Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6708
Title: Mutations and haplotype analysis of the G6PD locus in the Southeast Asia population
Other Titles: การวิเคราะห์การกลายพันธุ์และแฮปโปลทัยป์ของยีนสร้างกลูโคส - 6 -ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนสในประชากรเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
Authors: Chalisa Louicharoen
Advisors: Issarang Nuchprayoon
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Advisor's Email: Issarang.N@Chula.ac.th
Subjects: Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency -- Asia, Southeastern
Issue Date: 2003
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PD) deficiency is the common hereditary enzymopathy in Southeast Asian caused by mutation of G6PD. G6PD Viangchan (871G vector A) is the most common mutation in Southeast Asian. We studied G6PD mutations and polymorphisms in Southeast Asian to clarify the genetic relationship between them. Cord blood samples from 172 normal neonates and 195 jaundiced newborns at Buriram Hospital, 303 jaundiced newborns at King Chulalongkorn Memorial Hospital and peripheral blood samples from 195 migrant Cambodian,Laotian, and Myanmars laborers at Chunthaburi and 78 migrant Myanmars laborers admitted to the Samutsakhon Hospital were assayed for G6PD activity. The prevalence of G6PD deficiency was high in Cambodians (17 of 92 males; 18.5%), Thais (3 of 14 males) and Laotians (12 of 69 males; 17.4%) but was less in Myanmars (7 of 72 males; 9.7%). Among the jaundiced newborns, the prevalence of G6PD deficiency was very high in Cambodians (14 of 56 males; 25.0%), Thai (30 of 188 males; 16.0%) and Laotian (8 of 39 males; 20.5%). PCR-RFLP method was used to identify G6PD mutations in G6PD deficient samples and do haplotype analysis of the G6PD locus. G6PD Viangchan (871G>A) was the most common mutation among Cambodian (28 of 34; 82.4%), Thai (21 of 44; 47.7%) and Laotian (12 of 26; 46.2%) but not Myanmars (0 of 8) G6PD deficiency. G6PD Mahidol was the prevalent mutation in Myanmars (5 of 8; 62.5%), Thai (2 of 44; 4.5%) but not found in Cambodian or Laotian. The haplotype of G6PD Viangchan had 2 forms consisted of -,-,+,+,+,+ (Pvu II: 611C vector G, Sca I: 175C vector T, BspH I: 163C vector T, Pst I: 1116G vector A, Bcl I: 1311C vector T, Nla III: 93T vector C) (46 of 49; 93.9%), which similar to 21.3% (N = 202) (p < 0.0001) of G6PD normal and another form is -,-,+,+,+,-(3 of 49; 6.1%). G6PD Viangchan associates with 1311T and 93C significantly. While haplotype of other G6PD mutations and 69.8% of normal was -,-,+,+,-,-. G6PD Viangchan is themost common G6PD deficient mutation among Cambodian, Thai and Laotian with allele frequency of 0.10, 0.06 and 0.06 respectively. The 1311T allele is the ancestral polymorphism of G6PD Viangchan.
Other Abstract: ภาวะพร่องเอ็นซัยม์กลูโคส -6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส (G6PD) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของเอ็นซัยม์ G6PD ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในประชากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของยีน G6PD จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า G6PD เวียงจันทน์ (871G vector A) เป็นการกลายพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดในประชากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการทดลองนี้เราได้ศึกษาการกลายพันธุ์และ polymorphism ของประชากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อหาความสัมพันธ์ด้านพันธุกรรมของประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการคัดกรองผู้ที่มีภาวะพร่อง G6PD จากตัวอย่างเลือดที่เก็บจากเด็กแรกเกิดและเด็กที่ตัวเหลืองจากโรงพยาบาลบุรีรัมย์จำนวน 172 และ 195 รายตามลำดับ, เด็กที่ตัวเหลืองจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 303 ราย นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างเลือดจากแรงงานอพยพที่จังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 195 รายและ 78 รายจากผู้ป่วยแรงงานพม่าที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร หลังจากนั้นศึกษาการกลายพันธุ์และ polymorphisms ของยีน G6PD ในผู้ที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD ด้วยวิธี PCR-RFLP ผลการทดลองพบว่าความชุกของผู้ที่มีภาวะพร่องเอ็นซัยม์ G6PD ในชาวเขมร, ไทย และลาวคือ 18.5, 21.4 และ 17.4% ตามลำดับ ซึ่งจัดว่าสูงกว่าในชาวพม่าที่มีความชุกของผู้ที่มีภาวะพร่องเอ็นซัยม์ G6PD เพียง 9.7% ส่วนความชุกของผู้ที่มีภาวะพร่องเอ็นซัยม์ G6PD ในเด็กที่ตัวเหลืองชาวเขมร, ไทย และลาวคือ 25.0, 16.0 และ 20.5% ตามลำดับ และเมื่อศึกษาการกลายพันธุ์ของยีน G6PD พบว่าชาวเขมร, ไทย และลาว มีการกลายพันธุ์แบบ G6PD เวียงจันทน์มากที่สุดคือ 82.4, 47.7 และ 46.2% ตามลำดับ แต่การกลายพันธุ์ดังกล่าวไม่พบเลยในชาวพม่า แต่จะพบการกลายพันธุ์แบบ G6PD มหิดลเป็นส่วนใหญ่ในชาวพม่า (62.5% ของชาวพม่าที่มีภาวะพร่องเอ็นซัยม์ G6PD ทั้งหมด) และพบเล็กน้อยในชาวไทย (4.5% ของชาวไทยมีภาวะพร่องเอ็นซัยม์ G6PD ทั้งหมด) แต่ไม่พบเลยในชาวเขมรและชาวลาว จากการศึกษา polymorphisms ของ G6PD เวียงจันทน์พบรูปแบบ haplotype 2 รูปแบบคือ -,-,+,+,+,+ (Pvu II: 611C vector G, scaI: 175C vector T, BspH I: 163C vector T, Pst I: 1116G vector A, Bcl I: 1311C vector T, Nla III: 93T vector C) (46 จาก 49 รายว 93.9%) ซึ่งพบได้ในคนปกติ (43 จาก 202 ราย; 21.3%)(p<0.0001) และ haplotype อีกรูปแบบหนึ่งคือ -,-,+,+,+,- (3 จาก 49 ราย; 6.1%) และเมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งกลายพันธุ์และ polymorphism พบว่า G6PD เวียงจันทน์มีความสัมพันธ์กับ 1311T และ 93C อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่การกลายพันธุ์แบบอื่นๆ จะมีรูปแบบ haplotype เพียงแบบเดียวคือ -,-,+,+,-,- ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่ของคนปกติ (141 จาก 202; 69.8%) G6PD เวียงจันทน์เป็นการกลายพันธุ์ที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะพร่องเอ็นซัยม์ G6PD ที่เป็นชาวเขมร, ไทย และลาว โดยมีความถี่ของ allele คือ 0.10, 0.06 และ 0.06 ตามลำดับ และพบว่าตำแหน่ง 1311T เป็น polymorphism บรรพบุรุษของ G6PD เวียงจันทน์
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2003
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6708
ISBN: 9741741162
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalisa.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.