Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65844
Title: การวิเคราะห์ระบบแถวคอยในการให้บริการ ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
Other Titles: Queueing system analysis of Maharatnakhonsrithamarat hospital services
Authors: อรสุดา นาคเทวัญ
Advisors: กัลยา วานิชย์บัญชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: fcomkvn@acc.chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
ทฤษฎีการคอยลำดับ
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ระบบแถวคอยในการให้บริการของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช” เป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบแถวคอย โดยอาศัยการจำลองแบบในการหาตัวแบบแถวคอยที่เหมาะสมตามนโยบายของโรงพยาบาลซึ่งแบ่งการวิเคราะห์เป็น 2 ส่วน คือ แผนกผู้ป่วยนอก และแผนกผู้ป่วยใน ผลการศึกษาวิจัยเป็นดังนี้ แผนกผู้ป่วยนอก สรุปได้ว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้ามารับบริการที่ห้องตรวจอายุรกรรมและห้องตรวจกุมารเวชกรรม และใช้เวลาในการรับบริการที่งานเวชระเบียนมากที่สุด เมื่อตรวจสอบนโยบายเกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการรับบริการ ผลที่ได้คือ ผู้ป่วยใช้เวลาในระบบโดยเฉลี่ยนานกว่านโยบายของโรงพยาบาลที่กำหนดไว้คือ 30 นาที สำหรับงานตรวจรักษา พบว่าในช่วงเช้าที่ห้องตรวจอายุรกรรม ห้องตรวจกุมารเวชกรรม และห้องตรวจศัลยกรรมทั่วไป แพทย์ใช้เวลาในการตรวจรักษาโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 5 นาที ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข แต่ในช่วงบ่าย แพทย์ใช้เวลาในการตรวจรักษาโดยเฉลี่ย ไม่ถึง 5 นาที ส่วนที่ห้องตรวจหู คอ จมูก พบว่าแพทย์ใช้เวลาในการตรวจรักษาโดยเฉลี่ยไม่ถึง 5 นาที ทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายเมื่อทำการจำลองระบบแถวคอยเพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสม ผลที่ได้คือ ในช่วงเช้า ที่งานเวชระเบียน ห้องตรวจอายุรกรรม ห้องตรวจกุมารเวชกรรม และจุดคิดราคายา ควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ ส่วนห้องตรวจศัลยกรรมทั่วไปและจุดชำระเงิน ควรลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ และที่ห้องตรวจหู คอ จมูก พบว่าการให้บริการเป็นไปตามนโยบายของโรงพยาบาลอยู่แล้ว สำหรับในช่วงบ่าย ที่งานเวชระเบียน ควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ ที่ห้องตรวจหู คอ จมูก พบว่าการให้บริการเป็นไปตามนโยบายของโรงพยาบาลอยู่แล้ว ส่วนที่หน่วยให้บริการอื่น ควรลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ แผนกผู้ป่วยใน สรุปได้ว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้ามารับบริการที่ตึกอายุรกรรมชายมากที่สุด และผู้ป่วยเข้ารับบริการที่ตึกเด็กอ่อน2 น้อยที่สุด สำหรับเวลาที่ใช้ในการรับบริการพบว่า ผู้ป่วยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการรอคอยที่ตึกอายุรกรรมชายมากที่สุด และผู้ป่วยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการรับบริการและเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในระบบที่ตึกเด็กอ่อนใ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเวลาที่ผู้ป่วยใช้ในการรอคอยโดยรวมทุกตึกที่ให้บริการ พบว่าผู้ป่วยใช้เวลาในการรอคอยน้อยมาก ซึ่งถือเป็นตัวแบบที่เหมาะสมแล้ว
Other Abstract: “Queueing System Analysis of Maharatnakhonsrithammarat hospital services” is the project to find the optimal queueing model which suitable for hospital policy. There are 2 parts of analysis, Out-Patient Department (OPD) and In-Patient Department (IPD). The results of study are as follow. For OPD, Most patients are serviced in Medicine and Pediatrics department. They take more time at Medical Record Librarian and Statistics department than other service points. The average service time of Medical Record Librarian and Statistics department is longer than 30 minutes (the time set up by hospital policy). The average service time of Medicine 1 Pediatrics and Surgery department are at least 5 minutes (the time set up by Ministry of Public Health policy) in the morning but are less than 5 minutes in the afternoon. The average service time of Ear Nose and Throat department is less than 5 minutes both in the morning and afternoon. Results of simulation queueing system for optimal queueing model in the morning of Medical Record Librarian and Statistics 1 Medicine and Pediatrics department and bill service point should be increased number of servers but at Surgery department and Payment Counter should be decreased number of servers. At Ear Nose and Throat department is suitable for hospital policy. The optimal queueing model in the afternoon of Medical Record Librarian and Statistics department should be increased number of servers but for Ear Nose and Throat department is suitable for hospital policy and other service points should be decreased number of servers. For IPD, Most patients are serviced in Male Medicine ward and few patients are serviced in NewBorn2 ward. The patients take more waiting time in queue in Male Medicine ward and take service time and waiting time in system in NewBornl ward longer than other wards. Generally, Patients do not take long waiting time in queue so it is suitable queueing model.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65844
ISBN: 9740316409
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ornsuda_na_front_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Ornsuda_na_ch1_p.pdf880.87 kBAdobe PDFView/Open
Ornsuda_na_ch2_p.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Ornsuda_na_ch3_p.pdf747.2 kBAdobe PDFView/Open
Ornsuda_na_ch4_p.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Ornsuda_na_ch5_p.pdf993.11 kBAdobe PDFView/Open
Ornsuda_na_back_p.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.