Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67466
Title: การสำรวจความชุก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของโรคหอบหืด ในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้น ของโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง ร.พ.นพรัตนราชธานี
Other Titles: Prevalence and factors related to severity of asthma in early mathayom students of the schools nearby Nopparat Rajathanee Hospital
Authors: ผุสดี ธรรมานวัตร์, 2497-
Advisors: ทัสสนี นุชประยูร
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Somrat.L@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
หืดในเด็ก
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Nopparat Rajathanee Hospital
Asthma in children
Junior high school students
Issue Date: 2548
Abstract: ความเป็นมา : โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีเป็นโรงพยาบาลรัฐที่ให้การรักษาโรคทางตติยภูมิ รวมถึงโรคหอบหืดซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมากในทุกกลุ่มอายุ ผู้วิจัยในฐานะกุมารแพทย์และแพทย์หน่วยภูมิแพ้ มีความสนใจที่จะทำโครงการเพื่อหาความชุกระดับความรุนแรงของโรคหอบหืด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระคับความรุนแรงของโรคในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้นของโรงเรียนในเขตมีนบุรี คันนายาวและบางกะปี ในช่วงปี 2547-2548 วิธีการ : โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน ISAAC ซึ่งเป็นแบบสอบถามประกอบวีดีโอ ในการค้นหาผู้ที่เป็นโรคหอบหืดจากเด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างคือเด็กนักเรียนมัธยม 1-3 ที่สุ่มโดยวิธี stratified และ simple random sampling จากโรงเรียน 15 แห่งที่อยู่ในพื้นที่ใกล้โรงพยาบาล ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2684 คนจาก7 โรงเรียน ผลการศึกษาพบว่ามีแด็กเป็นโรคหอบ 713 คนคิดเป็นความชุกของโรคได้ ร้อยละ 26.6 (95%C1 :24.9%,28.3%), ความชุกของเด็กที่มีอาการหอบหืดใน 1 ปีที่ผ่ามา ร้อยละ 20.9 ความชุกของการหอบกลางคืนร้อยละ 20.4 และความชุกของการหอบจากการออกกำลังกายร้อยละ 8.1 หลังจากนั้นทำการสุ่มเลือกตัวอย่างจากกลุ่มที่คัดได้มา 283 คนเพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของโรคหอบหืด และใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของโรค ปัจจัย การปฏิบัติของตัวเด็กละผู้ปกครองที่เกี่วข้องกับระดับความรุนแรงของโรค จากการศึกษาพบว่าระดับความรุนแรงแยกเป็นกลุ่มอาการน้อยเป็นครั้งคราวร้อยละ 61.1 .กลุ่มอาการน้อยเป็นเรื้อรัง ร้อยละ 27.2 และกลุ่มอาการปานกลางเป็นเรื้อรัง ร้อยละ11.7 กลุ่มอาการรุนแรงไม่พบ ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการจับหืดค่อนข้างมากโดยรวม ได้แก่ การออกกำลังกาย ไข้หวัด การเปลี่ยนอากาศ ฤดู มลพิษในอากาศ ฝุ่นละออง โดยการเป็นไข้หวัดมีผลกระตุ้นให้เกิดการจับหืดสูงสุด (ร้อยละ 88) การเปลี่ยนอากาศและฤดูมีผลทำให้เกิดอัตราการจับหืดสูงสุดในกลุ่มรุนแรงปานกลางเรื้อรังและน้อยสุดในกลุ่มอาการน้อยเป็นครั้งคราว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<05) ส่วนด้านการปฏิบัติที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<05) ได้แก่ การรับรู้ว่าเด็กเป็นหอบหืด การพาเด็กไปรักษาภูมิแพ้ การใช้ยาป้องกันหอบ พฤติกรรมการกินยา และใช้ยาขยายหลอดลมของเด็กเอง การใช้ยาขยายหลอดลมเวลามีอาการ โดยรวมผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความต่อเนื่องในการรักษาในทั้งสามกลุ่ม สรุป : ผู้ปกครองควรเพิ่มความระวังการเกิดการจับหืดในเด็กที่เป็นหอบหืดโดยเฉพาะกลุ่มอาการรุนแรงปานกลางเรื้อรังในขณะที่อากาศเปลี่ยน และเปลี่ยนฤดู และให้ความสำคัญกับการติดตามรักษาและการป้องกันเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคหอบหืดในเด็ก
Other Abstract: Back ground: Nopparat Rajathanee Hospital is a government hospital that provides treatments for many complicated and chronic disease including asthmatic patients of all age groups. As a pediatrician and allergist, we are interested in studying the prevalence and severity of asthma and its related factors in early mathayom students whose schools are in Minburi, Kunnayao and Bungkum district during December 2005 1o January 2006 Methods: Standard questionnaire ISAAC was given to 2684 students who were randomly selected by a stratified and simple random sampling from 15 schools around the hospital. The students did the questionnaires in the class meetings that we set up in each school. Results: Seven hundred and thirteen asthmatic children were identified, thus the prevalence of asthma is 26.6%(95%CI :24.9%, 28.3%), 20.9% had asthmatic attack, 20.4% had nocturnal wheeze, and 8.1% had exercise-induced asthma during the last year. In order to study severity and its related factors ,283 of 713 asthma students were again randomly chosen to answer a self-administered questionnaire to classily the severity of asthma as follows: 61.1% were mild intermittent 27.2% were mild persistent, 11.7% were moderate persistent and none were severe persistent type. Among factors contributing to asthma, our study demonstrates that exercise, cold fever, dust, temperature changes, seasons and air pollution were highly associated with asthmatic-attack The most precipitating factors in this study was cold fever (88%). Temperature changes and seasons were significantly associated with the severity of asthma (p<O.5) The perception of parents regarding the child problem such as frequent physician visit for allergy treatment, the use of prophylactic asthmatic medications, and symptomatic bronchodilator were also shown to be statistically significant associated with severity of asthma. In summary most of the asthmatic children have not received regular treatment. Conclusion: Our study suggests that the parent should be aware of asthmatic attack during season and temperature changes in their children especially in those of moderate persistent severity, as well as education on how to manage asthmatic attack properly, and how to maintain good control of asthma.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67466
ISSN: 9741419775
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhusdee_th_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ954.46 kBAdobe PDFView/Open
Bhusdee_th_ch1_p.pdfบทที่ 1846.58 kBAdobe PDFView/Open
Bhusdee_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.61 MBAdobe PDFView/Open
Bhusdee_th_ch3_p.pdfบทที่ 3950.18 kBAdobe PDFView/Open
Bhusdee_th_ch4_p.pdfบทที่ 41.34 MBAdobe PDFView/Open
Bhusdee_th_ch5_p.pdfบทที่ 51.24 MBAdobe PDFView/Open
Bhusdee_th_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.