Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67510
Title: | Comparison of treatment outcomes between squamous cell carcinoma and adenocarcinoma in locally advanced cervical cancer |
Other Titles: | การเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างเซลล์ชนิดสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมาและอะดีโนคาร์ซิโนมาในมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ |
Authors: | Kanyarat Katanyoo |
Advisors: | Sompol Sanguanrungsirikul |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Medicine |
Subjects: | Cancer Cervix uteri -- Cancer Squamous cell carcinoma Adenocarcinoma ปากมดลูก -- มะเร็ง สความัสเซลล์คาร์ซิโนมา มะเร็งชนิดต่อม มะเร็งปากมดลูก |
Issue Date: | 2011 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Introduction: To compare the treatment outcomes between squamous cell carcinoma (SCC) and adenocarcinoma (ACA) in locally advanced cervical cancer patients. Methods: All medical records of stage IIB-IVA of cervical cancer patients who had been completed treatment between 1995 and 2008 were reviewed. ACA 1 case was matched for SCC 2 cases with clinical stage, tumor size, treatment modalities (radiation therapy (RT) vs concurrent chemoradiation (CCRT)). Treatment outcomes including response to RT/CCRT, time to complete response (CR), patterns of treatment failure and survival outcomes were recorded. Results: A total of 423 patients with stage IIB-IVA (141 ACA: 282 SCC) were included. More than half of all patients were in stage IIB. The overall complete responses (CR) between ACA and SCC were 86.5% and 94.7%, respectively (p=0.004). Median time to clinical CR from RT/CCRT of ACA were 2 months (0-5 months) compared with 1 month (0-4 months) for SCC (p=0.001). Pelvic recurrence and distant failure were found in 2.1% and 14.9% in ACA, and corresponding with 3.9% and 15.6% in SCC. The 5-year overall survival rates of ACA compared to SCC were 59.9% and 61.7% (p=0.191), respectively. When adjusted all prognostic factors, stage was only one factor which influenced to overall survival while tumor histology was not affecting factor. Conclusion: ACA in locally advanced cervical cancer used longer time to achieve CR and had poorer response rate from RT/CCRT than SCC. However, these effects did not influence to survival outcomes. |
Other Abstract: | วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างเซลล์ชนิดสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมาและอะดีโนคาร์ซิโนมาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลังแบบ cohort สถานที่ทำการวิจัย: คณะแพทยศาตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ระเบียบวิธีวิจัย: เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 2B ถึง 4A ที่ได้รับการรักษาครบระหว่างปี 2538 ถึงปี 2551 โดยรวบรวมข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยนอก เวชระเบียนผู้ป่วยใน เวชระเบียนของหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ข้อมูลจากหน่วยพยาธิวิทยา และข้อมูลที่ได้รับการบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีผลชิ้นเนื้ออะดีโนคาร์ซิโนมา 1 รายจะได้รับการจับคู่กับผู้ป่วยสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา 2 รายตามปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ระยะของโรค ขนาดของก้อนมะเร็ง และวิธีการรักษา (รังสีรักษาเพียงอย่างเดียวเทียบกับรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัด) ผลการรักษาประกอบด้วยการตอบสนองต่อการรักษา ระยะเวลาที่มีการตอบสนองสมบูรณ์ทางคลินิก การกลับคืนมาของโรคหลังรักษาครบ รวมถึงระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 2B ถึง 4A ทั้งสิ้นจำนวน 423 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยอะดีโนคาร์ซิโนมา 141 รายและผู้ป่วยสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา 282 ราย ผู้ป่วย 60.3% อยู่ในระยะ 2B การตอบสนองโดยรวมเทียบระหว่างผู้ป่วยอะดีโนคาร์ซิโนมาและผู้ป่วยสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมาเท่ากับ 86.5% และ 94.7% ตามลำดับ ค่ามัธยฐานของเวลาที่มีการตอบสนองสมบูรณ์ทางคลินิกของผู้ป่วยอะดีโนคาร์ซิโนมาคือ 2 เดือน (0-5 เดือน) ผู้ป่วยสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมาคือ 1 เดือน (0-4 เดือน) (p=0.001) สำหรับผู้ป่วยอะดีโนคาร์ซิโนมาพบมีการกลับคืนมาของโรคที่อุ้งเชิงกราน 2.1% และมีโรคกระจายไปยังอวัยวะอื่นนอกอุ้งเชิงกราน 14.9% เทียบกับ 3.9% และ 15.6% ตามลำดับในผู้ป่วยสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา อัตราการมีชีวิตรอดที่ 5 ปีของผู้ป่วยอะดีโนคาร์ซิโนมาคือ 59.5% เทียบกับผู้ป่วยสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา 61.7% (p=0.191) เมื่อทำการควบคุมปัจจัยต่างๆ ระยะของโรคเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการมีชีวิตอยู่ ในขณะที่ผลชิ้นเนื้ออะดีโนคาร์ซิโนไม่มีผลต่อการพยากรณ์โรค สรุป: อะดีโนคาร์ซิโนมาในมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ใช้เวลาที่จะตอบสนองต่อรังสีรักษานานกว่าสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมาอย่างไรก็ตามผลการรักษานี้ไม่ได้มีผลต่อการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วย |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2011 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Health Development |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67510 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanyarat_ka_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 799.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanyarat_ka_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 632.63 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanyarat_ka_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 669.84 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanyarat_ka_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 769.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanyarat_ka_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 722.61 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanyarat_ka_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 696.24 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanyarat_ka_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 600.25 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanyarat_ka_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 727.93 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.