Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65653
Title: บทบาทของสิ่งอำนวยความสะดวกของโครงการอาคารชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลางในเขตบางกะปิ : กรณีศึกษา โครงการบดินทร์สวีทโฮมและโครงการรอยัลไนน์เรสซิเดนท์
Other Titles: The role of amenities in medium priced condominium project in Bang Kapi District : a case study of Badinsweethome and Royalnineresidence project
Authors: กัญชลิกา ธานี
Advisors: เสาวลักษณ์ เลิศบุศย์ สุรพลชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Saowaluck.Su@Chula.ac.th
Subjects: อาคารชุด
อาคารชุด -- สิ่งอำนวยความสะดวก
พฤติกรรมผู้บริโภค
ชนชั้นกลาง -- การดำเนินชีวิต
Condominiums
Condominiums -- Facilities
Consumer behavior
Middle class -- Conduct of life
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองการใช้ประโยชน์สิ่งอำนวยความสะดวกของผู้อยู่อาศัย ศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ในโครงการและแนวคิดของผู้ประกอบการในเรื่องของการมีสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกของโครงการอาคารชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยทำการศึกษาโครงการอาคารชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลางในเขตบางกะปิ ที่มีการจดทะเบียนระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 จำนวน 2 โครงการ และโครงการนั้นต้องมีจำนวนผู้อยู่อาศัยที่เป็นเจ้าของห้องชุดอยู่อาศัยเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในโครงการดังนั้น กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าของห้องชุดที่อยู่อาศัยในโครงการ จำนวน 148 ราย และผู้ประกอบการ จำนวน 2 ราย ผลการศึกษาสรุปได้ว่า เจ้าของห้องชุดรับรู้ถึงความสำคัญของการมีสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการด้วยเหตุผลที่ว่าสะดวกต่อการใช้งานและการคมนาคม, ช่วยทำให้สภาพแวดล้อมโครงการดีขึ้น และจำเป็นต่อการใช้เวลาว่างของคนในครอบครัว ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ในเรื่องของการตอบสนองการใช้ประโยชน์สามารถสรุปได้ว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการสามารถตอบสนองการใช้ประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยได้เป็นส่วนใหญ่ เพราะมีผู้ใช้บริการถึงร้อยละ 81.1 แต่สิ่งอำนวยความสะดวกบางประเภท เช่น สวนหย่อม สระว่ายน้ำ ซาวน่า ยังด้อยประสิทธิภาพในเรื่องของปัจจัยทางปริมาณ เพราะมีผู้ไม่ใช้บริการเลยหรือนาน ๆ ใช้ทีเป็นจำนวนมาก ในการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ ผู้ประกอบการคำนึงถึงผลประโยชน์ด้านคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก เนื่องจากผู้ประกอบการเองก็รับทราบดีอยู่แล้วว่า สิ่งอำนวยความสะดวกเป็นได้แค่สิ่งจูงใจให้ลูกค้าสนใจโครงการ แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อโครงการ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญกว่า เช่น ทำเลที่ตั้งและความสะดวกสบายของเส้นทางการคมนาคม เป็นต้น ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการอาคารชุดพักอาศัย ต้องมีองค์ประกอบที่ลัมพันธ์กัน 2 ประการ คือ ผู้ซื้อ ผู้ขาย เพื่อยกระดับคุณภาพของโครงการ และได้ชุมชนการอยู่อาศัยที่สมบูรณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
Other Abstract: The objectives of this thesis are to study the response of amenities from residents, analysing present amenities and the developers’ concept about providing amenities as well as to propose improvement and development of amenities for a medium priced condominium project. This thesis is survey research that has been conducted in two medium priced condominium projects in Bangkapi District. The two selected projects registered between 1995 - 1999 and not less than 60% of the total units were lived in by the owners. Thus, the research was conducted with 148 homeowners and 2 developers. The results of this study showed that the homeowners realize the amenities as comfortable for use and transportation, the better environment of the project, necessary for using free time, and the betterment of life. เท regards to amenities, most residents (81.1%) use them, but some types of amenities, such as the garden, the swimming pool and the sauna still lack efficiency because residents never use them or do not use them regularly. The developers realize the amenities as benefits and a better quality life of the residents because they realize that amenities are a motivation factor. They are not major factors in making a decision to buy into the project. There are still more important factors such as location and the convenience of transportation. This research proposed guideline development of medium priced condominium projects in the future. There ought to be an accordance between the buyers and the sellers for upgrading the project quality and creating a perfect living community both at present and in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65653
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.269
ISSN: 9741748795
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.269
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchalika_th_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ903.9 kBAdobe PDFView/Open
Kanchalika_th_ch1_p.pdfบทที่ 1755.29 kBAdobe PDFView/Open
Kanchalika_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.85 MBAdobe PDFView/Open
Kanchalika_th_ch3_p.pdfบทที่ 3989.92 kBAdobe PDFView/Open
Kanchalika_th_ch4_p.pdfบทที่ 43.62 MBAdobe PDFView/Open
Kanchalika_th_ch5_p.pdfบทที่ 5809.14 kBAdobe PDFView/Open
Kanchalika_th _back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก981.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.