Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68286
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกียรติ จิวะกุล-
dc.contributor.authorชัญญา พจนธาวี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-10-05T07:25:41Z-
dc.date.available2020-10-05T07:25:41Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743330976-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68286-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการวางแผนพัฒนาพื้นที่ขายแคนห้วยโก๋นาให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่เป็นประตูการค้า และช่องทางเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้พื้นที่เกิดการพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ และสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ จากการศึกษาพบว่า ห้วยโก๋นเป็นพื้นที่ชายแดนที่มีความใกล้ชิดทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเมืองหลวงพระบางและเมืองปากแบ่งริมแม่น้ำโขง ห้วยโก๋น อยู่ด้านเหนือของจังหวัดน่าน มีบทบาทเป็นจุดเชื่อมโยงทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีความได้เปรียบในด้านที่ตั้ง ที่สามารถเชื่อมโยงแหล่งผลิตแหล่งทรัพยากร กับพื้นที่ภายในและนอกประเทศ ผ่านโครงข่ายการคมนาคมทางบก ซึ่งสามารถติดต่อเชื่อมโยงกับพื้นที่ลาวดอนเหนือ จีนตอนใต้ และ เวียดนามตอนเหนือ นอกจากนี้ยังมีสภาพแวดล้อม'ในทางบวกอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้กับการพัฒนาในอนาคต ได้แก่ สถานการณ์ชายแดนและการเมืองระหว่างประเทศ ที่สงบและกระตือรือร้นต่อการพัฒนา โดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศมี นโยบายส่งเสรมการน้าร่วมกัน และความคล้ายคลึงทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นพื้นฐานที่สร้างความสัมพันธ์ด้านการค้า และการท่องเที่ยวให้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และจากการที่ห้วยโก๋นเป็นพื้นที่ชายแดน ที่อยู่ในโครงการพัฒนาเมืองชายแดนของรัฐบาลในแผน ฯ 8 ซึ่งมีความสำคัญ คือ เป็นเมืองหน้าด่านและประตูการค้าของไทย จึงทำให้ห้วยโก๋นจะได้รับประโยชน์จากการเร่งรัดพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ ซึ่งจะดึงดูดให้เอกชนเข้ามาลงทุนประกอบกิจการในพื้นที่เป็นจำนวนมาก เป็นการสร้างงานและโอกาสทางเศรษฐกิจอื่น ๆ รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ในที่สุด อย่างไรก็ตามพื้นที่ชายแดนห้วยโก๋นยังมีข้อจำกัดในการพัฒนาด้านกายภาพ เนื่องจากพื้นที่ที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตลอดจนกำลังความสามารถชองสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางเศรษฐกิจที่จะพัฒนา พื้นที่ชายแดนเชื่อมต่อกับห้วยโก๋นยังมีค่อนข้างต่ำ จากศักยภาพในการพัฒนาด้านการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวของห้วยโก๋น ในการศึกษาครั้งนี้ จึงได้เสนอ แนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายแดน โดยวางแผนให้พื้นที่มีความพร้อมในสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับการพัฒนา ในอนาคตสามารถทำหน้าที่เป็นประตูการค้าที่สมบูรณ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชื่อมโยงกับเมืองหลวงพระบาง ในขณะเดียวกันต้องพัฒนาโครงข่ายชุมชนเมืองในบริเวณใกล้เคียง เชื่อมโยงกับโครงข่ายเมืองของจังหวัดอย่างเป็นระบบ และให้ประชาชนในพื้นที่สามารถปรับตัวเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาของรัฐ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพ ดังนั้นแนวทางการพัฒนาจึงเป็นการวางผังพื้นที่บริเวณด่านและชุมชนไปพร้อม ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนา เชื่อมโยงระหว่างด่านชายแดนชุมชนที่จะเกิดขึ้นใหม่และชุมชนเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความสมดุล ทั้งนี้ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ซึ่งเป็นป่าต้นนี้าลำธารที่สำคัญของประเทศทั้งสอง-
dc.description.abstractalternativeAn objective of this study is to propose guidelines on border development planning at Huay Khon area which is located on the north of Nan province. This bolder check point works now as a commercial gateway connecting with Laos PDR and other countries. To be more successful border town, the study found that an area can still be fully developed from its potential as well as the promotion from Thailand's development policy. According to the study, there are many reasons why Huay Khon will be a successful border town in the near future. First of all, the advantage of location, connecting with production areas and resource areas via the transportation network leads its role as the outstanding connection point in commerce, investment and tourism among Thailand, northern Laos PDR, and Vietnam Southern China. In addition, Huay Khon is very close to Luang Phra Bang, the old capital city of Laos and a new world's heritage, and Pak Bang, the nearest Mekhong's river port. Besides peaceful border situation, they have the similar originality in social and culture, bases the planned cooperation commerce and political policy, besides peaceful border situation. These lead to the enthusiastic co-operation especially, commercial and tourism development policy between both countries. Last of all, Huay Khon is one of the border town which is promoted to be a commercial gateway of the border development project of the 8th Thailand development plan. Therefore, many infrastructure development projects are being invested there. These urge private sector on investment, increase jobs and economic opportunities, and the poor people in this border area should lastly have better quality of life. However, there are also some disadvantages of Huay Khon which will be considered in this study as follows: (1) being a mountainous area of the national reservation forest and (2) low economic performance of Laos PDR which will affect the border town development policy of Thai side. To serving a successful gateway and encouraging tourism in the future between Nan province, Luang Phra Bang and other related areas. This study proposes the guidelines of development plan for Huay Khon border area by emphasizing a well-prepared infrastructure, border facilities and growing community which base on its potentials and beware the impacts on the natural resources and environment of both countries.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectชุมชน-
dc.subjectโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง-
dc.subjectการพัฒนาเมือง -- ไทย -- น่าน-
dc.subjectการพัฒนาชุมชน-
dc.subjectนโยบายเศรษฐกิจ -- ไทย -- น่าน-
dc.subjectไทย -- เส้นพรมแดน -- ลาว-
dc.subjectห้วยโก๋น (น่าน) -- สภาวะสังคม-
dc.titleแนวทางการวางแผนพัฒนาเมืองชายแดน : กรณีศึกษา ห้วยโก๋น จังหวัดน่าน-
dc.title.alternativeGuide-lines on border town development planning : a case study at Huay Khon area, Nan province-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวางผังเมือง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanya_po_front_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Chanya_po_ch1_p.pdf781.04 kBAdobe PDFView/Open
Chanya_po_ch2_p.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Chanya_po_ch3_p.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open
Chanya_po_ch4_p.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open
Chanya_po_ch5_p.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Chanya_po_ch6_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Chanya_po_back_p.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.