Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65637
Title: | การสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ยืนต้นในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านบุญเรือง ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน |
Other Titles: | Carbon sequestration in aboveground biomass of tree in community forest at Bun Rueang village, Lainan subdistrict Wiang Sa district, Nan province |
Authors: | กุลธิดา ป้องมาลี |
Advisors: | พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pongchai.D@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ป่าไม้เป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญโดยทำหน้าที่ในการช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศให้อยู่ในรูปของมวลชีวภาพเพื่อช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งป่าชุมชนเป็นป่าประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญแต่ยังมีผู้ทำการศึกษาน้อย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินและปริมาณธาตุคาร์บอนที่สะสมในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านบุญเรือง ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยทำการวางแปลงถาวรขนาด 40×40 ตารางเมตร จำนวนทั้งหมด 4 แปลง ทำการบันทึกชนิดพันธุ์ไม้ที่พบ วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกและความสูงของไม้ยืนต้นแต่ละต้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินโดยใช้สมการอัลโลเมทริกของระบบนิเวศป่าผลัดใบ และหาปริมาณธาตุคาร์บอนที่สะสมโดยมีค่าประมาณร้อยละ 50 ของมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน ผลการศึกษาพบไม้ยืนต้นทั้งหมด 1,038 ต้น โดยคิดเป็นความหนาแน่นของต้นไม้ทั้งหมดเท่ากับ 1,621 ต้นต่อเฮกแตร์ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 22 วงศ์ 39 ชนิด และมีชนิดที่ไม่สามารถจำแนกได้ 9 ชนิด และมีปริมาณธาตุคาร์บอนสะสมในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินรวมเฉลี่ย 4 แปลงเท่ากับ 8.70±2.43 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์ จากผลการศึกษาสามามารถสรุปได้ว่าในพื้นที่ที่ศึกษามีไม้ยืนต้นที่มีศักยภาพในการสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับงานของอนงค์นาฏ เซ็งสุทธา (2555) ที่ทำการศึกษาการสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของระบบนิเวศป่าผลัดใบ ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จ.น่าน โดยมีปริมาณธาตุคาร์บอนสะสมในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินเท่ากับ 47.89±12.58 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่ในป่าชุมชนที่ศึกษานี้มีไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่จำนวนน้อย และไม้ยืนต้นส่วนใหญ่เป็นต้นขนาดเล็ก จึงจำเป็นจะต้องให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับประโยชน์ของป่าชุมชน การช่วยกันดูแลรักษาป่าชุมชน เช่น การร่วมการสร้างแนวกันไฟ การบวชป่า การใช้ประโยชน์ผลผลิตจากป่าในส่วนที่ไม่ใช่เนื้อไม้ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยทำให้ต้นไม้ที่มีขนาดเล็กอยู่รอดและเติบโตเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ได้ |
Other Abstract: | Forest ecosystem is an important source of carbon dioxide storage by sequester atmospheric carbon dioxide through the photosynthetic process and store such carbon as biomass for mitigating climate change. Community forest is important source of carbon storage, but a few studies have been conducted. Therefore, this study aims to investigate aboveground biomass and carbon sequestration in aboveground biomass in the community forest belonged to Bun Rueang village, Lainan subdistrict Wiang Sa district, Nan province. Field data were collected in 4 sampling plots of 40×40 sq.m. Species, diameter at breast height and height were recorded, and then used to calculate the aboveground biomass by allometric equation. Carbon storage of plants were indicated by 50% of the aboveground biomass. The results showed that there were 1,038 trees (1,621 trees/ha). They could be classified into 22 families, 39 identified species, and 9 unidentified species. Total carbon storage in aboveground biomass was 8.70±2.43tC/ha. The results demonstrated that community forests at Bun Rueang village had lesser carbon storage compared with deciduous forest in the same area (47.89±12.58 tC/ha, reported by Chengsutdha, 2555). This might because most of the trees in this community forest are small size. Thus, community need to study about useful of community forest and how to keeping community forest such as firebreaks, ordained a tree and utilization of non-timber forest products etc. That might be help the small tree to survive and grow into the large tree in the future. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65637 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Khunthida Po_Se_2561.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.