Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6574
Title: คุณค่าของการใช้อิมมูโนโกลบุลินอีที่จำเพาะต่อยางลาเทกซ์ ในการวินิจฉัยการแพ้ยางในบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประวัติแพ้ถุงมือยาง เปรียบเทียบกับวิธีทดสอบด้วยการสะกิดผิวหนัง
Other Titles: Diagnostic value of latex-specific IgE in healthcare workers with histroy of allergy to rubber glove compared to skin prick test
Authors: พัชนี โชคสุขสำราญ
Advisors: พรทิพย์ ภูวบัณฑิตสิน
สุรนันท์ ตีระวัฒนพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Suranan.T@chula.ac.th
Subjects: ภูมิแพ้
ถุงมือยาง
อิมมูโนโกลบุลิน
การทดสอบทางผิวหนัง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: การแพ้ยางเป็นปัญหาด้านการแพทย์ที่พบเพิ่มขึ้นและอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคลากรทางการแพทย์ การสะกิดผิวหนังเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่นิยมใช้ในการวินิจฉัย โดยพบความไวร้อยละ 80 ถึง 98 แต่วิธีนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายได้ แพทย์จะต้องเตรียมอุปกรณ์และยาสำหรับช่วยชีวิต ส่วนการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเป็นวิธีที่ปลอดภัย มีความจำเพาะสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถทดสอบด้วยการสะกิดผิวหนัง วิธีการตรวจเลือดจะใช้ RAST หรือ Radioallergosorbent test แต่ต้นทุนการตรวจสูง และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจำเป็นต้องสัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสี ดังนั้นการทดสอบด้วย EAST หรือ ELISA น่าจะเหมาะสมในการใช้ช่วยวินิจฉัยในประเทศของเรา จุดประสงค์: เพื่อประเมินความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยการแพ้ยางเมื่อใช้วิธี ELISA เทียบกับการสะกิดผิวหนัง วิธีการ: บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเจาะเก็บโลหิตศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย 50 รายซึ่งมีประวัติแพ้หรือสงสัยว่าแพ้ถูงมือยางจะได้รับการทดสอบการแพ้ยางโดยสะกิดผิวหนังที่บริเวณท้องแขนโดยใช้โปรตีนจากซีรัมยาง ใช้น้ำเกลือและฮีสตามีนเป็นสารควบคุมผลลบและบวกตามลำดับ วัดขนาดปฏิกิริยารอยนูนที่เกิดขึ้นหลังสะกิด 15 นาที เจาะเลือดเพื่อหาอิมมูโนโกลบุลินอีที่จำเพาะต่อยางลาเทกซ์โดยวิธี ELISA ผลการสะกิดผิวหนังให้ผลบวกเมื่อขนาดรอยนูนที่เกิดจากโปรตีนซีรัมยางมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของฮีสตามีน และมากกว่าขนาดรอยนูนจากน้ำเกลืออย่างน้อย 3 มิลลิเมตร ใช้การสะกิดผิวหนังเป็นวิธีมาตรฐานและวิเคราะห์ความสามารถในการวินิจฉัยการแพ้ยางของ ELISA ด้วยกราฟ ROC โดยใช้ค่าความเข้มของสีที่เกิดขึ้น ผล: ผู้ป่วย 20 รายให้ผลว่าแพ้เมื่อทดสอบด้วยการสะกิดผิวหนัง และ 29 รายให้ผลว่าแพ้เมื่อทดสอบด้วย ELISA โดยมีค่าจุดตัดที่ OD เท่ากับ 0.0832 ค่าความไว ความจำเพาะ ความแม่นยำ PPV และ NPV มีค่าร้อยละ 85, 60, 70, 59, 86 ตามลำดับ และพบว่าผู้ป่วยที่มีขนาดรอยนูนจากการสะกิดผิวหนังมากกว่าหรือเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางที่เกิดจากฮีสตามีน ELISA สามารถวินิจฉัยการแพ้ยางได้ร้อยละ 100 เมื่อเทียบกับการสะกิดผิวหนัง เมื่อพิจารณากลุ่มที่มีเฉพาะผื่นลมพิษสัมผัส จะมีความไวและความจำเพาะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 91 และ 63 เมื่อพิจารณากลุ่มที่มีประวัติแพ้ยางชัดเจนจะมีความไวและความจำเพาะเป็นร้อยละ 75 และ 91 เมื่อพิจารณากลุ่มที่มีเฉพาะผื่นลมพิษสัมผัสและประวัติแพ้ยางชัดเจน จะมีความไวและความจำเพาะเป็นร้อยละ 83 และ 100 ตามลำดับ สรุป : จากการศึกษานี้พบว่าโดยรวม ELISA ไม่เหมาะสมต่อการยืนยันการวินิจฉัยเนื่องจากมีความจำเพาะต่ำ (ร้อยล่ะ 60) แต่มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีขนาดรอยนูนจากการสะกิดผิวหนังมากกว่าหรือเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางที่เกิดจากฮีสตามีน (ความไวและความจำเพาะร้อยละ 100) และเหมาะสมต่อการยืนยันการวินิจฉัยการแพ้ยางในกลุ่มที่มีเฉพาะผื่นลมพิษสัมผัสและประวัติแพ้ยางชัดเจนมาศึกษาและอาจเกิดจากโปรตีนซีรัมยางที่ใช้ในการทดสอบ เนื่องจากมีผลต่อผลของการสะกิดผิวหนังที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานและค่าความเข้มของสีที่เกิดขึ้น เพราะใช้เป็นแอนติเจนในการเคลือบ microtiter plate ของ ELISA ดังนั้นโปรตีนที่ใช้ควรทำให้บริสุทธิ์และเป็นมาตรฐาน เช่น rcombinant latex allergen ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและการรักษาการแพ้ยางในอนาคต โดยพัฒนาจากการทำ immunoblotting เพื่อหาน้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนที่จำเพาะต่ออิมมูโนโกลบลินอี ในผู้ป่วยคนไทยที่แพ้ยาง จากข้อจำกัดของ ELISA ในการศึกษานี้ เราควรพัฒนาและศึกษาวิธีวินิจฉัยการแพ้ยางวิธีอื่นๆ ด้วยเพื่อที่จะทำให้การวินิจฉัยการแพ้ยางมีความไว ความจำเพาะและความแม่นยำเพิ่มขึ้น
Other Abstract: Background: Latex allergy has been recognized as a medical problem with increasing frequency and may be life-threatening especially in healthcare workers. Skin prick test has been used as gold standard with reported sensitivity of 80% to 98% but it can cause systemic adverse reaction. Physician should be prepared resuscitation equipment and medication. Serologic tests are safety and produce high specificity which suitable for more technically difficult skin testing in some patients. RAST or radioallergosorbent test is expensive and technician must be exposed to radioisotope, therefore EAST or ELISA is suitable for our country. Objective: To determine and evaluate diagnostic ability of ELISA in latex allergy compared to skin prick test. Methods: Fifty healthcare workers in King Chulalongkorn Memorial Hospital and Blood Collection Department, National Blood Centre Thai Red Cross Society with history positive or probable allergy to rubber gloves were performed skin prick test on volar aspect of forearms with latex serum protein. Normal saline and histamine were used as negative and positive control respectively. Then measured the diameter of skin reaction after 15 minutes and sera were collected for ELISA. Positive skin prick test was considered if the largest wheal diameter was 50% or greater than histamine and at least 3 millimeters larger than normal saline. Skin prick test was used as gold standard and the diagnostic ability of ELISA were analysed from ROC curve by using optical density (OD) value. Results: Twenty (20) and twenty-nine (29) subjects were skin prick test and ELISA positive respectively. The optimal cut off point of ELISA is 0.0832. The sensitivity, specificity, accuracy, positive predictive value, negative predictive value are 85%, 60%, 70%, 59% and 86%, respectively and ELiSA can diagnose latex allergy similar to SPT in patients who have skin test response from latex serum equal or more than histamine. Subanalysis only in contact urticaria syndrome group, sensitivity and specificity increase to 91% and 63% and in history positive group, sensitivity and specificity are 75% and 91%. In contact urticaria syndrome group who has history positive, sensitivity and specificity are 83% and 100%. Conclusion: In this study, overall ELISA was ot suitable for confirmatory diagnostic test because of low specificity (60%), but useful in patients who have skin test response from latex serum equal or more than histamine (100% sensitivity and specificity) and for confirmatory diagnostic test in contact urticaria syndrome group who has history positive (100% specificity). The cause of high false positive may result from recruiting patients who are not type I latex allergy and from skin test allergen because it effected on skin prick test and OD results that use as gold standard and as antigen coated micro titer plates. Skin test reagent should be purified and standardized, such as, recombinant latex allergens which are useful for latex allergy diagnosis and therapy in the future. Before developing recombinant latex allergens, immunoblotting should be performed by using pool serum of latex-allergenic Thai people to identify IgE binding specific molecular weight protein bands. From the limitations of ELISA in this study, we should develop and study another diagnostic tests for latex allergy in order to increase sensitivity, specificity and accuracy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6574
ISBN: 9741729995
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patchanee.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.