Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69415
Title: | ความหลากหลายของลำดับเบส บริเวณ NS3 ของเชื้อไวรัสเดงกี ซีโรไทป์ 2 ที่แยกได้จากเลือดและสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ในผู้ป่วยไทย |
Other Titles: | Nucleotide sequence variations in non-structural 3 (NS3) region of dengue virus serotype 2 isolated from blood and secretions of Thai patients |
Authors: | วรรณา กะหวัง |
Advisors: | วันล่า กุลวิชิต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus; DENV) จัดเป็นโรคในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (emerging and reemerging Infectious disease) ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนเพื่อการรักษาที่จำเพาะ ดังนั้นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงพยาธิสภาพในการก่อโรค หรือความรุนแรงของโรค จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาความหลากหลายของลำดับเบส บริเวณ NS3 ของเชื้อไวรัสเดงกี ซีโรไทป์ 2 (DENV2-NS3) ที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกจากสิ่งส่งตรวจเลือด ได้แก่ พลาสม่าและเม็ดเลือดขาว และสิ่งคัดหลั่งอื่นๆ ได้แก่ ปัสสาวะและน้ำลายในผู้ป่วยไทยที่มีการติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน โดยจากการเปรียบเทียบระหว่างลำดับเบสของบริเวณ DENV2-NS3 ขนาด 295 bp กับฐานข้อมูลสากล NCBI พบว่าลำดับเบสส่วนใหญ่มีความเหมือนกับสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน โดยไวรัสที่พบในพลาสม่ามีความหลากหลายของลำดับเบสที่บริเวณดังกล่าวมากกว่าไวรัสจากสิ่งส่งตรวจอื่น และเมื่อวิเคราะห์ตามช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่างส่งตรวจ พบว่าตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วยในช่วงระยะแรกที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีความหลากหลายของลำดับเบสมากกว่าตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วยในช่วงระยะหลัง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของลำดับเบสที่พบนั้นไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของลำดับกรดอะมิโน นอกจากนี้การทำแผนภูมิต้นไม้วิวัฒนาการแสดงให้เห็นว่า ความหลากหลายของลำดับเบสในบริเวณดังกล่าวมีแนวโน้มที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ผลจากการศึกษานี้อาจนำไปใช้เพื่อเพิ่มความเข้าใจกลไกพยาธิกำเนิดของโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี การหลบหลีกจากการถูกกำจัดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการออกแบบเพื่อพัฒนาวัคซีนต่อไป |
Other Abstract: | Dengue fever is caused by infection with dengue virus (Dengue virus; DENV). Dengue fever is a disease in a group of emerging and reemerging Infectious disease, which is a major problem in public health of the country around the world because there is currently no specific treatment or vaccine. This research aims to analyze the variety of sequencing from the non-structural 3 (NS3) region of dengue virus serotype 2 (DENV2-NS3) in blood compartments (plasma, peripheral blood mononuclear cells) and secretions (saliva, urine) in Thai patients with acute infections. By comparing the DNA sequences of 295 bp in size of DENV2-NS3 with the database NCBI nucleotide sequences that are most similar to strains which found in Thailand and neighboring countries. Plasma showed the highest genetic variations among all specimens. When analyzed on a periodic collection of specimens. Specimens that were collected on early days of admitted at King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) tend to have more diversity than those collected on later days. However, the change of the DNA sequence that do not impact of changes in the amino acid sequence. In addition, the phylogenetic tree shows a variety of DNA sequences in these areas tend to correlate with the severity of the dengue virus infection. Results from this study may add up to our understanding the pathogenesis of dengue virus infection, viral clearance, and basic information for further vaccine development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69415 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574155730.pdf | 7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.