Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66359
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตและน้ำหนักโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิก ที่สร้างโดย Streptococcus zooepidemicus UN-7
Other Titles: Factors affect the production and molecular weight of hyaluronic acid synthesized by Streptococcus zooepidemicus UN-7
Authors: อณุมาศ บัวเขียว
Advisors: นลิน นิลอุบล
ไพเราะ ปิ่นพานิชการ
วาสนา โตเลี้ยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Naline.N@Chula.ac.th
Pairoh.P@Chula.ac.th
Vasana.T@Chula.ac.th
Subjects: กรดไฮยาลูโรนิค
แบคทีเรีย
สเตรปโตค็อกคัส
Hyaluronic acid
Bacteria
Streptococcus
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตและนํ้าหนักโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิกที่สร้าง โดย Streptococcus zooepidemiciis UN-7 โนระดับถังหมักขนาด 5 ลิตร ปัจจัยททำการศึกษา ได้แก่ ความเข้มข้นของซูโครสเริ่มต้น ในช่วง 10 ถึง 20 กรัมต่อลิตร อัตราการให้อากาศ ในช่วง 1.0 ถึง 1.5 vvm ความเร็วรอบในการกวน ในช่วง 300 ถึง 500 รอบต่อนาที การเติมไลโซไซน์ ซูโครส และการเติมไลโซไซน์ร่วมกับซูโครสลงในอาหารเลี้ยงเชื้อระหว่างการหมัก จากการศึกษา พบว่า ภาวะในการหมักที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกในระดับถังหมักขนาด 5 ลิตร คือ ความเข้มข้นของซูโครสเริ่มต้น 15 กรัมต่อลิตร อัตราการให้อากาศ 1.5 vvm และความเร็วรอบในการกวน 300 รอบต่อนาที จะได้ปริมาณกรดไฮยาลูโรนิกเท่ากับ 2,700 มิลลิกรัมต่อลิตร และปัจจัยที่น่าจะมีผลต่อน้ำหนักโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิก คือ อัตราการให้อากาศ โดยภาวะที่มีอัตราการให้อากาศสูงจะได้ค่านํ้าหนักโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิกที่สูงกว่าภาวะที่มีอัตราการให้อากาศตํ่า และการเติมไลโซไซน์ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อระหว่างการหมัก จะได้ค่าน้ำหนักโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิกสูงกว่าเมื่อเทียบกับการหมักในภาวะเดียวกันแต่ไม่มีการเติมไลโซไซน์ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ส่วนปัจจัยที่น่าจะไม่มีผลต่อน้ำหนักโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิก ได้แก่ ความเข้มข้นของซูโครสเริ่มต้น ความเร็วรอบในการกวน และการเติมซูโครสลงในอาหารเลี้ยงเชื้อระหว่างการหมัก
Other Abstract: Factors affecting the production and molecular weight of hyaluronic acid synthesized by Streptococcus zooepidemicus UN-7 cultivating in a 5L-fermentor were investigated. Those factors included initial sucrose concentrations of 10 - 20 g/1, aeration rates of 1.0 - 1.5 vvm, agitation speed of 300 - 500 rpm and additions of lysozyme, sucrose or lysozyme together with sucrose to the culture during fermentation. It was found that the optimal conditions for hyaluronic acid production in a 5L-fermentor were initial sucrose concentration of 15 g/1, aeration rate at 1.5 vvm and agitation speed at 300 rpm in which under these conditions 2,700 mg/1 of hyaluronic acid was produced. The factors having the effects on the molecular weight of hyaluronic acid were aeration rate and addition of lysozyme to the culture whereas the other tested factors showed no effect. Higher aeration rate or addition of lysozyme to the culture gave hyaluronic acid with higher molecular weight.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66359
ISBN: 9741707657
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anumart_bu_front_p.pdf982.42 kBAdobe PDFView/Open
Anumart_bu_ch1_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Anumart_bu_ch2_p.pdf729.58 kBAdobe PDFView/Open
Anumart_bu_ch3_p.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open
Anumart_bu_ch4_p.pdf754.85 kBAdobe PDFView/Open
Anumart_bu_back_p.pdf979.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.