Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68137
Title: ผลของการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจและความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Effects of cooperative learning on Thai reading comprehension ability and retention of mattayom suksa three students
Authors: ขวัญหทัย สมัครคุณ
Advisors: สายใจ อินทรัมพรรย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การอ่าน
การอ่านขั้นมัธยมศึกษา
ภาษาไทย -- การอ่าน
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ความเข้าใจในการอ่าน
การทำงานกลุ่มในการศึกษา
Reading
Reading (Secondary)
Thai language -- Study and teaching (Secondary)
Thai language -- Reading
Reading comprehension
Group work in education
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจและความคงทนในการเรียนและศึกษาปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างวิธีการเรียนกันระดับความสามารถทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนารีนุกูลจำนวน 120 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 40 คน กลุ่มทดลองที่ 1 เรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มตั้งเป้าหมายร่วมกัน กลุ่มทดลองที่ 2 เรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ และกลุ่มที่ 3 กลุ่มควบคุมเรียนแบบปกติ ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ รวม 12 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มตั้งเป้าหมายร่วมกัน และเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม คละผลสัมฤทธิ์ มีความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มตั้งเป้าหมายร่วมกัน มีความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างวิธีการเรียนกับระดับความสามารถทางการเรียนภาษาไทยที่มีต่อ ความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.นักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มตั้งเป้าหมายร่วมกัน และเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม คละผลสัมฤทธิ์ มีความคงทนในการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียบแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มตั้งเป้าหมายร่วมกันมีความคงทนในการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research were to compare effects of types of cooperative learning on Thai reading comprehension and retention, and to study interaction between types of learning and levels of Thai language abilities of mathayom suksa three students at Nareenukul School. They were divided into three groups with 40 students each. The first experimental group was cooperative learning with group goal setting. The second experimental group was STAD. The third control group was conventional instruction. The experiment was conduct within six weeks. They were twelve periods for each group. The instruments used this research were Thai reading comprehension research – made tests. An analysis of data used computer program called SPSS/PC+ Results showed that: 1.Students who learned by cooperative learning with group setting and STAD had Thai reading comprehension abilities higher than students who learned by conventional instruction at the .05 level of significance. That students who learned by cooperative learning with group goal setting had Thai reading comprehension abilities higher than students who learned by STAD at the .05 level of significance. 2.There was interaction effect between types of learning and levels of Thai language Learning abilities on Thai reading comprehension abilities at the .05 level of significance. 3.Students who learned by cooperative learning with group goal setting and STAD had retention higher than students who learned by conventional instruction at the .05 level of significance. That students who learned by cooperative learning with group goal setting had retention higher than students who learned by STAD at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68137
ISBN: 9743324488
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khuenhatai_sm_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Khuenhatai_sm_ch1_p.pdfบทที่ 11.62 MBAdobe PDFView/Open
Khuenhatai_sm_ch2_p.pdfบทที่ 24.57 MBAdobe PDFView/Open
Khuenhatai_sm_ch3_p.pdfบทที่ 31.33 MBAdobe PDFView/Open
Khuenhatai_sm_ch4_p.pdfบทที่ 41.08 MBAdobe PDFView/Open
Khuenhatai_sm_ch5_p.pdfบทที่ 51.13 MBAdobe PDFView/Open
Khuenhatai_sm_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก11.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.