Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66041
Title: | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | Study of factors affecting exercise behaviors of lower secondary school students |
Authors: | ธนิตา ทองมี |
Advisors: | ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thanomwong.K@chula.ac.th |
Subjects: | การออกกำลังกาย พฤติกรรมสุขภาพ นักเรียนมัธยมศึกษา Exercise Health behavior High school students |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ปัจจัยทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยทางด้านความรู้ ปัจจัยทางด้านเจตคติ ปัจจัยทางด้านการปฏิบัติ ปัจจัยทางด้านครอบครัวและเศรษฐกิจ ปัจจัยทางด้านโรงเรียน ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ปัจจัยทางด้านสุขภาพ และปัจจัยทางด้านสถานที่และสิงอำนวยความสะดวก ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีที่ 1-3 จำนวน 1,200 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนมา 1,028 ชุด คิดเป็นร้อยละ 8 5 .7 5 ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติทั้งหมดด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เอสพี เอส เอส ฟอร์วินโดร์ รุ่น 11.5 เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน รวมทั้งวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยใช้สถิติ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.80 ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมนันทนาการประเภทดูโทรทัศน์ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นเกมคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต โดยออกกำลังกายนอกเหนือชั่วโมงเรียนพลศึกษา 1 - 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 64.73 และใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาทีในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ร้อยละ 39.21 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ประกอบด้วย ความรู้ เจตคติ ครอบครัวและสภาพเศรษฐกิจ โรงเรียน จิตวิทยา สุขภาพ และ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านครอบครัวและสภาพเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสุขภาพ และปัจจัยด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร้อยละ 39.70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 สามารถเขียนสมการได้ดังนี้ Z(พฤติกรรมการออกกำลังกาย) = .253Z (ปัจจัยด้านจิตวิทยา) + .194Z(ปัจจัยด้านครอบครัวและเศรษฐกิจ) + .143Z (ปัจจัยด้านเจตคติต่อการออกกำลังกาย) + .111Z(ปัจจัยด้านสุขภาพ) +.031Z(ปัจจัยด้านสถานที่และสิ่งอำนวยควาสะดวก) |
Other Abstract: | The purposes of this investigation were to study the factors (i.e. knowledge, attitude, education, family status, psychology, individual’s health, and access to exercising facility) and relationships of different variables that affect exercise behavior of lower secondary school students. The questionnaires which sent to the students in Thailand (except Bangkok). Out of 1,200 questionnaires, 1028 were returned (85.75%). The data were analyzed in terms of percentages, means, standard deviation, correlation by using the Pearson’s product moment correlation and Stepwise multiple regression analysis. The results were as follows : 1. Majority of lower secondary school students (51.80%) spent leisure activities for recreation as to watch television, listen to music, read book and play internet or computer’s game. They exercised 1-2 days per week (64.73%) and averaged less than 30 minutes per session (39.31%). 2. Factors which were positively related to exercise behavior were knowledge, attitude, family status, education, psychology, individual’s health, and exercising facility (p<.01). 3. The significant variables that could predict to exercise behavior which significantly different at the .01 were psychology, family status, individual’s health, attitude, and exercising facility (39.70%), respectively by multiple regression procedure as follows : Z(exercise behavior) = .253Z (psychology) + .194Z(Family status) + .143Z (attitude) + .111Z(individual’s health) +.031Z(exercising facility) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66041 |
ISBN: | 9741752342 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanita_th_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 801.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_th_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 924.08 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_th_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_th_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 736.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_th_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_th_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 988.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_th_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.