Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66010
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างตัวก่อความเครียดในงาน เรื่องรบกวนในชีวิตประจำวัน และความเครียด โดยมีรูปแบบพฤติกรรมแบบเอ ความเชื่อในแหล่งการควบคุม และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเป็นตัวแปรกำกับ
Other Titles: Relationships among work stressors, hassles, and stress : the moderating effects of type a behavior pattern, locus and control, and self-efficacy
Authors: นฤชยา กองจินดา
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Chaiyaporn.W@Chula.ac.th
Subjects: ความเครียด (จิตวิทยา)
ความเครียดในการทำงาน
ความสามารถในตนเอง
Self-efficacy
Job stress
Stress ‪(Psychology)‬
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวก่อความเครียดในงานกับความเครียดและเรื่องรบกวนในชีวิตประจำวันกับความเครียด โดยมีรูปแบบพฤติกรรมแบบเอ ความเชื่อในแหล่งการควบคุม และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเป็นตัวแปรกำกับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดตัวก่อความเครียดในงาน มาตรวัดเรื่องรบกวนในชีวิตประจำวัน มาตรวัดความเครียด มาตรวัดรูปแบบพฤติกรรมแบบเอ มาตรวัดความเชื่อในแหล่งการควบคุม และมาตรวัดความเชื่อมั่นในความลามารถของตน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ พนักงานธนาคารพาณิชย์ 2 แห่ง จำนวน 184 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบพฤติกรรมแบบเอ ความเชื่อในแหล่งการควบคุม และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนไม่เป็นตัวแปรกำกับทั้งในความสัมพันธ์ระหว่างตัวก่อความเครียดในงานกับความเครียด และเรื่องรบกวนในชีวิตประจำวันกับความเครียด โดยตัวแปรทุกตัวทำหน้าที่เป็นตัวแปรอิสระทำนายความเครียด ตัวก่อความเครียดในงาน รูปแบบพฤติกรรมแบบเอ ความเชื่อในแหล่งการควบคุม และความเชื่อมั่นในความสามารถของตน สามารถร่วมกันทำนายการกันแปรของความเครียดได้ร้อยละ 30 ใน ขณะที่เรื่องรบกวนในชีวิตประจำวัน รูปแบบพฤติกรรมแบบเอ ความเชื่อในแหล่งการควบคุม และความเชื่อมั่นในความสามารถของตน สามารถร่วมกันทำนายการกันแปรของความเครียดได้ร้อยละ 38
Other Abstract: The purposes of this research were to study the relationships between work stressors and stress, and between hassles and stress with the moderating effects of type A behavior pattern, locus of control, and self-efficacy. The instruments were Work Stressor Scale, Hassle scale, DASS-Stress Scale, TABP Component Measures, l-E Scale, and Self-Efficacy Scale. The subjects were 184 employees in two commercial banks. It was found that Type A behavior pattern, locus of control, and self-efficacy did not significantly moderate the relationships between work stressors and stress, and between hassles and stress. All variables functioned as independent variables predicting stress. Work stressors, type A behavior pattern, locus of control, and self-efficacy explained 30% of the variance in stress, while hassles, type A behavior pattern, locus of control, and self-efficacy explained 38% of the variance in stress.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66010
ISBN: 9741735707
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naritchaya_ko_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ757.06 kBAdobe PDFView/Open
Naritchaya_ko_ch1_p.pdfบทที่ 11.56 MBAdobe PDFView/Open
Naritchaya_ko_ch2_p.pdfบทที่ 21.04 MBAdobe PDFView/Open
Naritchaya_ko_ch3_p.pdfบทที่ 3907.45 kBAdobe PDFView/Open
Naritchaya_ko_ch4_p.pdfบทที่ 4764.26 kBAdobe PDFView/Open
Naritchaya_ko_ch5_p.pdfบทที่ 5664.3 kBAdobe PDFView/Open
Naritchaya_ko_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.