Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68570
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปารเมศ ชุติมา-
dc.contributor.authorสมโภชน์ แซ่น้า-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-10-14T07:36:45Z-
dc.date.available2020-10-14T07:36:45Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743327975-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68570-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบของความไม่แน่นอนและหาวิธีการจัดการกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น โดยมีความไม่แน่นอนที่ศึกษาทั้งหมด 8 ประเภทคือ การเพิ่มงาน การยกเลิกงาน การเพิ่มจำนวนการผลิต การลดจำนวนการผลิต การขาดแคลนวัตถุดิบ พนักงานหยุดงาน การเลื่อนเวลาส่งมอบให้เร็วขึ้น และการเลื่อนเวลาส่งมอบให้ช้าลง ตัววัดผลที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของตารางการผลิตมี 5 ตัว ได้แก่ เวลาการไหลของงานโดยเฉลี่ย เวลาสายของงานโดยเฉลี่ย เวลาล่าช้าของงานโดยเฉลี่ย จำนวนงานล่าช้า และอัตราการใช้งานเครื่องจักร งานวิจัยนี้แบ่งการทดลองทั้งหมดออกเป็น 3 การทดลอง ประกอบด้วย การศึกษาการจัดตารางการผลิตโดยปราศจากความไม่แน่นอน การศึกษาผลกระทบของความไม่แน่นอน และการศึกษาหาวิธีการจัดการกับความไม่แน่นอน การศึกษาการจัดตารางการผลิตโดยปราศจากความไม่แน่นอน เป็นการศึกษาหากฎและวิธีการจัดตารางการผลิตที่ให้ประสิทธิภาพตารางการผลิตที่ดี จากการศึกษาพบว่ากฎและวิธีการจัดตารางการผลิตเป็นปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของตารางการผลิต กฎและวิธีจัดตารางการผลิตที่ให้ประสิทธิภาพของตารางการผลิตโดยรวมดี คือ กฎ SMT ด้วยวิธีจัดตารางการผลิตแบบนอนดีเลย์ จากการศึกษาผลกระทบของความไม่แน่นอน 8 ประเภทข้างต้นพบว่า เมื่อเกิดความไม่แน่นอนประเภทเพิ่มงาน การเพิ่มจำนวนการผลิต การขาดแคลนวัตถุดิบ พนักงานหยุดงาน และเลื่อนเวลาส่งมอบงานให้เร็วขึ้น จะส่งผลกระทบให้ประสิทธิภาพตารางการผลิตโดยรวมเลวลง ส่วนการยกเลิกงาน การลดจำนวนการผลิต และเลื่อนเวลาส่งมอบงานให้ช้าลง จะส่งผลกระทบให้ประสิทธิภาพตารางการผลิตโดยรวมดีขึ้น สำหรับการศึกษาหาวิธีจัดการกับความไม่แน่นอน จะพิจารณาจากวิธีการจัดการกับความไม่แน่นอน 4 วิธี ได้แก่การจัดตารางการผลิตใหม่โดยใช้กฎ LWKR, SMT, STPT ด้วยวิธีการจัดตารางการผลิตแบบนอนดีเลย์ และการจัดตารางการผลิตแบบโต้ตอบ จากการศึกษาพบว่าเมื่อมีความไม่แน่นอนทั้ง 8 ประเภทเกิดขึ้น วิธีจัดการกับความไม่แน่นอนทั้ง 4 วิธี ให้ประสิทธิภาพตารางการผลิตโดยรวมดีขึ้น วิธีการทั้งหมดมีประสิทธิภาพในการจัดการกับความไม่แน่นอนไม่แตกต่างกัน โดยปัจจัยที่มีผลต่อการทดลองนี้คือปัจจัยด้านประสิทธิภาพของตารางการผลิตก่อนเกิดความไม่แน่นอน-
dc.description.abstractalternativeProduction scheduling is an important activity in production planning and control. A low efficiency scheduling leads to high production cost. Generally, uncertainty in production occurs and affects the production efficiency. The objectives of this research are to study the effects of uncertainty and find a method to deal with uncertainty. This research studies 8 uncertainties: ‘Added job’, ‘Cancelled job’, ’Increased order', 'Decreased order’, ‘Material shortage’, ‘Worker absent’, ‘Shift due date forward’ and ‘Shift due date backward’. The 5 measures of performance used to evaluate scheduling efficiency are ‘Mean Flow Time’, ‘Mean Lateness’, ‘Mean Tardiness’, ‘Number of tardy job’ and ‘Machine utilization’. Three experiments are conducted in this research. The first experiment is to study scheduling without uncertain condition. The second studies the effect of uncertainty and the last studies the method to deal with uncertainty. The first experiment aims to find out rule and schedule's type which yield the highest efficiency. The result is the schedule using SMT rule and no delay schedule. The second experiment is to study the effect of uncertainty. ‘Added job’, ‘Increased Order’, ‘Lack of material’, ‘Material shortage' and ‘Shift due date forward’ which lead to lower efficiency. The other uncertainties contribute higher efficiency. The last experiment is to study the method to deal with uncertainty by determining it from 4 methods, in which 3 methods are rescheduled by using LWKR, SMT, STPT rules with no delay schedule and one method using interactive scheduling. From the study, the efficiency of scheduling before uncertainty occurs is a factor which effects this part. There are no significant differences between the four methods, and these 4 methods yield better efficiency.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการกำหนดงานการผลิต-
dc.subjectการควบคุมการผลิต-
dc.subjectฟัสซีลอจิก-
dc.subjectวิศวกรรมการผลิต-
dc.subjectความไม่แน่นอน (การผลิต)-
dc.titleการจัดตารางการผลิตแบบโต้ตอบภายใต้เงื่อนไขการผลิตที่มีความไม่แน่นอน-
dc.title.alternativeInteractive production scheduling under uncertain production conditions-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompoch_sa_front_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sa_ch1_p.pdf831.53 kBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sa_ch2_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sa_ch3_p.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sa_ch4_p.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sa_ch5_p.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sa_ch6_p.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sa_ch7_p.pdf787.49 kBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sa_back_p.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.