Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6582
Title: | การนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี |
Other Titles: | The implementation of popular wisdom in local curriculum development of the local curriculum development prototype schools under the jurisdiction of the Office of Ubon Ratchathani Provincial Primary Education |
Authors: | นิตยา บุตรศรี |
Advisors: | เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา |
Advisor's Email: | Permkiet.K@Chula.ac.th |
Subjects: | หลักสูตร การวางแผนหลักสูตร ภูมิปัญญาชาวบ้าน อุบลราชธานี -- ความเป็นอยู่และประเพณี |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาสภาพและปัญหาการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนต้นแบบการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 10 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านด้านศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีและด้านการประกอบอาชีพ มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ในลักษณะของการปรับรายละเอียดของเนื้อหาวิชา การปรับกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเสริมโดยดำเนินการในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพในระดับประถมศึกษา และกลุ่มวิชาการงานและอาชีพในระดับมัธยมศึกษา การนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการปรับรายละเอียดของเนื้อหาวิชานั้น ครูผู้สอนนำความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านจากประสบการณ์เดิมของตน มากำหนดรายละเอียดของเนื้อหาวิชาและดำเนินการสอนเอง ในการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น ครูผู้สอนใช้วิธีมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษา หรือรวบรวมความรู้จากผู้รู้ในท้องถิ่น แล้วนำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายและสรุปร่วมกันในชั้นเรียน การให้นักเรียนศึกษากับผู้รู้โดยการเชิญผู้รู้ในท้องถิ่น มาถ่ายทอดความรู้ในโรงเรียน สำหรับการจัดกิจกรรมเสริม ครูผู้สอนนำนักเรียนไปเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น ในการบริหารและบริการหลักสูตรนั้น ผู้บริหารส่วนใหญ่ได้นำภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการประกอบอาชีพ โดยศึกษาความรู้จากผู้รู้ และนำผู้รู้ในท้องถิ่นเข้าร่วมจัดเตรียมสถานที่ จัดบริการวัสดุหลักสูตร ประชาสัมพันธ์หลักสูตร และเตรียมบุคลากร ส่วนในการสอนนั้นครูผู้สอนนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งส่วนใหญ่ได้นำเนื้อหาที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาถ่ายทอด โดยเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนตามปกติ ปัญหาที่พบในการดำเนินงานได้แก่ ครูผู้สอนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ครูผู้สอนไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีในท้องถิ่น และครูผู้สอนมีงานในหน้าที่มากจึงไม่มีเวลา หรือไม่คิดที่จะนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และผู้รู้ที่โรงเรียนเชิญมาถ่ายทอดความรู้ไม่มีทักษะในด้านวิธีการสอน จึงเป็นอุปสรรคในการถ่ายทอดความรู้ |
Other Abstract: | To study the state and problems of the implementation of popular wisdom in local curriculum development of the local curriculum development prototype schools under the Jurisdiction of the Office of Ubon Ratchathani Provincial Primary Education. The sample group was 10 local curriculum development prototype schools under the Jurisdiction of the Office of Ubon Ratchathani Provincial Primary Education. The instruments used were structured interview forms. The data were analyzed by using content analysis, frequency and percentage. Analysis of the data found that teachers utilized popular wisdom concerning art, culture custom, tradition and local occupations for modifying subject contents, teaching-learning activities and co-curriculum activities in Life Experience Area and Work-Oriented Experience Area at primary level and Work-Experience Area at secondary level. For the implementation of popular wisdom in modifying subject contents, teachers utilized knowledge concerning popular wisdom from their experiences to design the content and teach by themselves. In modifying teaching-learning activities ; students were assigned to study the knowledge concerning popular wisdom from the local wisdoms then discuss and conclude in the classroom. Otherwise, teachers invited local wisdoms to pass on knowledge and experiences in schools. The operation of co-curriculum activities ; teachers led students to join the activities concerning popular wisdom in the local area. For curriculum administration and service ; administrators used popular wisdom concerning local occupations by studying knowledge from local wisdoms and leading local wisdoms to join in schools on the preparation of school plant, personnel, curriculum materials services and curriculum public relation. For teaching ; teachers used popular wisdom on the instructional activities by passing on content concerning popular wisdom and operating the instructional activities by themselves. Problems concerning with the operating were that teachers lacked knowledge of implementation of popular wisdom in local curriculum development, had no information about the status of popular wisdom in local area and had insufficient time or did not want to implement the popular wisdom in local curriculum development because of the overloaded work. And the local wisdoms that were invited to join in schools lacked of skill in teaching so they couldn't pass on knowledge so well |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6582 |
ISBN: | 9743331042 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nittaya.pdf | 13.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.