเป็นความหวังและการชดเชยให้กับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคมด้วย |
Other Abstract: | The thesis aims at studying the orphan heroes in northern Thai folk jatakas, particularly in the aspects of their characteristics, behaviors and life cycle. Such aspects will also be compared with the orphan heroes in Attakhatha jataka, Pannasa Jataka, folk jatakas and the orphan tales of other Tai and other ethnic groups. The researcher uses 49 northern Thai folk jatakas. There are 3 kinds of orphan heroes: first, the hero whose parents die, second, the hero whose parents are unknown and the hero who is separated from the parents in his youth. The orphan heroes in northen Thai folk jatakas follow the characteristics of Buddhist Bodhisatta in their unusual birth and appearance, however, considering their social status, they tend to be common peple and rather poor. The researcher divides the structure of the hero life into 3 parts: the first part, starting with his birth and how he becomes under the patronage of certain people and supernatural characters, the second part concerning his adventures and the third part ending with his success in marriage and succession to the throne of certain kingdom. The researcher finds that the distinctive characteristics of orphan hero of Northern Thai folk jatakas are the combination of Bodhisatta, the adventurous chachak wongwong’s (Thai fairytale) hero and the hero who is an ordinary rural folk. Such characteristics are similar to the orphan hero of Tai Khoen folk jatakas whereas the orphan hero in Atthakhatha jataka rather takes the role of Bodhisatta and the orphan hero in the orphan tales of other Tai and other ethnic groups in central Southeast Asia appears to be rather ordinary folks. The stories of northern Thai folk jatakas reflect northern Thai peple’s way of life, belief, social value and social relationship. Furthermore, the character of the orphan hero in northern Thai folk jatakas also functions as psychological compensation for people who are underprivileged in the society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65348 |
ISBN: | 9741745923 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nittaya_wa_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 943.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nittaya_wa_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nittaya_wa_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nittaya_wa_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 5.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nittaya_wa_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nittaya_wa_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nittaya_wa_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 816.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nittaya_wa_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.