Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66210
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสกลวรรณ ชาวไชย-
dc.contributor.advisorสันติ ภัยหลบลี้-
dc.contributor.authorธนิสรณ์ พุทธกาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialสงขลา-
dc.date.accessioned2020-06-06T15:10:43Z-
dc.date.available2020-06-06T15:10:43Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66210-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560en_US
dc.description.abstractจากการขุดค้นพบแนวกำแพงเมืองสงขลาทางด้านทิศตะวันตกของเมืองโดยกรมศิลปากร เมื่อ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ในบริเวณริมถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัด สงขลา ได้มีรายงานพบแนวกำแพงหินก่อด้วยปูนอันมีลักษณะตรงกันกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ของเมืองสงขลา ซึ่งได้ระบุว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2379 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2385 โดยในการขุด ค้นนี้ยังพบกำแพงอิฐที่วางตัวอยู่บนกำแพงหินและกำแพงอิฐที่วางตัวแนบอยู่กับกำแพงหินทางด้าน ในของตัวเมือง จึงเป็นประเด็นปัญหาทางด้านโบราณคดีที่ต้องการพิสูจน์ทราบถึงอายุของกำแพงอิฐ เพื่อนำข้อมูลมาอธิบายถึงลำดับการสร้างกำแพงเมืองสงขลา จากหลักการการหาอายุด้วยวิธี เปล่งแสงซึ่งใช้ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของอิเล็กตรอนที่สะสมตัวในหลุมกักเก็บอิเล็กตรอน ของโครงสร้างผลึกของแร่ ซึ่งเรียกว่า Equivalence dose (ED) กับอัตราการแผ่รังสีต่อปีของธาตุ กัมมันตรังสีในธรรมชาติ ซึ่งเรียกว่า Annual dose (AD) ประกอบกับการที่อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างทาง ธรณีวิทยาชนิดหนึ่งที่สามารถพบแร่ควอตซ์ซึ่งเป็นแร่ที่มีคุณสมบัติในการเปล่งแสงเป็นองค์ประกอบ การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสงจึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหาอายุอิฐได้ ผู้จัดทำโครงงานจึง ทำการศึกษาตัวอย่างอิฐของกำแพงเมืองสงขลาทั้งสิ้น 2 ตัวอย่าง คือ ตัวอย่างอิฐที่วางตัวบนของ กำแพงหิน ตัวอย่างที่ 1 (SK1-1) และตัวอย่างอิฐที่วางตัวแนบผนังด้านในของกำแพงหิน ตัวอย่างที่ 1 (SK2-1) โดยทำการเตรียมตัวอย่างเพื่อทดลองหาค่า ED และ AD ด้วยเครื่อง TL/OSL reader และ Gamma-ray spectrometer ตามลำดับ ทั้งนี้ได้ทำการทดลองหาค่า ED จาก 2 แหล่ง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และห้องปฏิบัติการของ ภาควิชาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แล้วนำผลการทดลองที่ ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ พบว่าตัวอย่างอิฐ SK1-1 มีอายุ 120-141 ปีก่อนปัจจุบัน และตัวอย่างอิฐ SK2-1 มีอายุ 151-173 ปีก่อนปัจจุบัน จึงสามารถสรุปผลได้ว่าหลังจากการก่อ กำแพงหินเพื่อวางรากฐานกำแพงเมืองสงขลาในปี พ.ศ. 2379 ถึงปี พ.ศ. 2385 เสร็จสิ้น ได้มีการก่อ กำแพงอิฐแนบกับแนวกำแพงหินทางด้านในของตัวเมืองเพิ่มเติมในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2387 ถึงปี พ.ศ. 2409 และต่อมาได้มีการก่อสร้างกำแพงอิฐซึ่งวางทับอยู่บนกำแพงเมืองที่เป็นกำแพงหิน เพิ่มเติมในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2419 ถึงปี พ.ศ. 2440 ซึ่งสามารถคงอยู่และปรากฏให้เห็นเป็น โบราณสถานกำแพงเมืองสงขลาทางด้านทิศตะวันตกของเมืองจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractalternativeOn February 27, 2017, Fine Art Department of Thailand found the Songkhla City Wall, the western of the city, which is located at Nakhon Nok Road, Tambon Boryang, Mueang Songkhla District, Songkhla Province, Thailand. According to Fine Art Department of Thailand’s report, there is also a rock wall which has been historically recorded that it was built in 1836 and finished in 1842. The discovery also found a brick wall covering the rock wall on top and attached to a side as well. This discovery causes an archaeological problem which is proofing the ages of the brick wall in order to precisely explain the sequence of the Songkhla City Wall. Luminescence dating is a method using the relationship between the number of electrons which are accumulated in the electron trap of the inorganic crystal structure from the mineral (Equivalence Dose: ED) and the annual radiation dose of the radioactive element in nature (Annual Dose: AD). Also, the brick is a geological material which probably contains quartz grains which can be applied luminescence dating method to date the bricks by its luminescence property. Two brick samples are used in dating process: Brick from the wall which is on the rock wall (SK1-1) and brick from the wall which is attached to the rock wall (SK2-1). The gamma-ray spectrometer at the department of Geology, faculty of science, Chulalongkorn University was used to analyze the AD. And the ED was analyzed by using the TL/OSL at the Thailand Institute of Nuclear Technology (TINT) and the laboratory of the department of geoscience, faculty of science, University of Freiburg, Germany. The results are analyzed by statistical analysis, sample SK1-1 is approximately 120- 141 years old and sample SK2-1 is approximately 151-173 years old. These results can be concluded that after building the rock wall in order to base Songkhla City Wall in 1836 to 1842, the brick wall was built attaching to the rock wall on the city side in 1844 to 1866. In 1876 to 1897, on the top of Songkhla City Wall, which originally was the rock wall, was added by the brick wall. At the present, the brick wall in the west still remains as ancient antiques.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการหาอายุอิฐจากกำแพงเมืองสงขลาด้วยวิธีเปล่งแสงen_US
dc.title.alternativeDating of bricks from Songkhla city wall using luminescence methoden_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorsakonvan.c@chula.ac.th-
dc.email.advisorSanti.Pa@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Thanisorn Puttagan.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.