Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67273
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานพ พงศทัต-
dc.contributor.authorพิชัย สันติวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-07-29T04:06:02Z-
dc.date.available2020-07-29T04:06:02Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743322825-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67273-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคาปานกลาง ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยศึกษาลักษณะสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อผู้ซื้อ จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยแตกต่างจากภาวะปกติหรือไม่และศึกษาปัจจัยการตัดสินใจและพฤติกรรมในการเลือกตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคาปานกลางในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเปรียบเทียบกับสภาวะปกติ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ซื้อบ้านในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเป็นกลุ่มที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง เป็นกลุ่มผู้ซื้อบ้านหลังแรกเพื่ออยู่อาศัยเองโดยเป็นความจำเป็นทางลบ จากความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่เป็นของตนเองและการแต่งงานแยกครอบครัว โดยเลือกซื้อทาวน์เฮาส์ระดับราคา 1.2-1.4 ล้านบาทมากที่สุดส่วนบ้านเดี่ยวเป็นระดับราคา 2.5-3.0 ล้านบาทมากที่สุด จากปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยลดลงอย่างมาก โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง การลดสัดส่วนเงินดาวน์ของผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มกำลังซื้อกลับทำให้ค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระที่อยู่อาศัยต่อเดือนเพิ่มสูงขึ้นจากปกติที่ร้อยละ 30-35ต่อเดือนเป็นร้อยละ 56.9 ผู้ซื้อจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ลงอย่างมากผู้ซื้อส่วนใหญ่ยังไม่มีการวางแผนการเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยแม้ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม การวางแผนการเงินเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยนำเอาเงินออมที่เก็บไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินมาซื้อที่อยู่อาศัย โดยแหล่งเงินที่ใช้ผ่อนชำระเงินกู้รายเดือนจำเป็นต้องพึ่งรายได้หลักรายเดือนของหัวหน้าครอบครัวเป็นหลัก เมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจกับประเทศ ทำให้มีปัญหาในการผ่อนชำระในสัดส่วนที่สูง แม้ในกลุ่มที่มีการออมเงินเป็นประจำก็ตาม กระบวนการตัดสินใจซื้อนั้นผู้ซื้อจะเลือกปรึกษาคู่สมรสเป็นอันดับแรก เพราะเป็นผู้สนับสนุนการเงินและต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยรู้จักโครงการจากการมีผู้แนะนำและไปสำรวจพบเองตามลำดับ มีการเปรียบเทียบโครงการกับที่อื่นมากกว่า 5 โครงการโดยเข้าชมโครงการ 2 ครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ และใช้เวลาในการตัดสินใจประมาณ 1 เดือนโดยผู้ตัดสินใจซื้อสำคัญเป็นผู้ชาย เมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะปกติพบว่าปัจจัยการตัดสินใจซื้อนั้นแตกต่างกันจากสภาวะปกติ จากงานวิจัยที่ผ่านมานั้นจะให้ความสำคัญพิจารณาด้านทำเลที่ตั้ง รูปแบบบ้านและการก่อสร้าง ราคาและเงื่อนไขการชำระเงิน ความสามารถในการจ่าย แต่จากการศึกษาพบว่าปัจจัยในการตัดสินใจซื้อที่สำคัญอันดับแรกได้แก่ความต้องการออมเงินในรูปของอสังหาริมทรัพย์ รองลงมาเป็นราคาและเงื่อนไขการจ่ายเงิน และที่ตั้งโครงการรวมทั้งตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นอันดับสาม-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the research is to study the middle income homebuyers’ decision making process during the Recession through the examination of the socio-economic status, to study whether the effects of the Recession on the homebuyers will affect the buying decision, compared to that in normal situation, and to study the factors in decision making process and behavior in the choice of middle income home buying during the Recession compared to in a normal situation. The findings show that the group of homebuyers during the Recession are those who have a real need for housing and they buy their home for the first time because of social necessity; that is a need after marriage to have their own housing accommodation for their family. They choose to buy those townhouses whose value ranges from 122 to 1.4 million Baht the most. In case of separate houses, they choose those ranging from 2.5 to 3.0 million Baht the most. As a result of the economic crisis, the purchasing power for housing has been greatly reduced with the high rate of interest. The real estate agent’s discount for down payment to increase the purchasing power has increased the monthly installments expenses from 30-35% per month to 56.9 %. It is necessary for the buyers to reduce expenses greatly in other areas of consumption. The majority of the buyers have not had a financial plan to buy accommodation even during the Recession. A financial plan is an immediate solution for the problem by using the savings for emergency to buy housing. The source used for monthly installments lies on the head of the family’s breadwinner. This has led to an economic problem for the country causing problems in the high ratio of monthly installments even within the group with constant savings. The buyer’s decision-making process to buy starts with consultation with the spouse first, because of being a financial supporter and having to live together, on the project recommended and a visit to the project site afterwards. A comparison is made among at least five other projects and two visits to the project site are made before making the decision to buy and a period of one month is used for thinking it over with the male as the one who makes decision in the end. Compared to a normal situation, it is found that the factors affecting the decision-making to buy are different from those in normal situation. From past research, importance has been given to the location, the style of the house and the construction, the price and the conditions for payment, and ability to pay. However, the study has shown that the first factor affecting the decision making to buy is a need for saving in the form of immovable properties, the once and the conditions for payment as the second, the location and good environment as the third.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการตัดสินใจ-
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- การจัดซื้อ-
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค-
dc.subjectการซื้อบ้าน-
dc.titleปัจจัยการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคาปานกลางในสภาวะเศรษฐิกิจตกต่ำ (กรณีศึกษา : ผู้กู้สินเชื่อกับธนาคารอาคารสงเคราะห์)-
dc.title.alternativeThe decision making factors of purchasing medium-priced housing during the recession a case study of those with housing loans from the Government Housing Bank-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเคหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichai_su_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.33 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_su_ch1_p.pdfบทที่ 1793.27 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_su_ch2_p.pdfบทที่ 21.58 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.41 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_su_ch4_p.pdfบทที่ 4781.06 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_su_ch5_p.pdfบทที่ 55.38 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_su_ch6_p.pdfบทที่ 61.27 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_su_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.