Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66073
Title: การศึกษาประสิทธิภาพของพรีไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและรอดชีวิตของโพรไบโอติกแลคติกแอซิดแบคทีเรีย
Other Titles: Effect of prebiotics on growth and survival of probiotic lactic acid bacteria
Authors: กฤษ ชัชวารี
เบญจรัตน์ เหมือนวิหาร
Advisors: จันทร์ประภา อิ่มจงใจรัก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Chanprapa.I@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของพรีไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและการรอดชีวิตเมื่อผ่านการท่าแห้งแบบพ่นฝอย (spray-drying) และระหว่างการเก็บรักษาของเชื้อโพรไบโอติก Lactobacillus plantarum ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในล่าไส้ของกุ้งขาว ส่าหรับน่าไปใส่ลงในผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงกุ้งขาว เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มากขึ้น ในการทดลองนี้มีพรีไบโอติกที่สนใจศึกษา 2 ชนิด ได้แก่ อินนูลิน (Inulin) และ ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (Fructooligosaccharides; FOS) ท่าการศึกษาโดยการเปรียบเทียบความสามารถในการเจริญเติบโตของเชื้อโพรไบโอติกที่เพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ MRS broth ที่มีและไม่มีการเติมพรีไบโอติก เมื่อท่าการการตรวจนับเชื้อทุกชั่วโมงเป็นเวลา 6 ชั่วโมง พบว่าอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีการเติมอินนูลินไม่ส่งผลต่อการเพิ่มจ่านวนของเชื้อโพรไบโอติกอย่างมีนัยส่าคัญ (P>0.05) และอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีการเติมฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ส่งผลต่อการเพิ่มจ่านวนเชื้อโพรไบโอติอย่างมีนัยส่าคัญ (P≤0.05) เมื่อท่าการศึกษาผลของพรีไบโอติกต่อการรอดชีวิตของเชื้อโพรไบโอติกที่ผ่านท่าแห้งแบบพ่นฝอย โดยน่าเชื้อโพรไบโอติกมาผสมกับสารป้องกันเซลล์และน่าไปท่าแห้งแบบพ่นฝอย โดยก่าหนดอุณหภูมิลมร้อนขาเข้า 185 องศาเซลเซียส อุณหภูมิลมร้อนขาออก 85±5 องศาเซลเซียส อัตราป้อนคงที่ที่ 20 มิลลิลิตรต่อนาที ท่าการตรวจนับเชื้อก่อนและหลังการท่าแห้งแบบพ่นฝอย พบว่าอัตราการรอดชีวิตของเชื้อโพรไบโอติกที่เลี้ยงใน อาหารเลี้ยงเชื้อ MRS broth, MRS broth + Inulin และ MRS broth + FOS เท่ากับ 92.28, 92.40 และ92.40% ตามล่าดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพรีไบโอติกทั้ง 2 ชนิดไม่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของเชื้อโพรไบโอติก และท่าการศึกษาสภาวะการเก็บรักษาผงเชื้อโพรไบโอติกในถุงลามิเนตที่ปิดผนึกแบบสุญญากาศ โดยเก็บรักษาไว้ที่ 4 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยแต่ละสัปดาห์จะวัดค่า aw , %MC และตรวจนับเชื้อ พบว่าค่า aw และ %MC ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา พบว่าอัตราการรอดชีวิตของเชื้อโพรไบโอติกเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสที่เพาะเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อทั้ง 3 ชนิดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส่าคัญ (P>0.05) และอัตราการรอดชีวิตของเชื้อโพรไบโอติกเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส ) ที่เพาะเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีการเติมพรีไบโอติกทั้ง 2 ชนิดและไม่มีการเติมพรีไบโอติกแตกต่างกันอย่างมีนัยส่าคัญ (P≤0.05) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพรีไบโอติกทั้ง 2 ชนิดช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส)
Other Abstract: This study aimed to evaluate the influence of prebiotics on growth and survival rates after spray-dying and during the storage of probiotics Lactobacillus plantarum, which is a shrimp probiotics. Two prebiotics, Inulin (3% w/w) and Fructooligosaccharides (FOS) (3% w/w) were used in this study. Following the FOS addition, it was found that growth level of probiotic L. plantarum was significantly stimulated compared to control group (P≤0.05). However, following the inulin treatments, there was no significant change in total probiotic numbers. Probiotic L. plantarum was subsequently spray-dried at 185 °C inbound hot air and 85±5 °C in the presence of the cell protection substance at 20 ml/min flow rate. It was found that the survival rate following spray-drying was 92.28% for control MRS, 92.40 for inulin, and 92.40% for FOS. The results indicated that the concentration of prebiotics had no effect on the survival rate of the probiotic as compared with controls without prebiotics. The powders of probiotics were vacuum sealed in a laminated bag kept at 4 °C and room temperature (25 °C) for 4 weeks. The aw, %MC, and probiotics count were analysed. it was found that there were no significant changes in aw, %MC and the survival rate of probiotics, stored at 4 °C. However, holding the dried probiotic cultivated in both prebiotics in the laminated bag enabled probiotic L. plantarum to exhibit a higher percentage of survival than in the control group, stored at room temperature (25 °C). The data indicate that two prebiotics, Innulin and FOS have applications in the protection of probiotic L. plantarum during storage at room temperature (25 °C).
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66073
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krit_C_Se_2561.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.