Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66072
Title: | สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนในรำข้าวที่ได้มาจากการสกัดด้วยการไฮโดรไลซิสของน้ำกึ่งวิกฤต |
Other Titles: | Functional properties of rice bran protein from subcritical water extraction |
Authors: | คุณานนต์ ปานสินธ์ เขมชาติ นกอยู่ |
Advisors: | ดริษ กวักเพฑูรย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Daris.K@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนรำข้าวที่สกัดด้วยน้ำกึ่งวิกฤต (Subscritical water extraction; SWE) โดยนำรำข้าวมากำจัดน้ำมันและสตาร์ช จากนั้นนำมาสกัดโปรตีนด้วย SWE ที่อุณหภูมิ 180, 200 และ 220°C เป็นเวลา 30 นาที จะได้สารละลายโปรตีน 3 ชนิด (PSWE180, PSWE200 และ PSWE220) นอกจากนั้นยังนำรำข้าวอีกส่วนมาสกัดโปรตีนด้วยสารละลาย 1 M NaOH (Alkaline extraction, AE) ซึ่งจะได้สารละลายโปรตีนรำข้าวสกัดด้วยด่าง (PAE) เพื่อใช้เป็นตัวอย่างควบคุม จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของ PSWE และ PAE พบว่า SWE จะสามารถสกัดโปรตีนออกจากรำข้าวได้มากกว่า AE โดยเมื่ออุณหภูมิของการสกัดสูงขึ้น SWE จะสกัดโปรตีนได้มากขึ้น ซึ่ง PSWE220 จะมีร้อยละผลผลิตของการสกัดโปรตีนได้สูงที่สุด โดยมีค่าอยู่ที่ 41.78% เมื่อพิจารณาความสามารถในการละลาย (Solubility) พบว่า PSWE สามารถละลายน้ำได้มากกว่า PAE และเมื่ออุณหภูมิของการสกัดสูงขึ้นค่าการละลายของ PSWE ก็จะสูงขึ้น โดย PSWE220 จะมีค่าการละลายสูงที่สุดที่ 96.36% เมื่อสารละลายมี pH 2 จากการวิเคราะห์ความสามาถในการเกิดโฟม (Foaming capacity) พบว่า PAE จะมีค่าสูงกว่า PSWE โดยจะมีค่าสูงสุดที่ 32 มิลลิลิตร เมื่อสารละลายมี pH 4 และ 8 อย่างไรก็ตามโฟมของ PSWE จะมีค่าความคงตัว (Foam stability) ที่สูงกว่าโฟมของ PAE โดยโฟมของ PSWE200 และ PSWE220 จะมีความคงตัวสูงที่สุด เมื่อพิจารณาถึงสมบัติการเกิดอิมัลชันพบว่า PSWE จะให้ค่าดัชนีกิจกรรมการเกิดอิมัลชัน (Emulsifying activity index) โดยวัดเป็นค่าการดูดกลืนแสง (A₅₀₀) สูงกว่า PAE โดย PSWE180 จะมีค่า A₅₀₀ สูงที่สุดซึ่งมีค่า 0.96 เมื่อสารละลายมี pH 7 และ 9 นอกจากนี้อิมัลชันของ PSWE ยังมีความเสถียรกว่าอิมัลชันของ PAE โดยอิมัลชันของ PSWE180 ที่ pH 7 จะมีความเสถียรดีที่สุด ซึ่งมีค่า 49.81 นาที |
Other Abstract: | The objective of this research was to study the functional properties of rice bran protein extracted by subcritical water extraction (SWE). First, rice bran was removed oil and starch then it was extracted protein by SWE at 180, 200, and 220 °C for 30 minutes. Three SWE-protein solutions were obtained (PSWE180, PSWE200, and PSWE220). Rice bran protein was also extracted with alkaline extraction (AE) by 1 M NaOH obtaining AE-protein solution (PAE) and used as a control sample. According to chemical composition analysis of PSWE and PAE, SWE could extract protein from rice bran at a higher yield than AE. The higher extraction temperature, the higher extraction yield was obtained. PSWE220 had the highest extraction yield at 41.78%. According to solubility analysis, PSWE could solubilize at a higher degree than PAE. The solubility of PSWE increased with extraction temperature. PSWE220 had the highest solubility at 96.36% in the solution with pH 2. According to analysis of foaming properties, PAE had higher in foaming capacity (32 ml) than PSWE when the solution had pH at 4 and 8. However, PSWE exhibited higher foam stability than PAE. The foam of PSWE200 and 220 were the most stable. According to emulsion properties, PSWE exhibited a higher emulsifying activity index, measured as absorbance value (A500) than PAE. PSWE180 had the highest A500 at 0.96 when the solution had pH at 7 and 9. Furthermore, emulsions of PSWE were also more stable than that of PAE. The emulsion of PSWE180 was the most stable at 49.81 min, pH 7. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66072 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kunanon_P_Se_2561.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.