Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69149
Title: โครงสร้างอุตสาหกรรมและอุปสงค์ของแผ่นยิปซัมในประเทศไทย
Other Titles: Industrial structure of and demand for gypsum board in Thailand
Authors: สิรินทร์ ปิยพฤทธิ์
Advisors: อิศรา ศานติศาสน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Isra.S@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมแผ่นยิปซัม -- ไทย
แผ่นยิปซัม -- อุปทานและอุปสงค์
นโยบายอุตสาหกรรม
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพี่อศึกษาโครงสร้างอุตสาหกรรมแผ่นยิปซัมในประเทศไทยทั้งภาคการผลิตและภาคการตลาด ศึกษาภาวะการกระจุกตัวของผู้ขาย รวมถึงโครงสร้างตลาด นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ การพยากรณ์แนวโน้มในอนาคตของอุปสงค์ และการวิเคราะห์ผลการศึกษาในเชิงนโยนาย สำหรับข้อมูลที่ทำการศึกษาเป็นข้อมูลรายปีที่ทำการเก็บรวบรวมย้อนหลังเป็นเวลา 16 ปี (พ.ศ. 2525-2540) โดยทำการเก็บรวบรวมจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม บริษัทสยามอุตสาหกรรม ยิปซัม จำกัด บริษัทไทยผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า 1. อุตสาหกรรมแผ่นยิปซัมในประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตเพียง 2 ราย คือ บริษัทสยามอุตสาหกรรมยิปซัม จำกัด (SG) และบริษัทไทยผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำกัด (มหาชน)(TG) มีมูลค่าตลาดในประเทศในปี พ.ศ. 2540 ประมาณ 2,400 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ระหว่าง SG : TG ประมาณร้อยละ 65 ; 35 สำหรับภาวการณ์กระจุกตัวของผู้ขายหรือผู้ผลิต ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2531-2540) มีค่าเฉลี่ยของสัมประสิทธิ์จินี่ที่วัดจากยอดขายของผู้ผลิตเท่ากัน 0.1406 และค่าเฉลี่ยของดัชนีเชอร์ร็อคอันดับที่ 2 เท่ากับ 0.0401 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนักแสดงว่าอุตสาหกรรมนี้มีการกระจุกตัวของผู้ขายต่ำ แต่เมื่อศึกษาต่อไปในด้านโครงสร้างตลาดกลับพบว่า โครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมแผ่นยิปซัม มีความเป็นตลาดผูกขาดในเกณฑ์ลุง โดยพิจารณาจากระดับราคาขายในท้องตลาดที่อยูในระดับสูง เนื่องจากได้ถูกกำหนดจากความร่วมมือกันของผู้ผลิตทั้งสองราย นอกจากนี้ยงพบว่ามีการปรับราคาค่อนข้างบ่อยครั้ง โดยการปรับราคาแต่ละครั้งผู้ผลิตทั้ง 2 ราย จะทำการปรับในเวลาพร้อม ๆ กัน และในอัตราที่เท่ากัน เสมอ 2. สำหรับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์แผ่นยิปซัมในประเทศมี 4 ตัวแปรที่สำคัญ ได้แก่ ระดับ ราคาขายส่งแผ่นยิปซัมไนประเทศ ระดับรายได้ของประชากรในประเทศ อัตราเงินเฟ้อ (ระดับราคาสินค้าชนิดอื่นโดยทั่วไป) และจำนวนประชากร โดยมีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อปัจจัยแต่ละประเภท เท่ากับ -3.74, 0.18, 0.33 และ 16.40 ตามลำดับ หรือมีความหมายคือ หากระดับราคาชายส่งแผ่นยิปซัมฯ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 จะทำให้ปริมาณการบริโภคฯ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงข้ามถึงร้อยละ 3.74 และหากระดับรายได้ฯ ระดับราคาสินค้าชนิดอื่นโดยทั่วไป ตลอดจนจำนวนประชากร มีอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 1 จะทำให้ปริมาณการบริโภคฯ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกันร้อยละ 0.18, 0.33 และ 16.40 ตามลำดับ โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ นอกจากนี้ในการพยากรณ์แนวโน้มการบริโภคแผ่นยิปซัมในประเทศในอนาคต ได้ผลการคำนวณดังนี้ ปี พ.ค. 2541 ประเทศไทยจะมีปริมาณการบริโภคฯ ประมาณ 159,456 ด้น (ลดลงจากปี พ.ศ. 2540 ประมาณร้อยละ 50) ปี พ.ศ. 2542 จะมีปริมาณการบริโภคฯ ประมาณ 159,970 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2541 ประมาณร้อยละ 0.3) ปี พ.ศ. 2543 จะมีปริมาณการบริโภคฯ ประมาณ 193,899 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2542 ประมาณร้อยละ 21) และปี พ.ศ. 2544 จะมีปริมาณการบริโภคฯ ประมาณ 227,386 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ค. 2543 ประมาณร้อยละ 17) 3. จากผลการศึกษาที่ได้ เมื่อทำการวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์แล้ว พบว่าในแง่ผู้ผลิต หากทำการลดระดับราคาขายลงมาจะทำให้สามารทขายสินค้าได้มากขึ้นจนถึงระดับที่ทำให้ผลกำไรที่ได้มีมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากในการศึกษาพบว่า ระดับการผลิตที่เป็นอยู่จริงไม่ได้อยู่ในระต้นที่จะให้ผลกำไรสูงสุด นอกจากนการที่สินค้าชนิดนี้มีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสูง (elastic) จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่สามารถสนับสนุนนโยบายข้อนี้ได้ สำหรับภาครัฐ ควรจะมีการสนับสนุนให้มีผู้ผลิตรายใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันมากขึ้นเพื่อลดภาวะการผูกขาดของตลาดจากผู้ผลิตรายเดิมลง และควรให้ความสนใจ/เพ่งเล็งผู้ผลิตทั้งสองรายที่มีอยู่เดิมที่ร่วมมือกันกำหนดราคาขายหรือปรับราคาอย่างบ่อยครั้ง
Other Abstract: This reseaich aims at studying 1 ) the domestic gypsum board industrial structure for both production & marketing , the sellers concentiation , and the market structure. 2) factors that determine demand and four years forecast (1998-2001) for the gypsum board in Thailand. 3) policy implications from the results. The study IS based on the secondary data from Office of the National Economic and Social Development Board, Bank of Thailand, Ministry of Industry, Siam Gypsum Industry Co.,Ltd., Thai Gypsum Product Co.,Ltd. etc. . The annual data IS collected for 16 years (from 1 972 to 1 997). The results aie as follow : 1. The gypsum board industry in Thailand consists of 2 manufactures, which are Siam Gypsum Industry Co.,Ltd. (SG) and Thai Gypsum Product Co.,Ltd. (TG). The total market value เท 1997 was about 2,400 million baht and the market share of SG : TG was 65 : 35. The competitiveness or the sellers concentration study เท the past 10 years (1988-1997) shows that the average Gini coefficient and Shorrocks order two index was around 0.1406 and 0.0401. These low values indicate that Thailand's gypsum board industry has been competing quite aggressively between the two companies. However, market structure study shows that the price was often determined by the producers. 2. Foui major factors that influence the demand are the domestic wholesale pi ice of gypsum boaid, gross domestic product (GDP), inflation or the price of other goods and population. After considering the correlation between demand and the above influential factors, It was found that the own once, GDP, other goods price and population elasticity of demand were -3.74, 0.18, 0.33 and 16.40, respectively. The demand forecast in the next 4 years (1998-2001 ) are as follows : During 1998, 159,456 tons were forecasted with growth late of -50%. Willie in 1999, 159,970 tons were forecasted with a more positive growth rate of 0.3%. Foi the year 2000, 193,899 tons were forecasted along with a growth rate of 21%. Lastly, 227,386 tons were forecasted for the year 2001 with It's growth rate at 1 7%. 3. There are 2 policy implications from this study. The producers should lower then selling price. This will enable them to achieve higher sales volume and thus increasing then profit due to the fact that the actual output level IS not the level that maximize profit and puce elasticity of demand was -3.74. This will benefit the producers as well as consumers. The government should issue measures to suppoit and encourage new comers to eliminate monopoly powet. The government should emphasis and focus on the price which has been condoled by ploducets.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69149
ISBN: 9743325727
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirin_pi_front_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sirin_pi_ch1_p.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Sirin_pi_ch2_p.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Sirin_pi_ch3_p.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Sirin_pi_ch4_p.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Sirin_pi_ch5_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Sirin_pi_back_p.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.