Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69648
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงินและเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม
Other Titles: The relationship between financial behavior and savings goals in emerging adults
Authors: กอข้าว เพิ่มตระกูล
Advisors: จิรภัทร รวีภัทรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงิน กับเป้าหมายการออมเงินที่สามารถสะท้อนถึงความต้องการของบุคคลตามทฤษฎีของ Maslow โดยเก็บข้อมูลในผู้ใหญ่วัยเริ่มที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี จำนวน 165 คน ที่มีงานทำและมีรายได้ประจำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม และแบบสอบถามพฤติกรรมทางการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยเชิงขั้น (hierarchical regression analysis) ผลวิจัยพบว่า การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความปลอดภัยและความมั่นคง และการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านการเข้าถึงศักยภาพตนเอง สามารถทำนายพฤติกรรมทางการเงินของผู้ใหญ่วัยเริ่มได้มากที่สุด รองลงมาคือการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า  ส่วนการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านการอยู่รอดทางร่างกาย/ดำรงชีวิต และการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความรักและการเป็นส่วนหนึ่งของผู้อื่น ไม่สามารถทำนายพฤติกรรมทางการเงินได้
Other Abstract: The objective of the study is to investigate the relationship between financial behavior and saving goals that reflect Maslow's hierarchy of needs. Data were collected from 165 emerging adults aged 18-29 years who were employed and had regular income. The saving goals setting scale for emerging adults and The Financial management behavior scale (FMBS) were used to collect the data, which were then subject to hierarchical regression analysis. The results show that the saving for safety and security needs and saving for self-actualization had the strongest associations with financial behavior, followed by saving for esteem needs, but saving for physiological needs and saving for love and belonging needs did not have a significant effect on the financial behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69648
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.759
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.759
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6177602338.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.