Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66949
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรัตน์ บัวเลิศ-
dc.contributor.authorรวีรัตน์ ส่งสัมพันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-07-10T03:54:04Z-
dc.date.available2020-07-10T03:54:04Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741429215-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66949-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างความเข้มข้นฝุ่นละอองภายในและภายนอกอาคาร ความเร็วลม ทิศทางลม และอัตราการระบายอากาศ และรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการคาดการณ์ความเข้มข้นฝุ่นละอองภายในอาคาร จากผลการวิจัยทำให้ทราบว่า ความเร็วลม ทิศทางลม จำนวนและทิศทางของการเปิดหน้าต่างและการมีมุ้งลวดที่หน้าต่าง มีผลต่ออัตราการระบายอากาศ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ได้สมการทำนายค่าอัตราการระบายอากาศ โดยการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยสมการการถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เมื่อทดสอบค่าอัตราการระบายอากาศจากการตรวจวัดกับค่าที่ได้จากสมการทำนาย ด้วยการวิเคราะห์ Factor of Two พบว่า สมการสามารถทำนายค่าอัตราการระบายอากาศซึ่งมีค่าอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ เท่ากับ 62.30% โดยสามารถจะทำนายได้ดีในกรณีที่มีการเปิดหน้าต่างด้านเดียวหรือด้านที่ตั้งฉากกันของผนัง(เฉียงกัน) เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นละอองภายในและภายนอกอาคาร (Indoor/Outdoor : I/O) พบว่า ฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร และขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร มีสัดส่วนฝุ่นละอองภายในต่อภายนอกอาคาร เท่ากับ 3.32, 2.26 และ 1.35 ตามลำดับ จากหลักการของ box model และสมการทำนายอัตราการระบายอากาศ ทำให้ได้สมการทำนายฝุ่นละอองภายในอาคารโดยสมการนี้ใช้สำหรับทำนายความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตรจากแหล่งกำเนิดภายนอกอาคาร ซึ่งจะทำนายได้ดีที่สุด เมื่อใช้ข้อมูลฝุ่นละอองจากภายในอาคารที่เวลาเริ่มต้นและอัตราการระบายอากาศจากการตรวจวัด โดยมีค่าอยู่ในช่วงยอมรับได้ ของการวิเคราะห์ด้วย Factor of Two เท่ากับ 94.83% และประสิทธิภาพการทำนายจะลดลงเมื่อมีการใช้ค่าต่างๆ จากสมการทำนาย คือ เมื่อใช้ข้อมูลฝุ่นละอองภายในอาคารที่เวลาเริ่มต้นจากการตรวจวัดและข้อมูลอัตราการระบายอากาศที่ได้จากสมการทำนายอัตราการระบายอากาศจะมีค่าการยอมรับ เท่ากับ 91.38% เมื่อใช้ข้อมูลฝุ่นละอองภายในอาคารที่เวลาเริ่มต้นจากค่าสัดส่วนฝุ่นละอองภายในต่อภายนอกอาคาร และข้อมูลอัตราการระบายอากาศที่ได้จากการตรวจวัด จะมีค่าการยอมรับ เท่ากับ 31.04% และเมื่อใช้ข้อมูลฝุ่นละอองภายในอาคารที่เวลาเริ่มต้นจากค่าสัดส่วนฝุ่นละอองภายในต่อภายนอกอาคาร และข้อมูลอัตราการระบายอากาศที่ได้สมการทำนายอัตราการระบายอากาศ จะมีค่าการยอมรับ เท่ากับ 31.04%เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำนายได้มากขึ้นควรมีการศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การซึมออกของอนุภาคจากภายในสู่ภายนอกอาคาร และศึกษาสัดส่วนฝุ่นละอองภายในต่อภายนอกอาคารเพิ่มเติม-
dc.description.abstractalternativeIn this study, wind speed, wind direction, air exchange rate (AER) and indoor and outdoor concentrations were measured and published literatures were included to developed indoor particulate matter prediction model. The result found that wind speed, wind direction, number of windows, window direction and screen on window effected on AER. From these factor,prediction ventilation equation was developed by multiple regression analysis. The result from Factor of Two analysis showed that the equation can predict AER at 62.30% and was well used when open window one side of wall or two side but not opposite side. Indoor-Outdoor ratio (I/O) of TSP PM10 and PM2.5 were 3.32, 2.26 and 1.35 respectively. PM10 concentration model was developed from box model and prediction ventilation equation. This model predicted well when using measurement PM10 and AER (94.83%). The model performed less well when using measurement PM10 and prediction AER (91.38%), prediction PM10 (I/O) and measurement AER (31.04%) and prediction PM and AER (31.04%). The result suggest that the particle penetration from indoor to outdoor and I/O in many place should be studied to increase the efficiency of model.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแบบจำลองทางคณิตศาสตร์en_US
dc.subjectฝุ่นen_US
dc.subjectฝุ่น -- การวัดen_US
dc.subjectMathematical modelsen_US
dc.subjectDusten_US
dc.subjectDust -- Measurementen_US
dc.titleการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการคาดการณ์ความเข้มข้นฝุ่นละอองภายในอาคารen_US
dc.title.alternativeDevelopment of mathematic model for indoor particulate matter predictionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSurat.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Raweerat_so_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ936.99 kBAdobe PDFView/Open
Raweerat_so_ch1_p.pdfบทที่ 1692.46 kBAdobe PDFView/Open
Raweerat_so_ch2_p.pdfบทที่ 21.4 MBAdobe PDFView/Open
Raweerat_so_ch3_p.pdfบทที่ 31.17 MBAdobe PDFView/Open
Raweerat_so_ch4_p.pdfบทที่ 42.21 MBAdobe PDFView/Open
Raweerat_so_ch5_p.pdfบทที่ 5782.85 kBAdobe PDFView/Open
Raweerat_so_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.