Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68773
Title: ผลของลิพิดและการบ่มด้วยความร้อนต่อสมบัติของฟิล์มอิมัลชันโปรตีนถั่วเหลือง
Other Titles: Effect of lipids and heat curing on soy protein emulsion film properties
Authors: นลินทิพย์ คงแก้ว
Advisors: ธนจันทร์ มหาวนิช
เกียรติศักดิ์ ดวงมาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Thanachan.M@Chula.ac.th
Kiattisak.D@Chula.ac.th
Subjects: โปรตีนถั่วเหลือง
Soy proteins
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเติมลิพิดและการบ่มด้วยความร้อนที่มีต่อสมบัติของฟิล์มจากโปรตีนถั่วเหลืองสกัดในขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาผลของชนิดและความเข้มข้นของลิพิดต่อสมบัติของฟิล์มลิพิดที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม น้ำมันเมล็ดในปาล์มไฮโดรจีเนต น้ำมันปาล์มน้ำมันปาล์มไฮโดรจีเนตน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันถั่วเหลืองไฮโดรจีเนต แปรความเข้มข้นของลิพิดเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 10 และ 20% ของน้ำหนักโปรตีนถั่วเหลืองสกัด พบว่าฟิล์มอิมัลชันมีความหนาสูงกว่าและมีความโปร่งแสงต่ำกว่าฟิล์มที่ไม่เติมลิพิด (ตัวอย่างควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) ด้านสมบัติเชิงกลพบว่าการเติมลิพิดส่งผลให้ความต้านทานแรงดึงขาด (tensile strength)มีค่าลดต่ำลง อย่างไรก็ตามการเติมลิพิดไม่ส่งผลต่อการยืดตัวถึงจุดขาด (elongation at break) ของฟิล์มอิมัลชันมากนัก การเติมลิพิดสามารถช่วยปรับปรุงสมบัติความไม่ชอบน้ำของฟิล์มโปรตีนถั่วเหลืองโดยฟิล์มอิมัลชันมีสภาพให้ซึมผ่านได้ของไอน้ำ (water vapor permeability) และความสามารถในการละลายน้ำที่ลดลงรวมทั้งมุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิวฟิล์มที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) สำหรับความเข้มข้นของลิพิดพบว่าการเติมลิพิดเข้มข้น 10 หรือ 20% มีผลค่อนข้างน้อยต่อสมบัติของฟิล์มอิมัลชัน ในด้านผลของชนิดของลิพิดพบว่าฟิล์มที่เติมลิพิดไฮโดรจีเนตมีความต้านทานแรงดึงขาดและการยืดตัวถึงจุดขาดต่ำกว่าและมีสมบัติความไม่ชอบน้ำสูงกว่าฟิล์มที่เติมลิพิดที่ไม่ไฮโดรจีเนต จากงานวิจัยนี้พบว่าฟิล์มที่เติมน้ำมันเมล็ดในปาล์มไฮโดรจีเนตเข้มข้น 20% มีสมบัติความไม่ชอบน้ำที่สูงที่สุด แต่มีข้อจำกัดในสมบัติเชิงกล ในขั้นตอนที่สองเป็นการศึกษาการบ่มสารละลายฟิล์มด้วยความร้อนโดยใช้ตัวอย่างฟิล์มที่เติมน้ำมันเมล็ดในปาล์มไฮโดรจีเนตเข้มข้น 20% แปรอุณหภูมิการบ่มเป็น 70, 80 และ 85 °C และแปรระยะเวลาการบ่มเป็น 30, 45 และ 60 นาทีพบว่าการบ่มสารละลายฟิล์มที่อุณหภูมิ 70 ºC เป็นเวลา 60 นาที ส่งผลให้ฟิล์มมีความต้านทานแรงดึงขาดและการยืดตัวถึงจุดขาดสูงที่สุดแต่มีผลให้สมบัติความไม่ชอบน้ำของฟิล์มด้อยลง ซึ่งเห็นได้จากสภาพให้ซึมผ่านได้ของไอน้ำและความสามารถในการละลายน้ำที่สูงขึ้น รวมทั้งมุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิวฟิล์มที่ลดลง ในขั้นตอนที่สามเป็นการศึกษาการบ่มแผ่นฟิล์มด้วยความร้อนโดยใช้ตัวอย่างฟิล์มที่เติมน้ำมันเมล็ดในปาล์มไฮโดรจีเนตเข้มข้น 20% ที่ผลิตโดยบ่มสารละลายฟิล์มที่ 70 °C เป็นเวลา 60 นาทีหรือ 85 °Cเป็นเวลา 45 นาทีนำแผ่นฟิล์มมาบ่มด้วยความร้อน โดยแปรอุณหภูมิการบ่มเป็น 70, 80 และ 90 °C และแปรระยะเวลาการบ่มเป็น 0, 5 และ 10 ชั่วโมงพบว่าการบ่มแผ่นฟิล์มด้วยความร้อนทำให้ฟิล์มมีความต้านทานแรงดึงขาดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการยืดตัวถึงจุดขาดมีค่าลดต่ำลง นอกจากนี้การบ่มแผ่นฟิล์มด้วยความร้อนยังช่วยปรับปรุงสมบัติความไม่ชอบน้ำของฟิล์ม โดยพบว่าการบ่มแผ่นฟิล์มที่อุณหภูมิ 90 ºC เป็นเวลา 10 ชั่วโมง มีผลให้ฟิล์มมีความต้านทานแรงดึงขาดและมุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิวฟิล์มสูงที่สุด ในขณะที่สภาพให้ซึมผ่านได้ของไอน้ำและความสามารถในการละลายน้ำต่ำที่สุด
Other Abstract: The objective of this study was to investigate the effect of lipid incorporation and heat curing on properties of soy protein isolate film. In the first part of the study, the effect of type and concentration of lipid on film properties was examined. The lipids used in this study were palm kernel oil, hydrogenated palm kernel oil, palm oil, hydrogenated palm oil, soybean oil and hydrogenated soybean oil. Lipid concentration was varied at 10 and 20% by weight of soy protein isolate. The emulsion films were found to exhibit higher thickness and lower transparency, as compared to the film with no added lipid (control) (p≤0.05). In terms of mechanical property, lipid incorporation resulted in an emulsion film with lower tensile strength than the control while elongation at break was affected only slightly by lipid addition. Adding lipid was shown to help improve the film hydrophobicity, as shown through a decrease in water vapor permeability and water solubility and an increase in contact angle with a water droplet (p≤0.05). Lipid concentration, on the other hand, did not place an important effect on properties of the emulsion film. The films added with 10 and 20% lipid possessed similar properties. Hydrogenation of lipid, in contrast, significantly affected the emulsion film properties. The films containing hydrogenated lipid demonstrated lower tensile strength and elongation at break, and higher hydrophobicity than those containing non-hydrogenated lipid. From this study, greatest hydrophobicity was denoted by the film containing 20% hydrogenated palm kernel oil. However, this film sample was inferior concerning the mechanical property. In the second part, the study of the effect of heat curing of film-forming solution was carried out. The film containing 20% hydrogenated palm kernel oil was used. The curing was done at 70, 80 and 85 °C for 30, 45 and 60 min. Curing of film-forming solution at 70 °C for 60 min resulted in a film with greatest tensile strength and elongation at break. However, heat curing of film-forming solution caused a decrease in the film hydrophobicity, as evidenced by the increased water vapor permeability and water solubility, and the decreased contact angle. In the third part, the effect of heat curing of the dried film was investigated. The film samples used were those obtained by curing the film forming solution at 70 °C for 60 min and at 85 °C for 45 min. The dried film samples were heated at 70, 80 and 90 °C for 0, 5 and 10 hrs. Heat curing of dried film was shown to help increase tensile strength while the film elongation at break was found to decrease. Moreover, heat curing of dried film helped improve the film hydrophobicity. The dried films cured at 90 °C for 10 hrs possessed the greatest tensile strength and contact angle while being lowest in water vapor permeability and water solubility.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68773
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5272361023.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.