Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66774
Title: | การประเมินความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบของข้อมูลภาพดาวเทียมรายละเอียดสูง QUICKBERD ที่ผ่านการปรับแก้เชิงเรขาคณิต โดยแบบจำลองนอนพาราเมตริก และเปรียบเทียบรายละเอียดข้อมูลกับแผนที่มาตราส่วน 1 : 4000 |
Other Titles: | Evaluation of horizontal accuracy of quickbird imagery with non-parametric rectification and detail comparison with map scale 1 : 4000 |
Authors: | ปรมัตถพร พูลศรี |
Advisors: | บรรเจิด พละการ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | ดาวเทียมในการวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ Artificial satellites in remote sensing Mathematical models |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการปรับแก้ข้อมูลภาพดาวเทียมรายละเอียดสูงพื่อขจัดความคลาดเคลื่อนและความเพี้ยนต่างๆ มีแนวทางที่ทำได้ 2 แนวทาง คือการปรับแก้ภาพโดยใช้แบบจำลองพาราเมตริกผู้ใช้จำเป็นต้องทราบค่าการวางตัวของ Sensor และคุณลักษณะของ Sensor ขณะทำการบันทึกข้อมูลซึ่งข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยแนวทางหนึ่งที่ทำได้คือการปรับแก้ภาพโดยใช้แบบจำลองนอนพาราเมตริกเป็นการปรับแก้โดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์อย่างง่ายเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระนาบภาพและระนาบวัตถุบนพื้นโลกโดยไม่คำนึงถึงการวางตัวของ Sensor งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบของภาพดาวเทียมรายละเอียดสูง QuickBird ผลิตภัณฑ์ชนิด Standard มีความถูกต้องเชิงตำแหน่ง 14 เมตร (RMSE) โหมด Pan-Sharpened มีรายละเอียดจุดภาพ 0.60 เมตรพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยแบบจำลองนอนพาราเมตริกด้วยสมการโพลิโนเมียลกำลัง 1, 2 และ 3 ร่วมกับการใช้จุดควบคุมภาพ (Ground Control Point) จากการรับสัญญาณดาวเทียม GPS และแผนที่กรุงเทพมหานครมาตรส่วน 1:4000 เปรียบเทียบกับแผนที่กรุงเทพมหานครมาตราส่วน 1:4000 รวมทั้งศึกษารายละเอียดข้อมูลภาพดาวเทียมเปรียบเทียบกับแผนที่กรุงเทพมหานครมาตราส่วน 1:4000 ผลการศึกษาพบว่าการปรับแก้ด้วยสมการโพลิโนเมียลกำลัง 2 โดยใช้จุดควบคุมภาพจำนวน 10 จุดกระจายทั่วทั้งภาพให้ความถูกต้องเชิงตำแนหน่งทางราบดีที่สุดกล่าวคือมีความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบในระดับ 1 เมตรและ 1.60 เมตรเมื่อใช้จุดควบคุมภาพจากการรับสัญญาณดาวเทียม GPS และแฟนที่กรุงเทพมหานครมาตราส่วน 1:4000 ตามลำดับและมีรายละเอียดข้อมูลภาพที่ชัดเจนและค่อนข้างครบถ้วนเมื่อเทียบกับรายละเอียดที่ปรากฎบนแผนที่มาตราส่วน 1:4000 จากความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบที่สูงและรายละเอียดของภาพที่ชัดเจนสรุปได้ว่าภาพดาวเทียมรายละเอียดสูง QuickBird มีความเหมาะสมในการปรับปรุงแผนที่มาตราส่วนใหญ่สำหรับพื้นที่เล็กๆ |
Other Abstract: | Generally, there are two approaches applied with high resolution images in order to correct errors and distortions. The first one is Parametric Model, which essentially requires sensor alignment parameters, and sensor property parameters. Unfortunately, these parameters are non-disclosure; therefore, it is quite difficult to acquire all those data. The other approach in Non-Parametric Model. This method focuses on applying simple mathematical equations to determine correlations between image planes and object plane on Earth disregarding with the sensor alignment. This research aims to assess the high resolution satellite image horizontal accuracy on standard product of “QuickBird”. This type of image contains positioning accuracy of 14 meters (RMSE) with image resolution of 0.60 meters. The study focuses on a specific area in Bangkok, applies non-parametric model with 1st, 2nd, 3rd order polynomial formations, accordance with ground control point (GCP) obtained from GPS survey. This also includes comparing satellite images with Bangkok Map 1:4000. The result illustrates that introducing the adjustment with 2nd order polynomial equations with 10 ground control points provides the best horizontal accuracy. The test obtains the degree of horizontal accuracy at 1 meter, and 1.60 meters under the condition that appropriate GCPs from GPS survey and Bangkok map scale 1:4000 are applied, and the texture and details in the image are clear and complete comparing with Bangkok map scale 1:4000. According to the outcome from the research which indicates high horizontal accuracy, we may conclude that high resolution satellite images like “QuickBird” contain appropriate potentials for large scale map revision in small specific areas. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสำรวจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66774 |
ISBN: | 9741422768 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paramattaporn_po_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 931.98 kB | Adobe PDF | View/Open |
Paramattaporn_po_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 980.86 kB | Adobe PDF | View/Open |
Paramattaporn_po_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 923.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Paramattaporn_po_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Paramattaporn_po_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Paramattaporn_po_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 699.87 kB | Adobe PDF | View/Open |
Paramattaporn_po_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 4.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.