Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67057
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรเวศม์ สุวรรณระดา-
dc.contributor.authorพีรณัฐ ตันดิจัตตานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-07-15T02:53:38Z-
dc.date.available2020-07-15T02:53:38Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67057-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงมาตรการการลงโทษผู้ขับขี่ยานพาหนะที่มีพฤติกรรม "ดื่มแล้วขับ" ที่จะทำให้ความสูญเสียของทั้งสังคมน้อยที่สุด สำหรับมาตรการการลงโทษที่พิจารณาในที่นี้ ได้แก่ การตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ และการกำหนดค่าปรับกับผู้ขับขี่ การศึกษานี้ใช้กรอบการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ โดยทำการสมมติพฤติกรรมของผู้ขับรถที่ดื่มแอลกอฮอล์ ตำรวจ และรัฐบาล ทั้งนี้ได้ใช้การรวบรวมข้อมูลและพารามิเตอร์จากแหล่งต่างๆ และนำมาสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการลดความสูญเสียจากพฤติกรรมดื่มแล้วขับดังกล่าว ผลการศึกษาในเชิงทฤษฎี พบว่า (1) ผู้ขับขี่ยานพาหนะที่ดื่มแอลกอฮอล์จะพิจารณาต้นทุนของการดื่ม ซึ่งต้นทุนของการดื่มส่วนหนึ่งจะถูกกำหนดโดยความน่าจะเป็นที่จะถูกตำรวจจับ และการเสียค่าปรับ (2) การตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์จะสามารถลดความสูญเสียได้มากกว่าการกำหนดค่าปรับ แต่การตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์จะมีต้นทุนสูงกว่า (3) ในปัจจุบันตำรวจตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยจากการศึกษาเชิงทฤษฎีตำรวจควรจะตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเขตกรุงเทพมหานคร 11 ด่านต่ออาทิตย์ (4) การกำหนดค่าปรับในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำ จากการศึกษาเชิงทฤษฎีระดับค่าปรับที่เหมาะสม คือ 22,500 บาท (5) หากรัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนกับตำรวจ ตำรวจจะสามารถตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ได้มากขึ้น และการให้งบประมาณสนับสนุนโดยให้เป็นส่วนแบ่งของค่าปรับ รัฐบาลจะใช้งบประมาณน้อยกว่าการให้งบประมาณสนับสนุนแบบอื่น สำหรับผลการศึกษาในเชิงประจักษ์ ได้ทำแบบสอบถามกับผู้ที่มีพฤติกรรมดื่มแล้วขับและถูกจับคุมประพฤติ เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ว่ามาตรการการลงโทษจะมีผลในการลดพฤติกรรมดื่มแล้วขับหรือไม่ และวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางเศรษฐมิติพบว่า การตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น และการกำหนดค่าปรับเพิ่มขึ้นจะสามารถลดพฤติกรรมการดื่มแล้วขับได้อย่างมีนัยสำคัญen_US
dc.description.abstractalternativeThis dissertation aims to study, by means of economic framework, the optimal numbers of surveillance points and the rate of fines on drunk drivers of which could decrease social loss from "drunk driving" behavior. We consider the model, which assumes that drunk drivers response to the setting of surveillance points and the level of fine rate. The police finance the expenses for setting the surveillance points from the fines and/or subsidy from the government. We collected data and parameters from various sources to investigate and provide implications for policy makers to reduce the accidents throughout our simulation analysis. ¬Our findings show that; Firstly, drunk driver decision to consume alcohol is based on the cost of drinking which is comprised of probability charged and fines. Secondly, the surveillance points reduce the accidental losses more than fines do but the cost of the surveillance points is higher. Thirdly, nowadays the number of surveillance points and fine rate are too low actually so that surveillance points in Bangkok could be 11 points per week as well as the optimal fine rate is Baht 22,500. Finally, police can set more surveillance points from government subsidy. By increasing fine rate allocation to police government spend the lowest expenditure, compare with lump-sum subsidy and proportion in police expenditure In addition we make questionnaire with the drivers who were arrested in "drunk driving" behavior to confirm the fact that the increase of surveillance points and fine rate could reduce drunk driving behavior statistically.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2138-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการดื่มสุรากับอุบัติเหตุทางถนนen_US
dc.subjectการลงโทษen_US
dc.subjectDrinking and traffic accidentsen_US
dc.subjectPunishmenten_US
dc.titleพฤติกรรม "ดื่มแล้วขับ" กับมาตรการการลงโทษที่เหมาะสมen_US
dc.title.alternative"Drunk Driving" behavior and the optimal punishmenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWorawet.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2138-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peeranat_ta_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.03 MBAdobe PDFView/Open
Peeranat_ta_ch1_p.pdfบทที่ 11.1 MBAdobe PDFView/Open
Peeranat_ta_ch2_p.pdfบทที่ 21.19 MBAdobe PDFView/Open
Peeranat_ta_ch3_p.pdfบทที่ 31.52 MBAdobe PDFView/Open
Peeranat_ta_ch4_p.pdfบทที่ 41.64 MBAdobe PDFView/Open
Peeranat_ta_ch5_p.pdfบทที่ 51.72 MBAdobe PDFView/Open
Peeranat_ta_ch6_p.pdfบทที่ 6681.58 kBAdobe PDFView/Open
Peeranat_ta_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.