Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66287
Title: การกำจัดตะกั่ว (+2) และซีเลเนียม(+4) ในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกากตะกรันจากการหลอมเหล็ก
Other Titles: Removal of lead(+2) and selenium(+4) by slag of blast furnace from steel plant
Authors: ปริญญา บุญส่งแท้
Advisors: สุธา ขาวเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
การดูดซับ
ตะกั่ว
ซีลีเนียม
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพและสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดตะกั่วและซีเลเนียมโดยใช้กากตะกรันจากการหลอมเหล็กในนํ้าเสียสังเคราะห์ จะศึกษาองค์ประกอบของกากตะกรัน เวลาสัมผัส พีเอซ และไอโซเทอมการดูดติดผิวโดยทำการศึกษาแบบแบตซ์ หลังจากนั้น จะนำผลการศึกษาแบบแบตซ์มาศึกษาประสิทธิภาพ การกำจัดตะกั่วและซีเลเนียมในคอลัมน์การดูดติดผิว ผลการวิจัยพบว่ากากตะกรันจากการหลอมเหล็กมีองค์ประกอบจำพวก แคลเซียมซิลิกา และอลูมิน่าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนประกอบดังกล่าวเกิดจากกระบวนการถลุงเหล็กได้มีการเติมปูนขาว เพื่อเป็นตัวช่วยให้เกิดตะกรัน การดูดติดผิวของตะกั่วและซีเลเนียมจะเข้าสู่สภาวะสมดุลภายในระยะเวลา 5 ชั่วโมง โดยมีพีเอชเป็นตัวแปรที่สำคัญมาก ต่อการกำจัดตะกั่วและซีเลเนียม กล่าวคือ สำหรับตะกั่ว หากพีเอชน้อยกว่า 5 การกำจัดจะเกิดจากกระบวนการตกตะกอนทางเคมีเป็นสำคัญ ทำให้ประสิทธิภาพ การกำจัดเพิ่มขึ้นเมื่อพีเอช ลดลง และหากพีเอชมากกว่า 5 การกำจัดตะกั่วจะเกิดจากกระบวนการดูดติดผิวเป็นสำคัญ ซึ่งการกำจัดตะกั่วจะเพิ่มขึ้นเมื่อ พีเอชเพิ่มขึ้น โดยที่พีเอช 5 จะมีประสิทธิภาพการกำจัดตํ่าสุด สำหรับการกำจัดซีเลเนียมของกากตะกรัน จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อพีเอชลดลง โดยเมื่อพีเอชมากกว่า 5 ประสิทธิภาพจะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการกำจัดของซีเลเนียมจะเกิดจาก 2 กระบวนการได้แก่ การดูดติดผิวและการตกตะกอนเคมี สำหรับการดูดติดผิวของตะกั่วและซีเลเนียม จะเป็นไปตามไอโซเทอมการดูดติดผิวของฟรุนดลิช ซึ่งแสดงว่าการดูดติดผิวเกิดจากกากตะกรันแสดงคุณสมบัติผิวเชิงซ้อน (Heterogeneous Surface Properties) ผลการทดลองในคอลัมน์ดูดติดผิวพบว่า ระยะเวลาการเบรคทูรจ์จะประมาณ 20 -25 % เทียบกับค่าที่ได้จากการคำนวณตามทฤษฎี
Other Abstract: This research investigated the removal of lead and selenium from synthetic wastewater using blast-furnace slag from steel plant. The objectives were to investigate composition of slag, suitable contact time and pH for removal lead and selenium in batch process. The results from batch experiments were used to set up the adsorptive adsorption study. The compositions of slag are mainly calcium, silica and alumina that came from mining process. Lime was added as slag forming agent. For batch process, lead and selenium adsorption equilibrium were reach in less than 5 hrs. Solution pH is important parameter effecting both lead and selenium adsorption. Lead reacts and forms precipitate with slag at pH less than5, and the removal efficiency increase with decreasing pH. So at pH 5, the efficiency of lead removal by slag is minimal. On the other hand, selenium adsorption by slag decreases with increasing pH. When the solution pH was higher 5, the efficiency is drastically decreased. There are 2 processes that contribute to selenium removal from solution by slag, chemical precipitation and adsorption. The adsorption of both lead and selenium can be well modeled by Freundlish equation. For adsorptive column study, breakthrough time around 20-25% compare with the number calculated from theory.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66287
ISBN: 9740313078
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parinya_bo_front_p.pdf828.47 kBAdobe PDFView/Open
Parinya_bo_ch1_p.pdf660.48 kBAdobe PDFView/Open
Parinya_bo_ch2_p.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Parinya_bo_ch3_p.pdf851.11 kBAdobe PDFView/Open
Parinya_bo_ch4_p.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Parinya_bo_ch5_p.pdf640.23 kBAdobe PDFView/Open
Parinya_bo_back_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.