Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65977
Title: พฤติกรรมและความต้องการของผู้สนใจสร้างบ้านประหยัดพลังงาน
Other Titles: Consumer behavior and the demand for energy saving houses
Authors: ปฐมาพรรณ ชอบกิจการ
Advisors: เสาวลักษณ์ เลิศบุศย์ สุรพลชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Saowaluck.Su@Chula.ac.th
Subjects: ที่อยู่อาศัย
บ้านประหยัดพลังงาน
พฤติกรรมผู้บริโภค
Dwellings
Ecological houses
Consumer behavior
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งมีเป็นการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ กระบวนการตัดสินใจและพฤติกรรมของผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานในปัจจุบันและเพื่อเป็นประโยชน์ด้านการตลาดและการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทบ้านประหยัดพลังงานในอนาคต โดยมีสมมติฐาน คือ บ้านประหยัดพลังงานเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมดังนั้นผู้ที่ให้ความสนใจในระยะเริ่มแรกในประเทศไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงและรายได้สูง จากผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปและมีรายได้ของครัวเรือนมากกว่า 30,000 บาท/เดือนซึ่งตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ งานวิจัยนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิโดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งแนบแปลนบ้านประหยัดพลังงานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลัง งานแห่งชาติ ส่วนข้อมูลปฐมภูมิเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบ ถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งได้ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้กับกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่สั่งซื้อแบบแปลนบ้านประหยัดพลังงานจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน พ.ศ.2543 งานวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มประชากรรวมทั้งสิ้น จำนวน 4,507 ราย ซึ่งตามหลักทางสถิติที่ขอบเขตความเชื่อมั่น 95% และมีความคลาดเคลื่อน 5% นั้นต้องการแนบสอบถามจำนวน 303 ชุด ซึ่งได้ดำเนินการส่งแบบสอบถามไป 606 ชุด และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แบบสอบถามที่ตอบกลับมาและสามารถนำมาใช้ได้จำนวน 375 ชุด คิดเป็น 124 % ของจำนวนที่ต้องการและได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยมีสาระสำคัญคือกลุ่มผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 31- 50 ปี สถานภาพสมรสแต่งงานแล้ว จำนวนสมาชิกในครองครัวอยู่ที่ 4 - 5 คน ซึ่งกลุ่มผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานส่วนมากกำลังหาซื้อหรือจะสร้างที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีอาชีพรับราชการ พักอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ประเภทที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยวและลักษณะการครอบครองเป็นเข้าของบ้านเอง กลุ่มผู้สนใจมีความต้องการซื้อแบบบ้าน แบบที่ 1 มากที่สุด เหตุผลในการซื้อแบบบ้านประหยัดพลังงานคือ เพื่อต้องการศึกษาแบบบ้านประหยัดพลังงานเป็นสำคัญ ผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานมีความต้องการในเรื่องคำปรึกษารวมทั้งข้อแนะนำในการสร้างบ้านประหยัดพลังงานโดยเฉพาะจากสถาปนิก/วิศวกรที่มีความรู้ในการก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงาน กลุ่มผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานให้ความสำคัญในเรื่องรูปแบบและคำนึงถึงราคาค่าก่อสร้างเป็นสำคัญ กลุ่มผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานมีพฤติกรรมการใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างและเครื่องปรับอากาศชนิดประหยัดพลังงานเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นตู้เย็นจะใช้แบบประหยัดพลังงานน้อยกว่าแบบธรรมดาเล็กน้อย พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารส่วนใหญ่รู้จักบ้านประหยัดพลังงานโครงการนี้ทางหนังสือพิมพ์ ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับบ้านประหยัดพลังงานนั้นส่วนใหญ่มีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ พอสมควรโดยมีสัดส่วนผู้รู้มากกว่าผู้ไม่รู้ ในเรื่องทัศนคตินั้นส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านประหยัดพลังงานยกเว้นในเรื่องราคา สำหรับกระบวนการตัดสินใจ ผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานจำนวน 22.1 % ตัดสินใจจะสร้างตามแบบที่ซื้อมาโดยมีเหตุผลที่สำคัญคือความสบายแบนธรรมชาติ และอีก 65.9 % ยังไม่ตัดสินใจนั้นเนื่องมาจากเหตุผลยังไม่พร้อมทางการเงินและยังต้องการศึกษาข้อมูลมากกว่ามี ผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานส่วนใหญ่ปรึกษาคู่สมรสในการตัดสินใจ รองลงมาคือ ปรึกษาสถาปนิกหรือวิศวกร จากการวิจัยพบว่าตัวแปรเรื่องการศึกษาและเรื่องทัศนคติด้านราคา ทัศนคติด้านรูปแบบในแง่ความเหมาะสมกับประเทศไทยทัศนคติด้านรูปแบบในแง่ความสวยงาม และทัศนคติด้านความคุ้มค่านั้นมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจ แบบบ้านประหยัดพลังงานที่ผู้ตัดสินใจสร้างเลือกมากที่สุดคือ แบบที่ 3 โดยให้เหตุผลหลักในการเลือกคือ มีขนาดเหมาะสม สถานที่ที่จะสร้างนั้นส่วนใหญ่จะสร้างในต่างจังหวัดในย่านชานเมือง กลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญคือ การปรับราคาค่าก่อสร้างให้ถูกลงหรือทำให้เห็นว่าบ้านประหยัดพลังงานมีราคาค่าก่อสร้างเท่า ๆ กับบ้านธรรมคา การพัฒนารูปแบบบ้านให้หลากหลายมากขึ้น เน้นความสบายแบบธรรมชาติ สร้างความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีให้กับผู้บริโภค อำนวยความสะดวกในเรื่องข้อมูลต่าง ๆ
Other Abstract: This research รณdies the behavior and demands of consumers interested in energy saving homes. Its objectives include the study of social and economic conditions as well as the decision process and behavior of those persons interested in energy saving homes in order to discover benefits that can be used in marketing and developing energy saving home for the future. The research was based on the hypothesis that energy saving homes represent advanced technology and environmental concerns and the majority of the first persons in Thailand to be interested in such matters are highly educated and have high incomes. Results confirmed this belief with the majority of those consumers interested in energy saving homes having at least a bachelor degree and monthly family income of over 30,000 baht. Secondary data for this study was gathered through relevant documents including energy saving home plans and information provided by the Office of the National Energy Saving Policy Board. Primary data was collected through questionnaires sent through the post to persons who had ordered, or purchased, energy saving home plans from the Office of the National Energy Saving Policy Board between July to September 2000. The total research sample included 4,507 persons with a 95% statistical chance of accuracy and 5% chance of statistical deviation. In order to receive 303 questionnaires, a total of 606 were posted. Response was more than favorable with 375, or 124%, of the necessary sample returned. Results were than tabulated using an SPSS program. The important results of this research showed that the majority of those interested in energy saving homes were aged 31-50 years and married with families of 4-5 persons. Those interested mostly wanted to purchase or build their energy saving home were civil servants and resided in the provinces, or upcountry. They lived in single, detached houses which they usually owned themselves. These persons primarily purchased the plans for design 1 of the energy saving home plans because they wanted to study them. The consumers interested in energy saving homes also wanted to consult with experts including architects and engineers with expertise in building energy saving homes. They also placed importance on home designs and the cost of construction. These persons usually used electric appliances and air conditioners which were energy saving, except for refrigerators that were less so. These people also kept themselves well informed and knew about energy saving homes through newspaper articles. Most had a good amount of knowledge on the subject and had a good impression of energy saving homes except concerning their cost. As far as the decision making, 22.1% decided to build an energy saving home based on the plans they purchased. The main reason is they like a natural environment. 65.9%, or the majority, have not yet decided to build because they felt they were not yet ready as far as finances and also wanted to study the subject more. In the majority of cases, couples discussed their decision together, or the decision-maker consulted their spouse. Next in importance, they consulted an architect or engineer. Research results also showed that it was the cost that usually changed attitudes or views. As far as designs, they were best suitable for Thailand and were attractive. Concerning cost savings, this played a role in the decision making as well. Of those who decided to build an energy saving home, the third design was the most popular. The principal reason was its size was most applicable. The most popular location for these homes was provincial city outskirts. Important marketing tactics are the adjustment or construction costs of energy saving homes to be lower or equal to those of standard homes, developing a wider range of designs, promote the added comforts of a natural environment, build confidence and a better attitude in consumers and make it easier to acquire information.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65977
ISBN: 9740303706
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patamapun_ch_front_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Patamapun_ch_ch1_p.pdf725.26 kBAdobe PDFView/Open
Patamapun_ch_ch2_p.pdf860.61 kBAdobe PDFView/Open
Patamapun_ch_ch3_p.pdf710.76 kBAdobe PDFView/Open
Patamapun_ch_ch4_p.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open
Patamapun_ch_ch5_p.pdf904.95 kBAdobe PDFView/Open
Patamapun_ch_back_p.pdf12.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.