Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66911
Title: | ใบไม้ประดับและแบคทีเรียย่อยสลายฟีแนนทรีนบนผิวใบ |
Other Titles: | Ornamental plant leaves and phenanthrene-degrading bacteria on leave surface |
Authors: | นุชนาฎ ทองธรรมชาติ |
Advisors: | เอกวัล ลือพร้อมชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
Advisor's Email: | Ekawan.L@Chula.ac.th |
Subjects: | ฟีแนนทรีน โพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน Phenanthrene Polycyclic aromatic hydrocarbons |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ฟีแนนทรีนจัดอยู่ในกลุ่มของสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนหรือพีเอเอช (polycyclic aromatic hydrocarbons; PAHs) ที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ของกระบวนการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมและควันไอเสียของรถยนต์ เนื่องจาก PAHs บางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) และเป็นสารมลพิษทางอากาศ การกำจัดสารเหล่านี้หลังจากที่ตกลงบนใบไม้จะช่วยให้คุณภาพอากาศดีขึ้น งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษากิจกรรมและประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนบนผิวใบของไม้ประดับ 10 ชนิดได้แก่ เข็ม (Ixora spp.), แก้ว (Murraya paniculata), โมก (Wrigtia religiosa), เฟื่องฟ้า (Bougainvillea spp.), มะลิ (Jasminum sambac (L.) Ait.), โกสน (Codiaeum varicgatum), ไทรแคระ (Ficus sp.), ข่อย (streblus asper Lour.), เข็มม่วง (Pseuderanthemum graciliflorum (Nees) Ridl.) และชบา (Hibiscus rosa sinensis L.) ในพื้นที่บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลจากการศึกษาพบว่า บนผิวใบโมกมีจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนมากที่สุดโดยเฉลี่ย คือ 4.48 × 105 MPN ต่อกรัมใบไม้สด ลักษณะทางเคมีของใบที่ศึกษาได้แก่ ปริมาณแวกซ์ ปริมาณความชื้น ปริมาณไนโตรเจน ปริมาณฟอสฟอรัส และ PAHs 14 ชนิด พบว่าใบไม้ประดับที่มีจำนวนจุลินทรีย์บนผิวใบที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนมากกว่า 103 MPN ต่อกรัมใบไม้สด พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแวกซ์กับจำนวนจุลินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนใบไม้ประดับที่มีจำนวนจุลินทรีย์บนผิวใบที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 103 MPNต่อกรัมใบไม้สด พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความชื้นกับจำนวนจุลินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญ ลักษณะทางกายภาพที่ทำการศึกษา ได้แก่ พื้นที่ใบและจำนวนขนบนผิวใบ ไม่พบความสัมพันธ์กับจำนวนจุลินทรีย์บนผิวใบที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนอย่างมีนัยสำคัญ ต่อมาได้ทำการศึกษาการย่อยสลาย ฟีแนนทรีนบนใบของใบโมก เข็ม และชบา ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มไม้ประดับที่มีจำนวนจุลินทรีย์บนผิวใบที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนสูง กลาง และต่ำ ที่ความเข้มข้นของฟีแนนทรีนเริ่มต้นเป็น 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในเวลา 7 วัน พบว่าไม้ประดับทั้ง 3 ชนิด มีปริมาณฟีแนนทรีนที่เหลือ (%) บนใบของชุดทดลองน้อยกว่าชุดควบคุม และจากการศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์บนผิวใบที่มีฟีแนนทรีนเข้มข้นเริ่มต้นต่างๆ พบว่าจุลินทรีย์บนผิวใบโมกและเข็มมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟีแนนทรีนบนใบสูงสุดที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และจุลินทรีย์บนผิวใบชบามีประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟีแนนทรีนบนใบได้น้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องมาจากบนผิวใบชบามีจำนวนจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนน้อยที่สุด จึงสรุปได้ว่าจำนวนจุลินทรีย์บนผิวใบที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนมีผลต่อประสิทธิในการย่อยสลายฟีแนนทรีนที่สะสมอยู่บนผิวใบ ดังนั้นเกณฑ์ในการเลือกชนิดไม้ประดับที่จะนำไปใช้ปลูกเพื่อลดมลพิษทางอากาศ ควรเลือกต้นไม้ที่ใบมีปริมาณแวกซ์มาก ซึ่งพืชเหล่านี้จะมีจำนวนจุลินทรีย์บนผิวใบที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนมาก ช่วยส่งเสริมให้เกิดการย่อยสลายสารฟีแนนทรีนดีตามไปด้วย |
Other Abstract: | Phenanthrene is a kind of polycyclic aromatic hydrocarbons or PAHs, which are produced from the incomplete combustion during various processes in industries and from the exhaustion of automobiles. Since, some of PAHs are carcinogen and classified as air pollutants. The removal of these compounds after deposition on plant leaves will improve air quality. This research therefore studied the activities and efficiencies of phenanthrene-degrading microorganisms on leaf surface of 10 ornamental plants, including Ixora spp., Murraya paniculata, Wrigtia religiosa, Bougainvillea spp., Jasminum sambac (L.) Ait., Codiaeum varicgatum, Ficus sp., Streblus asper Lour., Pseuderanthemum graciliflorum (Nees) Ridl. and Hibiscus rosa sinensis L. in Chulalongkorn university. The result shows that Wrigtia religiosa had the highest number of phenanthrene-degrading microorganisms, 4.48 × 105 MPN gram of fresh leaf. Leaf chemical properties including the amount of wax, moisture content, nitrogen, phosphorus and 14 PAHs were studied. It was found that ornamental plants, which had the amount of phenanthrene-degrading microorganisms on leaf surface more than to 103 MPN/gram of fresh leaf, showed significant relationship between the amounts of wax and microorganisms. On the other hand, ornamental plants, which had the amount of phenanthrene-degrading microorganisms on leaf surface less than or equal 103 MPN/gram of fresh leaf, showed significant relationship between the moisture content and microbial number. Leaf physical properties including leaf area and the amount of trichome on leaf surface were studied. There was no significant relationship between physical properties and the quantity of phenanthrene-degrading microorganisms. Later, the study of phenanthrene degradation was carried out on leaves of Wrigtia religiosa, Ixora spp., and Hibiscus rosa sinensis L. These species are the representatives of plants with the maximum, medium, and least amount of phenanthrene-degrading microorganisms. The initial concentration of phenanthrene was 100 mg/kg leaves. Within 7 days, the remaining phenanthrene (%) was lower in treated leaves than control leaves of all 3 ornamental plant species. Additional study on the efficiency of phyllospere microorganisms was conducted with various initial phenanthrene concentrations. The results showed that microorganisms on Wrigtia religiosa and Ixora spp. had highest phenanthrene-degrading efficiency at the phenanthrene concentration equal to 50 mg/kg. Moreover, microorganisms on Hibiscus rosa sinensis L. has the lowest efficiency in phenanthrene degradation. It can be concluded that the number of phenanthrene-degrading microorganisms were corresponded to the degradation of leaf deposited phenanthrene. To select the types of ornamental plants for growing and thereby lowering the amounts of air pollutants, we should select the plants with high amount of leaf wax. These plants will have high amount of phenanthrene-degrading microorganisms and consequently promote the degradation of phenanthrene. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66911 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.107 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.107 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nudchanard_th_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 950.33 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nudchanard_th_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 772.15 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nudchanard_th_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nudchanard_th_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nudchanard_th_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nudchanard_th_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 776.29 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nudchanard_th_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.