Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66350
Title: ผลของความแรงไอออนและสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่ว จากสารละลายด้วยไคโตแซน
Other Titles: Effects of ionic strength and chelating agent on lead asdorption from aqueous solution by chitosan
Authors: ปรีดา นันทพูลทรัพย์
Advisors: สุธา ขาวเธียร
เจิดศักดิ์ ไชยคุนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดตะกั่ว
ตะกั่ว
การดูดซับ
ไคติน
ไคโตแซน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของความแรงไอออนและสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซน โดยทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความสามารถในการดูดซับเมื่อมีการแปรค่า พีเอช ความเข้มข้นของสารละลายตะกั่ว ความเข้มข้นของสารละลายอีดีทีเอ และความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไนเตรท ผลการวิจัยพบว่าพีเอชมีผลต่อการดูดซับ โดยที่พีเอชเริ่มที่ 4 ไคโตแชนจะมีความสามารถในการดูดซับน้อยที่สุด เมื่อพีเอซเริ่มต้นในการทดลองสูงขึ้นความสามารถในการดูดซับตะกั่วของไคโตแซนก็จะเพิ่มมากขึ้นและความ สามารถในการดูดซับมากที่สุดที่พีเอชเริ่มต้นที่ 8 (ในการทดลองใช้พีเอชเริ่มต้นในช่วง 4 - 8 ) การเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายตะกั่วจะทำให้ความ สามารถในการดูดซับของไคโตแซน (Adsorption Capacity มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมของตะกั่วต่อกรัมของไคโตแซน) เพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการเติมอีดีทีเอซึ่งเป็นสารคีเลตลงไปในสารละลายตะกั่ว พบว่าการดูดซับที่พีเอชต่าง ๆ จะเปลี่ยนไป โดยที่ความสามารถในการดูดซับที่พีเอชตํ่ากว่า 5 จะมีค่าเพิ่ม มากขึ้น ส่วนความสามารถในการดูดซับที่พีเอชสูงกว่า 5 จะมีค่าลดลง เนื่องจากตะกั่วสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับอีดีทีเอทำให้รูปแบบของตะกั่วในนํ้าเปลี่ยนจากไอออนตะกั่วที่มีประจุเป็นบวก (Pb2+) เป็นสารประกอบเซิงซ้อนของตะกั่วกับอีดีทีเอที่มีประจุเป็นลบ (Pb(EDTA)2-) โดย ที่ตะกั่วทั้งสองรูปแบบมีกลไกในการดูดซับด้วยไคโตแซนต่างกัน การเติมโซเดียมไนเตรทลงไปในสารละลายตะกั่วเพื่อเพิ่มความแรงไอออนไม่มีผลต่อการดูดซับตะกั่วเป็นการยืนยันว่ากลไกการดูดซับตะกั่วด้วยไคโตแซนเป็นกลไกการดูดซับทางเคมี ในขณะที่การเติมโซเดียมไนเตรทลงไปในสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างตะกั่วกับอีดีทีเอจะทำให้ความสามารถในการดูดซับลดลงมากทำให้สามารถสรุปได้ว่ากลไกการดูดซับสารประกอบ เชิงซ้อนของตะกั่วเป็นกลไกทางกายภาพ
Other Abstract: The objectives of this research were to investigate the effects of ionic strength and chelating agent on lead adsorption from aqueous solution by chitosan. The comparisons of the effiencies and the adsorption capacities were done by varying lead concentration, ethylenediaminetetraacetic acid concentration (EDTA), sodium nitrate concentration and solution pH. The results shown that solution pH was the important parameter and for solution pH range 4-8 lead adsorption increased with increasing solution pH. The adsorption capacities increased when the initial concentration of lead increased. The presence of ethylenediaminetetraacitic acid (EDTA), a chelating agent, increased the adsorption of lead at low pH (pH < 5) but decreased the adsorption of lead at high pH (pH > 5). The reason was due to the lead-EDTA complex [ Pb(EDTA)2- ] which form in the presence of EDTA and the adsorption chemistry of lead-EDTA complex and lead were different. The presence of sodium nitrate has no significant effect on lead adsorption therefore lead adsorption by chitosan was chemical adsorption. The amount of anion lead species decreased by increasing sodium nitrate confirmed the interaction of anion lead species with chitosan was physical adsorption.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66350
ISBN: 9740311555
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preeda_na_front_p.pdf999.66 kBAdobe PDFView/Open
Preeda_na_ch1_p.pdf669.72 kBAdobe PDFView/Open
Preeda_na_ch2_p.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Preeda_na_ch3_P.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Preeda_na_ch4_p.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Preeda_na_ch5_p.pdf677 kBAdobe PDFView/Open
Preeda_na_back_p.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.