Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67732
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาวดี มิตรสมหวัง-
dc.contributor.authorคุณภร บุญเทียมทัด-
dc.date.accessioned2020-08-27T04:55:48Z-
dc.date.available2020-08-27T04:55:48Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741433344-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67732-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง “ความหมายเชิงสัญญะของการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของผู้หญิงทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ,ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่ม และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดื่มและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มของผู้หญิงทำงาน ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยา (Anthropological method) กลุ่มตัวอย่างที่เลือกศึกษาคือผู้หญิงทำงานในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 10 คน มีอายุระหว่าง 20 - 35 ปี เคยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับเพื่อนที่ร้านอาหารอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) และสังเกตพฤติกรรม(non-participative observation) และมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการ วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างนิยมดื่มเบียร์กับเพื่อนที่ร้านอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลและเพื่อเข้าร่วมงานสังสรรค์ประเภทต่างๆ ในช่วงเวลาเลิกงาน โดยเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยครั้งละ 0-500 บาทและมีความถี่ในการดื่ม 2 - 3 ต่อสัปดาห์ 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มของผู้หญิงทำงาน ได้แก่ ค่านิยมในการกล้าแสดงออกและการได้รับการยกย่องจากคนในสังคมนักดื่ม รวมถึงอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ส่วนค่านิยมการต้องการได้รับการยอมรับจากคนในสังคมนักดื่ม, ค่านิยมความต้องการความมั่นคงทางจิตใจ, ค่านิยมความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ และอิทธิพลของสื่อโฆษณาพบว่าไม่มีผลต่อการดื่มของกลุ่มตัวอย่าง 3. กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อการดื่มของผู้หญิงทำงานมาก เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมักถูกชักชวนให้ร่วมดื่มในกลุ่มเพื่อนนักดื่มอยู่เสมอ การปฏิเสธคำชักชวนเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าค่านิยมในการกล้าแสดงออกและการได้รับการยกย่องจากคนในสังคมนักดื่มมีอิทธิพลต่อการดื่มของกลุ่มตัวอย่างเช่นกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างมีความมั่นใจมากขึ้นและกล้าแสดงออกทั้งในด้านคำพูด และการกระทำ เมื่อได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และจะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างไปเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยสรุปข้อค้นพบที่น่าสนใจของการวิจัยครั้งนี้ คือ การร่วมดื่มของผู้หญิงทำงานเป็นดื่มเพื่อสมานความสัมพันธ์ที่มีอยู่มากกว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มใหม่และผู้หญิงทำงานให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางสังคมในการดื่มมากกว่าตัวเครื่องดื่มหรือผลที่จะเกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are to study working women’s alcohol consumption behavior, factors affecting their alcohol consumption behaviors and relationships between alcohol consumption behaviors and factors affecting their drinking behaviors. Anthropological method was employed to gather data from 10 working women who were 20 - 35 years old and drank alcohol beverage with their friends at restaurant at least once a month. Data were collected by using In depth interviews, with interview guide and non-participative observation. Data were checked by the interviewers before being analyzed by content analysis. The results are as following : 1. Working women prefer to drink beer with their friends at restaurants due to their personal wants and their social interaction with friends about 2-3 times a week in the afternoon. Drinking experience was around 0 - 500 bath per time per person. 2. Self-confident and the peer group influence were found to be affecting their decision to drink while social acceptance, need for mental security, the sexual inquiry and the advertising impact did not affect their alcohol consumption behaviors 3. The influence of peer group tended to have high impact on the working women's drinking behaviors because they drank due to their friend invitations and they hardly refused them. It was also found that these women tended to drink because they wanted to gain social acceptance from their friends and to show themselves off. They felt more confident and could express themselves freely after drinking. In conclusion the major finding of this study was that the working woman drank alcohol because they wanted to maintain their relationships with their friends rather than building new relationships and gave more emphasis on social activities than the beverage itself and the drinking impact.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectลูกจ้างสตรี -- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ -- ไทยen_US
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทยen_US
dc.subjectผู้บริโภคสตรี -- ไทยen_US
dc.subjectWomen employees -- Drinking of alcoholic beverages -- Thailanden_US
dc.subjectWomen consumers -- Thailanden_US
dc.subjectConsumer behavior -- Thailanden_US
dc.titleความหมายเชิงสัญญะของการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของผู้หญิงทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลen_US
dc.title.alternativeSymbolic meaning of alcohol beverage consumption of working women in Bangkok metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameมานุษยวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมานุษยวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsupavadee.m@chula.ac.th-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunaporn_bo_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ920.09 kBAdobe PDFView/Open
Kunaporn_bo_ch1_p.pdfบทที่ 11.16 MBAdobe PDFView/Open
Kunaporn_bo_ch2_p.pdfบทที่ 23.58 MBAdobe PDFView/Open
Kunaporn_bo_ch3_p.pdfบทที่ 31.06 MBAdobe PDFView/Open
Kunaporn_bo_ch4_p.pdfบทที่ 46.16 MBAdobe PDFView/Open
Kunaporn_bo_ch5_p.pdfบทที่ 51.47 MBAdobe PDFView/Open
Kunaporn_bo_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.