Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66776
Title: ผลของไคโตซานที่มีต่อการแสดงออกของยีนในกล้วยไม้สกุลหวาย 'เอียสกุล'
Other Titles: Effects of chitosan on gene expression in Dendrobium 'EISKUL'
Authors: สุภาลัย ไชยสุต
Advisors: ศุภจิตรา ชัชวาลย์
พงศ์ธาริน โล่ห์ตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Supachitra.C@Chula.ac.th
Pongtharin.L@Chula.ac.th
Subjects: หวาย (กล้วยไม้)
การแสดงออกของยีน
ไคโตแซน
Dendrobium
Gene expression
Chitosan
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนในกล้วยไม้สกุลหวาย ‘เอียสกุล’ ที่ได้รับไคโตซาน และไม่ได้รับไคโตซาน ด้วยวิธี Differentia display ไคโตซานที่ใช้ในการศึกษาวิจัยอยู่ในรูปโอลิโกเมอร์ที่ได้จาการเตรียมด้วยวิธีทางเอนไซม์ ซึ่งมี degree of deacetylation เป็น 80% ที่ความเข้มข้น 10 ppm จากการศึกษาการสกัด total RNA ของกล้วยไม้สกุลหวาย ‘เอียสกุล’ การปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของ extraction buffer ของ Yu และ Goh (2000) โดยการใช้สาร polyvinylpolypyrrolidoneแทนการใช้สาร polyvinylpyrrolidone มีผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสกัด total RNA เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนในกล้วยไม้ชนิดนี้ การแยกรูปแบบการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกันในใบอ่อนของต้นที่ได้รับไคโตซาน และไม่ได้รับไคโตซาน โดยใช้ oligo dT₁₁NN ไพรเมอร์ จำนวน 8 ไพรเมอร์ ร่วมกับไพรเมอร์แบบสุ่ม จำนวน 9 ไพรเมอร์ พบว่ามี cDANที่แสดงความแตกต่างจำนวน 145 แถบ ซึ่งมีเพียง 19 ชิ้น cDAN ที่สามารถโคลน และวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ได้ จาก cDAN ดังกล่าวพบว่ามี cDAN จำนวน 11 ชิ้น ที่มีความคล้ายคลึงกับลำดับนิวคลีโอไทด์ และ/หรือลำดับกรดอะมิโน ที่พบในสิ่งมีชีวิตอื่น ในจำนวนนี้มี cDAN จำนวน 5 ชิ้น ที่มีความคล้ายคลึงกับจีโนมของพืชชนิดอื่น ส่วนเมื่อทำการแปลรหัส พบว่าสายโพลีเปปไทด์ที่แปลรหัสจาก cDAN ได้ จำนวน 4 สาย ที่มีความคล้ายคลึงกับสายโพลีเปปไทด์ของแบคทีเรีย และอีก 6 สายมีความคล้ายคลึงกับสายโพลีเปปไทด์ที่พบในพืช จากผลการเปรียบเทียบการแสดงออกของชิ้นส่วน cDAN หมายเลข De362 และDe7696 (ซึ่งเหมือนกับ De164) ในใบอ่อนที่ได้รับไคโตซาน และไม่ได้รับไคโตซาน โดยวิธี reverse transcription-polymerase chain reaction พบว่าชิ้นส่วน cDAN หมายเลข De362 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ cDAN ที่พบในเนื้อเยื่อเจริญของข้าวฟ่างและชิ้นส่วน cDAN หมายเลข De7696 ซึ่งมีลำดับนิวคลีโอไทด์คล้ายคลึงกับยีน Ycf2 ในคลอโรพลาสต์จีโนมมีการแสดงออกลดลงหลังจากได้รับไคโตซาน เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากข้อมูลข้างต้นทำให้ทราบว่าไคโตซานมีผลต่อการแสดงออกของยีนในคลอโรพลาสต์ ซึ่งเป็นรายงานชิ้นแรก ในขณะที่รายงานส่วนใหญ่พบผลของไคโตซานที่มีต่อยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารป้องกันตนเองของพืช
Other Abstract: Gene expression of chitosan-treated and untreated Dendrobium ‘EISKUL’ was compared by differential display method. The enzymatically prepared oligomer form of chitosan with 80% degree of deacetylation at 10 ppm was used in this research. The substitution of polyvinylpolypyrrolidoneto polyvinylpyrrolidone in RNA extraction buffer developed by Yu and Goh (2000) was found to increase the total RNA extraction efficiency of Dendrobium ‘EISKUL’. A combination of 8 oligo dT₁₁NN primers and 9 arbitrary primers was used to detect the different gene expression patterns in young leaves of the chitosan-treated and –untreated plants. The total of 145 different cDAN bands were detected. Nineteen putative cDANs which showed the different pattern were cloned and sequenced. Only eleven clones showed the significant homology to other organism’s nucleotide and/or putative amino acid sequences. Five of them showed the homology to genome of other plant species. Four of the putative polypeptides, derived from the cDAN sequences were similar to those of bacteria and six of them were similar to plant polypeptide sequences. De362 and De7696 (also similar to De164), the cDAN fragments similar to cDAN found in Sorghum meristem, and the conserved coding sequence of Ycf2 gene in chloroplast genome respectively, were detected for reduction of gene expression in young leaves after 24 hours of chitosan treatment, compared to the untreated control by reverse transcription-polymerase chain reaction. This was the first report on the effect of chitosan on chloroplast gene expression whereas almost all previous report showed the effect of chitosan on the induction of plant defensive genes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พันธุศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66776
ISBN: 9741765835
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Subhalai_ja_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ925.04 kBAdobe PDFView/Open
Subhalai_ja_ch1_p.pdfบทที่ 1689 kBAdobe PDFView/Open
Subhalai_ja_ch2_p.pdfบทที่ 21.05 MBAdobe PDFView/Open
Subhalai_ja_ch3_p.pdfบทที่ 31.18 MBAdobe PDFView/Open
Subhalai_ja_ch4_p.pdfบทที่ 41.38 MBAdobe PDFView/Open
Subhalai_ja_ch5_p.pdfบทที่ 51.35 MBAdobe PDFView/Open
Subhalai_ja_ch6_p.pdfบทที่ 6705.79 kBAdobe PDFView/Open
Subhalai_ja_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.