Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69516
Title: | การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกลำดับศักย์ของถนน: กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
Other Titles: | Application of gis for road hierarchy classification: a case study of Ayutthaya province |
Authors: | สิทธิพงค์ กลิ่นกระจาย |
Advisors: | พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pannee.Ch@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พระราชบัญญัติทางหลวงแบ่งประเภทถนนในประเทศไทยตามหน่วยที่ดูแลรับผิดชอบเป็นหลัก แต่เนื่องด้วยประโยชน์การใช้งานมีความแตกต่างกันทั้งการบริการ การเคลื่อนที่ของการจราจร และการเข้าถึงพื้นที่ ซึ่งจะสะท้อนการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอยของถนนแต่ละสาย ส่งผลถึงการบำรุงรักษา การออกแบบ การวางผังคมนาคม และการกำหนดมาตรการควบคุมความเร็วที่เหมาะสมกับหน้าที่ของถนนแต่ละประเภท ดังนั้น การจำแนกถนนตามหน้าที่การใช้งานจริง จะช่วยให้การวางแผนงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงศึกษาและจำแนกลำดับศักย์ของถนนตามหน้าที่การใช้งานจริง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับตรรกศาสตร์คลุมเครือ และกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าทางหลวงแผ่นดินมีหน้าที่การใช้งานจริงตามลำดับศักย์ทั้ง 4 ลำดับ ได้แก่ ทางสายประธาน ทางสายหลัก ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายหลัก (ร้อยละ 44) ทางหลวงชนบท มีการใช้งานจริงใน 2 ลำดับ ได้แก่ ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย (ร้อยละ 72) สำหรับทางหลวงท้องถิ่น มีการใช้งานจริงใน 3 ลำดับ ได้แก่ ทางสายหลัก ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย (ร้อยละ 98) ทั้งนี้ จากการจำแนกถนนทั้งหมดตามลำดับศักย์ของหน้าที่การใช้งานจริง พบว่าเป็นทางสายประธาน ร้อยละ 2 ทางสายหลัก ร้อยละ 5 ทางสายรอง ร้อยละ 9 และส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย ร้อยละ 84 ตามลำดับ |
Other Abstract: | Roads in Thailand has been classified by the Highways Act based on the responsible agencies. However, the differences in traffic movement and accessibility reflect functionality of each road, which effects in the appropriate decision in maintenance, transportation network design, and speed control measures. Therefore, the road classification based on the actual function will support more efficient decision and planning. This research aims to classify the potential hierarchy of the roads according to the actual functions by applying the geographic information system (GIS) together with the fuzzy logic and analysis hierarchy process (AHP). As the result, the national highways have their actual usage in four hierarchical road categories, which are freeway, arterial, collector and local road. Most of which are arterial roads (44 percent). Rural roads are classified in 2 categories, which are collector and local road. Most of which are local roads (72 percent) for local highways. There local roads are classified in three categories which are arterial, collector, and local road. Most of which are local roads (98 percent). According to the classification of all roads by the function, it was categorized into freeway, arterial, collector, and local road as 2 percent, 5 percent, 9 percent, and 84 percent respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69516 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1062 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.1062 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5980341322.pdf | 8.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.