Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65675
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ การสนับสนุนทางสังคม ลักษณะงานกับความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลชุมชน
Other Titles: Relationships between personality, social support, job characteristics, and sense of choherence of staff nurses, community hospitals
Authors: พัชราพร แจ่มแจ้ง
Advisors: บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Boonjai.S@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลชุมชน
ความสอดคล้องในการมองโลก
บุคลิกภาพ
Sense of coherence
Personality
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ การสนับสนุนทางสังคม ลักษณะงานกับความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลชุมชน และศึกษาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลชุมชนกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 393 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดบุคลิก ภาพเปิดเผย ประนีประนอม อารมณ์มั่นคง ควบคุมตนเอง และ บุคลิกภาพเปิดัรบประสบการณ์ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ลักษณะงาน และความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงโดยทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .78 .73 .77 .79 .78 .96 .94 .93 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลชุมชนอยู่ในระดับมาก (X_ = 3.87) 2. บุคลิกภาพเปิดเผย บุคลิกภาพประนีประนอม บุคลิกภาพอารมณ์มนคง บุคลิกภาพควบคุมตนเอง บุคลิกภาพเปิดรับประสบการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = .353, .305, .332, .398 และ .412 ตามลำดับ) 3. การสนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชา การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( r =.352 และ .474 ตามลำดับ) 4. ลักษณะงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = .662 ) 5. ตัวแปรพยากรณ์ได้แก่ลักษณะงานบุคลิกภาพเปิดรับประสบการณ์และการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนร่วมงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเข้มแข็งในการมองโลกได้ร้อยละ 50.8 (R2 = .508) และสามารถสร้างสมการ พยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ Z ความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ = .509*Zลักษณะงาน + .228*Zบุคลิกภาพเปิดรับประสบการณ์ + .164*Zการสนับสนุทางสังคมจากเพื่อนร่วมงาน
Other Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ การสนับสนุนทางสังคม ลักษณะงานกับความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลชุมชน และศึกษาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลชุมชนกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 393 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดบุคลิก ภาพเปิดเผย ประนีประนอม อารมณ์มั่นคง ควบคุมตนเอง และ บุคลิกภาพเปิดัรบประสบการณ์ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ลักษณะงาน และความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงโดยทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .78 .73 .77 .79 .78 .96 .94 .93 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลชุมชนอยู่ในระดับมาก (X_ = 3.87) 2. บุคลิกภาพเปิดเผย บุคลิกภาพประนีประนอม บุคลิกภาพอารมณ์มนคง บุคลิกภาพควบคุมตนเอง บุคลิกภาพเปิดรับประสบการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = .353, .305, .332, .398 และ .412 ตามลำดับ) 3. การสนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชา การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ( r =.352 และ .474 ตามลำดับ) 4. ลักษณะงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = .662 ) 5. ตัวแปรพยากรณ์ได้แก่ลักษณะงานบุคลิกภาพเปิดรับประสบการณ์และการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนร่วมงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเข้มแข็งในการมองโลกได้ร้อยละ 50.8 (R2 = .508) และสามารถสร้างสมการ พยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ Z ความเข้มแข็งในการมองโลกของพยาบาลประจำการ = .509*Zลักษณะงาน + .228*Zบุคลิกภาพเปิดรับประสบการณ์ + .164*Zการสนับสนุทางสังคมจากเพื่อนร่วมงาน The purpose of this research were to study the relationships between personality, social support, job characteristics, and sense of coherence of staff nurses, community hospitals and to determine the variables which could predict sense of coherence of staff nurses. The sample consisted of 393 staff nurses worked in patient units, selected by multi- stage sampling technique. The research instruments were extraversion, agreeableness, emotional stability, conscientiousness and openness experience personality, social support, job characteristics and sense of coherence of staff nurses questionnaires which were developed by the researcher and judged by the panel of experts. Cronbach’s alpha coefficiencts of these questionnaires were .78, .73, .78,.79,.78,.96, .94, .93, and .92 respectively, statistical technique used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation, and stepwise multiple regression analysis. The major findings were as follows: 1. Mean score of sense of coherence of staff nurses, Community Hospital was at a high level (X_ = 3.87) 2. Extraversion, agreeableness, emotional stability, conscientiousness, and openness to experience personality and sense of coherence of staff nurses were moderately and positively correlated. (r = .353, .305, .332, .398 and .412, p<.001) 3. Social support form supervisors 1 social support form peers and sense of coherence of staff nruses were moderately and positively correlated. (r = .352 and .474, p<.001) 4. Job characteristics and sense of coherense of staff nurses was moderately and positively correlated. (r = .662, p< .001) 5. The regression result indicated that 50.8% of sense of coherense of staff nurses was explained by job characteristic, openness to experience personallity and social support (R2 = .508, p<.001). The equation derived from the analysis as follow: Z sense of coherence of staff nurses = .509*ZJob characteristic + .228*Zopenness to expenence + .164*Zsocial support
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65675
ISBN: 9741753446
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phatcharaporn_ja_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ781.66 kBAdobe PDFView/Open
Phatcharaporn_ja_ch1_p.pdfบทที่ 11.04 MBAdobe PDFView/Open
Phatcharaporn_ja_ch2_p.pdfบทที่ 22 MBAdobe PDFView/Open
Phatcharaporn_ja_ch3_p.pdfบทที่ 3979.12 kBAdobe PDFView/Open
Phatcharaporn_ja_ch4_p.pdfบทที่ 41.06 MBAdobe PDFView/Open
Phatcharaporn_ja_ch5_p.pdfบทที่ 51.38 MBAdobe PDFView/Open
Phatcharaporn_ja_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.