Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66062
Title: การพัฒนาโมเดลการจำแนกความรู้สึกของข้อความภาษาไทยโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่อง
Other Titles: Development of a classification model for Thai statement sentiments
Authors: นิติกร องค์ศิริมงคล
Advisors: ภควรรณ ปักษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: pakawan.p@chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันข้อมูลมีอยู่ในหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือข้อความในรูปแบบตัวอักษร (text) ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ได้ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การสร้างระบบแนะนำสินค้า (product recommender system) การวิเคราะห์ความรู้สึกจากข้อความ (sentiment analysis) การทำเหมืองข้อมูล (data mining) และอื่น ๆ ดังนั้นผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ความรู้สึกจากข้อความ เนื่องจากหากสามารถแบ่งแยกข้อความที่แสดงความรู้สึกทางด้านบวก ทางด้านลบ และไม่แสดงความรู้สึกหรือเป็นกลางออกจากกันได้จะเป็นประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพสินค้าหรือรักษาคุณภาพการให้บริการ และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือการให้บริการที่ถูกกล่าวถึงในข้อความให้ดีขึ้นได้ โครงการนี้จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากรีวิวในกลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว และสายการบิน จากเว็บไซต์ tripadvisor โดยจะแยกผลลัพธ์ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ข้อความแสดงความรู้สึกทางด้านบวก ทางด้านลบ และไม่แสดงความรู้สึกหรือเป็นกลาง และนำข้อมูลข้างต้นมาสร้างโมเดลที่ใช้ในการจำแนกความรู้สึกจากข้อความด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก ซึ่งมีการทดลองสร้างโมเดลหลาย ๆ รูปแบบ จึงเลือกโมเดลที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด คือ โมเดลที่สร้างจากโครงข่ายประสาทเทียมแบบสังวัตนาการต่อกันจำนวนสามชั้น ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโดเดลพบว่า ได้ผลการจำแนกที่ถูกต้องและแม่นยำมากกว่า 80% ในทุกกลุ่มข้อความ ดังนั้นโมเดลนี้สามารถช่วยให้ผู้ใช้สะดวกในการจำแนกข้อความเป็นประเภทต่าง ๆ ตามความรู้สึกของข้อความเพื่อนำไปใช้ในการควบคุม หรือปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้มีความพึงพอใจต่อผู้บริโภคหรือผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: At present, information is available in a variety of formats. One of them is the text that has a lot of text on the internet. This information can be used in many ways such as product recommender system, sentiment analysis, data mining and others. Therefore, the developer can see the importance of feeling analyzing from messages because if you are able to distinguish messages that show negative feelings, positive feelings and non-expressed feelings or neutrality, it will be useful in controlling the product quality or maintaining the quality of service and improving the quality of products or services that are mentioned in the message. This project will collect data from reviews in hotels, restaurants, tourist attractions and airlines from tripadvisor website, which will separate the results into 3 groups: a message showing a positive and negative feeling and not showing feelings or neutrality. Then, the previous data is used for creating a model by deep learning methods which get from the experiment of developing many various models. After that, the model that gives the best results is chosen. This model is constructed from convolutional neural networks with three connected layers and the results of the model’s performance test showed an accuracy and precision of the results are more than 80% in all groups. Therefore, this model can help users to easily classify messages into different groups according to the feelings of the message to be used in the control and improvement of products or services to be more satisfied with consumers or customers.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66062
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitikorn_O_Se_2561.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.