Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65483
Title: | รูปแบบการพัฒนานิสิตนักศึกษาเพื่อส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ |
Other Titles: | Student development model for enhancing professional ethics of education students, Rajabhat Institutes |
Authors: | พรพิพัฒน์ เพิ่มผล |
Advisors: | วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ปทีป เมธาคุณวุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | dwallapa@dpu.ac.th Pateep.M@Chula.ac.th |
Subjects: | สถาบันราชภัฏ -- นักศึกษา จรรยาบรรณ นักศึกษาครู ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Professional ethics Student teachers Universities and colleges -- Students |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะจริยธรรมวิชาชีพของนักศึกษาครุศาสตร์สถาบันราชภัฏ สร้างรูปแบบการพัฒนานิสิตนักศึกษาเพื่อส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพของนักศึกษาครุศาสตร์สถาบันราชภัฏ และเปรียบเทียบผลการพัฒนาลักษณะจริยธรรมวิชาชีพของนักศึกษาครุศาสตร์ ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงบรรยายและกึ่งทดลอง ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามลักษณะ จริยธรรมวิชาชีพของนักศึกษาครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ และนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาครู ชั้น,ปีที่ 1 -4 ปีการศึกษา 2544 จำนวน 396 คน จากสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ ผู้วิจัยสร้างรูปแบบการพัฒนานิสิตนักศึกษาเพื่อส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพของนักศึกษาครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ ผ่านผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544 คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏธนบุรี จำนวน 80 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน โดยแบ่งตามคะแนนจากการวัคลักษณะจริยธรรมวิชาชีพของนักศึกษาครุศาสตร์ ให้นักศึกษากลุ่มทดลองเข้ารับการอบรมโดยวิธีการกระจ่างค่านิยมและการฝึกปฏิบัติ เป็นเวลา 12 วันรวม 43 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มควบคุมเรียนตามปกติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏได้ดังนี้ 1. ลักษณะจริยธรรมวิชาชีพของนักศึกษาครุศาสตร์สถาบันราชภัฏ พบว่า นักศึกษาทุกชั้นปี ด้านความมีวินัย และความซี่อสัตย์ อยู่ในขั้นตอบสนอง ส่วนด้านความอดทน ความรับผิดชอบ ความเมตตา ความศรัทธาในวิชาชีพครู ความขยันหมั่นเพียรความประหยัด และความยุติธรรม อยู่ในขั้นเห็นคุณค่าตามแนวคิดของแครธโวล (Kratghwohl, 1964) 2. รูปแบบการพัฒนานิสิตนักศึกษาเพื่อส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เป้าหมาย 4)หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ หน่วยพัฒนาลักษณะจริยธรรมวิชาชีพครู 5) ผู้รับผิดชอบ คือ คณะกรรมการพัฒนาลักษณะจริยธรรมวิชาชีพครู 6) การดำเนินการพัฒนา ได้แก่ การตั้งเป้าหมาย การประเมินสภาพ และวิธีดำเนินงานพัฒนา ประกอบด้วยการวัดลักษณะจริยธรรมแล้วกำหนดการพัฒนาด้วยการกระจ่างค่านิยม โดยการอภิปรายแสดงความคิดเห็นการทำงานตามสั่ง กรณีศึกษา การแสดงบทบาทสมมติ และการฝึกปฏิบัติโดยวิธีกิจกรรมพลศึกษาและลูกเสือ 7) การประเมินผลการพัฒนา จริยธรรมวิชาชีพ 3. การเปรียบเทียบผลการพัฒนา พบว่า 3.1 นักศึกษาที่เข้ารับการอบรมโดยใช้วิธีการกระจ่างค่านิยมและการฝึกปฏิบัติ มีคะแนนเฉลี่ยลักษณะจริยธรรมวิชาชีพแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านความมีวินัย ด้านความอดทน ความรับผิดชอบ ความเมตตา ความศรัทธาในวิชาชีพครู ความขยันหมั่นเพียร ความประหยัด ความซี่อสัตย์ และความยุติธรรม 3.2 นักศึกษากลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยลักษณะจริยธรรมวิชาชีพหลังการอบรมแตกต่างกับก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านความมีวินัย ด้านความอดทน ความรับผิดชอบ ความเมตตา ความศรัทธาในวิชาชีพครู ความขยันหมั่นเพียร ความประหยัด ความซื่อสัตย์ และความยุติธรรม |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study and analyze professional ethics of education students, Rajabhat Institutes, to develop a student development model for promoting professional ethics and to compare the outcomes of the model. A descriptive research method and quasi experiment design were used. The Professional Ethics of Student Characteristics servey was developed by the researcher to administer to 396 samples comprising the first year to the fourth year students from Rajabhat Institutes in Thailand. The professional ethics was verified by experts and implemented with education students from Rajabhat Institute Thonburi in acadamic year 2001. The total of 80 students were separated into an experimental group of 40 students and a control group of an equal number by using the Professional Ethics of Student Characteristics servey. The Experimental group was assigned to Value Clarification Program and practicing for 12 days with a total of 43 hours, while the control group was not assigned to any program. The data were analyzed by means of percentage, means, standard deviation, and t-test. The research results were as follows : 1. The Professional Ethics of Student Characteristics included discipline and honesty at the Responding level. For Endurance, responsibility, diligence, kindness, faith in the teaching profession, fairness, and frugality were found at the valuing level according to Krathwohl. 2. A student development model for promoting professional ethics of education students, Rajabhat Institutes, comprises the followings : 1) Rational 2) Objective 3) Target 4) professional ethics of student organization, 5) the committee for development of professional ethics of education students, 6) the activities which consist of goals, pretest, and activities Value Clarification with discusion, case study, assigned task, and role play. The Practice Program consisted of Physical Education and scout activities and 7) development for professional ethics of student assessment. 3. The comparison between experimental group and control group were as follows : 3.1 The experimental group and that of the control group showed statistical different at 0.05 level of significance in discipline, endurance, responsibility, kindness, faith in the teaching profession, diligent, frugality, honesty and fairness. 3.2 The posttest score of the experimental group showed statistical different at 0.05 level of significance in discipline, endurance, responsibility, kindness, faith in the teaching profession, diligent, frugality, honesty and fairness |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65483 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.745 |
ISBN: | 9741715196 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.745 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornpipat_pe_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 834.39 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpipat_pe_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpipat_pe_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpipat_pe_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpipat_pe_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpipat_pe_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpipat_pe_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 3.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.