Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6793
Title: ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขโมยคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ทางวิชาการของนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Knowledge attitude and behavior concerning cyber-plagiarism for academic purposes of graduate students in the Bangkok Metropolitan Administration area (BMA)
Authors: ณัฐพร ศรีสติ
Advisors: พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pirongrong.R@chula.ac.th
Subjects: ทรัพย์สินทางปัญญา
จริยธรรมทางวรรณกรรม
ลิขสิทธิ์
การลอกเลียนวรรณกรรม
อินเตอร์เน็ต
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขโมยคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเพื่อประโยชน์ทางวิชาการผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต โดยศึกษาจากนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 427 คน ใช้วิธีการวิจัย 2 วิธี คือ การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. บริบททางการศึกษา ด้านชั้นปีที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับความรู้และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขโมยคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเพื่อประโยชน์ทางวิชาการในการใช้งานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ด้านขั้นตอนการศึกษามีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขโมยคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเพื่อประโยชน์ทางวิชาการในการใช้งานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ความรู้และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขโมยคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเพื่อประโยชน์ทางวิชาการในการใช้งานบริบททั่วไป มีความสัมพันธ์กับความรู้และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขโมยคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเพื่อประโยชน์ทางวิชาการในการใช้งานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัจจัยทางจริยธรรมด้านจริยธรรมส่วนบุคคล จริยธรรมทางวิชาการ และจริยธรรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขโมยคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ทางวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ความรู้และตระหนักเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามีความสัมพันธ์กับ ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวข้องกับการขโมยคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความชอบธรรมในการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในบริบทประเทศกำลังพัฒนามีความสัมพันธ์กับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขโมยคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คุณลักษณะพิเศษของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การทำซ้ำ การตัดแปะ รวมทั้งการปิดบังตัวตนได้มีส่วนช่วยให้การขโมยคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตไม่สามารถตรวจสอบได้ ขณะเดียวกัน นิสิตนักศึกษาที่ทำการศึกษายังมีแนวโน้มที่จะใช้บรรทัดฐานทางจริยธรรมในอินเทอร์เน็ต ซึ่งแตกต่างจากจริยธรรมในสังคมจริง นอกจากนี้ พวกเขายังมีความสับสนเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะบนอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าสามารถนำข้อมูลและผลงานมาใช้โดยปราศจากการอ้างอิง นอกจากนี้มีความเห็นแบ่งเป็นสองกลุ่มเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวคือ กลุ่มหนึ่งเห็นว่าส่งผลให้ประเทศไทยมีความเจริญทัดเทียมสากล และกระตุ้นให้มีนักสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น แต่อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าเป็นอุปสรรคสำหรับประชาชนในการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศและยังไม่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมไทยเท่าที่ควร
Other Abstract: This research is aimed at studying knowledge, attitude and behavior related to cyber-plagiarism for academic purposes of graduate students in the Bangkok Metropolitan Administration area. The study was carried out on 427 students, using two research methods-questionnaire-based survey and focus group interview. The study has the following findings: 1. The number of years studied which is one of the study context variables is found to be statistically related to knowledge and behavior related to cyber-plagiarism. Meanwhile, the stage of study is found to have statistical significant relationship with attitude and behavior related to cyber-plagiarism; 2. Knowledge and behavior related to plagiarism in the general context is found to be statistically related to cyber-plagiarism for academic purposes; 3. Ethics variables which include personal ethics, acaemic ethics and computer and information ethics are found to have statistically significant relationship with cyber-plagiarism for academic purposes; 4. Knowledge and awareness about intellectual property law is found to be statistically related to knowledge and attitude about cyber-plagiarism for academic purposes; 5. Opinion about the legitimacy of the enforcement of intellectual property law in developing countries' context is found to have statistically significant relationship with knowledge, attitude, and behavior about cyber-plagiarism for academic purposes. The study also concludes that special attributes of the Internet such as the ease of copying and pasting information and user anonymity have made it impossible to probe cyber-plagiarism. Meanwhile, based on the research findings, graduate students tend to resort to different ethical normative when they are in cyberspace from in reality, hence making cyber-plagiarism more prevalent in practice. There also seems to some confusion among the studied graduate students in their understanding of the Internet. Considering the Internet as a public sphere, they have conflated it to be a public domain in which copyright principles should be exempted. In addition, there appears to be divided opinions about the legitimacy of intellectual property (IP) law in the Thai context. While wome feel that the enforcement of intellectual property law will make Thailand more civilized and provide incentives for innovators, others feel that IP is a major obstacle for the general Thai public to reap benefits from information and that its enforcement may not be coherent with the Thai way of life.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6793
ISBN: 9741734697
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natthaporn.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.