Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69022
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ของสัญญาณอะคูสติกกับการสึกหรอของดอกสว่านในเหล็กกล้า SS400
Other Titles: A study of relationship between acoustic signal and drill wear in SS400 steel
Authors: สรรวริศ อุ่ยวัฒนา
Advisors: ชัยโรจน์ คุณพนิชกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chairote.K@Chula.ac.th
Subjects: ดอกสว่าน
การสึกหรอ
อะคูสติกอีมิสชัน
สัญญาณอะคูสติก
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ได้เลือกใช้วิธีการอะคูสติกอีมิสชันเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสัญญาณ อะคูสติกกับการสึกหรอของดอกสว่านในเหล็กกล้า SS400 เพื่อบ่งบอกขนาดของการสึกหรอ ซึ่งจะสามารถแสดงผลได้ที่เวลานั้น ๆ การทดลองสร้างความสึกหรอแก่ดอกสว่าน โดยเจาะรูแผ่นเหล็กกล้า SS400 จำนวน 400 รูเจาะ ทำการทดลองโดยการเปลี่ยนแปลงอัตราเร็วรอบ 3 อัตราเร็วรอบ คือ 280 450 และ 750 รอบต่อนาที และเปลี่ยนแปลงอัตราการปอน 3 อัตราการป้อน คือ 0.08 0.12 และ 0.2 มิลลิเมตรต่อรอบ เงื่อนไขละ 3 ดอก จากนั้นเลือกวิเคราะห์การสะสมของสัญญาณ ENERGY COUNT และ HIT เป็นช่วง เว้นช่วงละ 50 รูเจาะ ความสัมพันธ์ระหว่างค่า ENERGY COUNT และ HIT ของสัญญาณอะคูสติกกับจำนวนรู เจาะในช่วง 400 รูเจาะยังไม่ชัดเจนนักซึ่งอาจเนื่องจากยังมีความสึกหรอน้อย แต่พบว่าอัตราเร็วรอบมีผลต่อสัญญาณ ENERGY และ COUNT น้อยเมื่อเทียบกับอัตราการป้อน โดยที่อัตราการป้อนต่ำกว่าจะมีค่า ENERGY และ COUNT สูงกว่าที่อัตราการป้อนสูง และเมื่อทดลองเจาะรูเพิ่มจนถึง 1300 รูเจาะ ความสัมพันธ์ของสัญญาณกับจำนวนรูเจาะหรือความสึกหรอมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความสึกหรอขณะที่ความเร็วรอบมีผลต่อสัญญาณ HIT ชัดเจนกว่าเพราะอัตราเร็วรอบต่ำเศษโลหะจะไม่ต่อเนื่อง ทำให้ค่า HIT สูง กว่าเมื่ออัดราเร็วรอบสูงซึ่งมีเศษโลหะแบบต่อเนื่อง
Other Abstract: This research chose to study relationship between acoustic signal and drill wear in the SS400 steel in order to quantity the drill wear during drill operation. The experiment was conducted at 3 speed 280, 450, and 750 rpm and at 3 feed 0.08, 0.12, and 0.2 mm./rev. At each cutting condition 3 drills were tested by drilling 400 holes. Cumulative signals of ENERGY, COUNT, and HIT were collected at an interval of 50 holes. The results form 400 holes donot show a strange correlation between ENERGY, COUNT, and HIT with the number of holes. This may be dued to too small drill wear. However, the signal shows that the cutting speed has less effect on the signal; ENERGY and COUNT, than the feed rate. At a low feed rate, the ENERGY and COUNT are higher value than at a high feed rate. When continue the test to 1300 holes, ENERGY, COUNT, and HIT show more correlation with the number of holes or the drill wear. While cutting speed has effect on HIT as at low speeds the metal chip is discontinuous and causes HIT values to be larger whereas at high speeds the metal chip is more continuous.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69022
ISBN: 9743312986
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunvaris_uy_front_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Sunvaris_uy_ch1_p.pdf644.5 kBAdobe PDFView/Open
Sunvaris_uy_ch2_p.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Sunvaris_uy_ch3_p.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Sunvaris_uy_ch4_p.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Sunvaris_uy_ch5_p.pdf705.36 kBAdobe PDFView/Open
Sunvaris_uy_back_p.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.