Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66348
Title: ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน ระหว่างกระบวนการผลิตอาหารข้นสำหรับโคนม ในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในประเทศไทย
Other Titles: Important factors affecting aflaoxin contamination during the production of dairy feed concentrate in feed manufacturer in Thailand
Authors: ปิยวัฒน์ สายพันธุ์
Advisors: เบญจมาศ มโหสถนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: การปนเปื้อนในอาหาร
อะฟลาท็อกซิน
โคนม -- อาหาร
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผล1ของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ความชื้นของวัตถุดิบ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์อากาศ วิธีและระยะเวลาการเก็บรักษาวัตถุดิบที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอะฟลาท็อกซินในวัตถุดิบแต่ละชนิดที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารข้นสำหรับโคนม โดยทำการเก็บข้อมูลตัวอย่างวัตถุดิบและอาหารข้นจากโรงงานผลิตอาหารข้นในระดับสหกรณ์ จำนวน 3 แห่ง ระหว่างเดือน ต.ค. 2543 - ก.พ. 2544 และ ต.ค. 2544 - ก.พ. 2545 เก็บตัวอย่างวัตถุดิบทุก 2 สัปดาห์ เป็นจำนวน 8 งวดติดต่อกัน ในแต่ละงวดวัตถุดิบจะถูกเก็บ 2 ครั้งคือเมื่อวันแรกเข้าสู่โรงงานและก่อนการผสมอาหารวัตถุดิบที่ใช้เป็นตัวอย่าง ได้แก่ ข้าวโพด กากมะพร้าว รำ (หยาบและละเอียด) มันเส้น กากถั่วลิสง กากปาล์ม กากถั่วเหลือง กากถั่วเขียว กากเมล็ดนุ่น กากทานตะวัน และกากเบียร์ ส่วนอาหารข้นเก็บตัวอย่างทันทีเมื่อผลิตเสร็จได้จำนวนวัตถุ ดิบทั้งหมด 161 ตัวอย่าง อาหารข้น 24 ตัวอย่าง สกัดและวิเคราะห์หาปริมาณอะฟลาท็อกซินจากตัวอย่างทั้งหมดด้วยวิธี Immunoaffinity column และ Spectrofluorometer ตามลำดับ การหาความชื้นในวัตถุดิบใช้วิธี Traditional oven method ทำการวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์อากาศโดยติดตั้งเครื่องวัดไว้ในแต่ละโรงงาน บันทึกแหล่งที่มา สูตรอาหาร วิธีและระยะเวลาการเก็บรักษาวัตถุดิบของแต่ละโรงงานโดยละเอียด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน ได้แก่ ชนิดของวัตถุดิบที่เลือกใช้ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ ความชื้นวัตถุดิบและระยะเวลาการเก็บรักษา กากมะพร้าวและข้าวโพดเป็นวัตถุดิบที่มีปริมาณอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนสูงกว่าวัตถุดิบชนิดอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) วัตถุดิบส่วนใหญ่มีปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้นภายหลังการเก็บรักษาที่โรงงานทุกโรงงาน โดยปริมาณความชื้นที่เพิ่มขึ้นนั้นแตกต่างกันไปตามสภาพ การเก็บรักษา และระยะเวลาการเก็บรักษาของแต่ละโรงงาน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ Pearson’s correlation coefficients และ PROC GLM for Unbalance data พบว่า การเพิ่มขึ้นของความชื้นในวัตถุดิบมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอะฟลาท็อกซินในรำละเอียด กากปาล์ม กากถั่วเหลือง กากทานตะวัน กากมะพร้าวและข้าวโพด ส่วนการเพิ่มขึ้นของระยะเวลาการเก็บรักษานั้นมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอะฟลาท็อกซินในมันเส้นและกากมะพร้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดทำโปรแกรมพื้นฐานเพื่อควบคุมปริมาณอะฟลาท็อกซินในกระบวนการผลิตอาหารข้นสำหรับโคนมในโรงงานผลิตอาหารสัตว์
Other Abstract: The purpose of this study is to determine the effects of moisture content, temperature, relative humidity, and, condition and duration of storage on an increase of aflatoxin contamination in raw materials used as ingredients of dairy feed concentrate. One hundred and sixty one samples of raw materials and 24 samples of feed concentrate were collected from 3 feed manufactories. The samples were collected every two weeks for 8 times from October 2000 to February 2001 and from October 2001 to February 2002. Each time the raw materials were collected twice on the day of receiving and before mixing whereas the feed concentrate was collected immediately after processing. The collected raw materials were com, coconut meal, rice bran (fine and coarse), cassava, peanut meal, palm meal, soybean meal, greenpea meal, kapok meal, sunflower seed meal and brewers grain. All samples were extracted and determined for aflatoxin concentration using immunoaffinity column and fluorometer, respectively. A moisture content of raw materials was determined by using a traditional oven method. Temperature, relative humidity, feed formula, condition and duration of storage, and source of raw materials were recorded. The results found that type and source of raw materials, moisture content and duration of storage had effects on aflatoxin contamination. The amount of aflatoxin in coconut meal and com were significantly higher than in other raw materials (p<0.05). The moisture content of most materials increased during storage; the amount of increase was depend on the condition and duration of storage in each manufactory. Statistical analysis of our data, using Pearson’s correlation coefficients and PROC GLM for Unbalance data, indicated that an increase in moisture content had effects on an increase of aflatoxin concentration in fine rice bran , palm meal, soybean meal, sunflower seed meal, coconut meal and com. Also, an increase in duration of storage had significant effect on aflatoxin concentration in cassava and coconut meal (p<0.05). These results should be useful for preparing a basic program for controlling aflatoxin contamination in dairy feed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตวแพทยสาธารณสุข
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66348
ISBN: 9741707932
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawat_sa_front_p.pdf878.89 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_sa_ch1_p.pdf691.23 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_sa_ch2_p.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Piyawat_sa_ch3_p.pdf733.07 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_sa_ch4_p.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
Piyawat_sa_ch5_p.pdf914.64 kBAdobe PDFView/Open
Piyawat_sa_back_p.pdf799.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.