Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69657
Title: | The relationship among level of intimacy, romantic attachment, coping strategies, and negative emotional experiences in young adults with ghosting experience |
Other Titles: | ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสัมพันธ์ ความผูกพันแบบโรแมนติก กลวิธีการจัดการปัญหา และประสบการณ์อารมณ์ทางลบ ในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีประสบการณ์การถูกทิ้งโดยไม่ได้รับคำอธิบาย |
Authors: | Piyaporn Prasertwit |
Advisors: | Parnrapee Suttiwan Sompoch Iamsupasit |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Psychology |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The study aimed to explore ghosting or when the reasons for romantic relationship termination and subsequent disappearance of one’s partner are not conveyed in Thai society, which has objectives as follow: 1. To explore the relationship between level of intimacy (9 levels) and negative emotional experience (negative-self emotions and negative-others emotions) 2. To explore the relationship between level of intimacy (9 levels), romantic attachment (attachment anxiety, and attachment avoidant), and coping strategies (emotional release, direct approach, accommodation/acceptance, denial/blaming others, and self-blame/self-focused) Participants were 335 young adults aged 18 – 30 years old (M = 22.3 years) who have had experience being ghosted. Data were collected using online self-reported questionnaires developed by the researcher. Pearson’s correlation coefficient, multiple regression, and moderation analysis were used to analyze the data. Results found that: 1. Level of intimacy had a positive relationship with negative emotional experiences. Suggesting that, if one was more intimate with their partner they are more likely to have negative emotional experiences upon being ghosted. 2. Level of intimacy and attachment anxiety were found to be positive predictors of emotional release and self-blame/self-focused. Suggesting that individuals with high levels of intimacy and are anxiously attached were likely to utilize emotional release and self-blame/self-focused upon being ghosted. 3. Attachment avoidant was a negative predictor of emotional release and self-blame/self-focused. Suggesting that avoidantly attached individuals unlikely to utilize emotional release and self-blame/self-focused upon being ghosted. 4. Level of intimacy was found to be a negative predictor of self-blame/self-focused. Suggesting that if one was more intimate with their partner, the tendency to utilize self-blame/self-focused upon being ghosted also decreases. |
Other Abstract: | งานวิจัยทำการศึกษาเรื่องการโดนเท หรือการบุคคลที่ถูกทิ้งโดยไม่ได้รับคำอธิบาย ในสังคมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับความสัมพันธ์กับคู่รัก (9 ระดับ) กับประสบการณ์อารมณ์ทางลบ (อารมณ์ทางลบต่อตนเอง และอารมณ์ทางลบต่อผู้อื่น) ในบุคคลที่โดนเทจากคู่รัก 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความความสัมพันธ์กับคู่รัก (9 ระดับ) ความผูกพันแบบโรแมนติก (ความผูกพันแบบวิตกกังวล และความผูกพันแบบหลีกหนี) และกลวิธีการจัดการปัญหาจากการโดนเท (5 วิธีได้แก่ 1. การจัดการปัญหาแบบปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก 2. การจัดการปัญหาเชิงรุก 3. การจัดการปัญหาแบบยอมรับความจริง 4. การจัดการปัญหาแบบหลีกหนีและโทษผู้อื่น และ 5. การจัดการปัญหาแบบโทษตัวเองและหมกหมุ่นกับปัญหา) ผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นอายุ 18 – 30 ปี (M = 22.3 ปี) จำนวน 335 คน คนที่มีประสบการณ์การโดนเทจากคู่รัก เก็บข้อมูลทางออนไลน์โดยแบบวัดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s correlation coefficient) วิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple regression analysis) และวิเคราะห์การทดสอบตัวแปรกำกับ (Moderation analysis) ผลของงานวิจัยพบว่า 1. ระดับความสัมพันธ์กับคู่รัก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสบการณ์อารมณ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งกล่าวได้ว่า หากบุคคลมีระดับความสัมพันธ์แนบแน่นลึกซึ้งกับคู่รักกับคู่รักมาก เมื่อโดนเทหรือถูกทิ้งโดยไม่ได้รับคำอธิบาย บุคคลนั้นก็จะยิ่งเกิดอารมณ์ทางลบมากตามไปด้วย 2. ระดับความสัมพันธ์กับคู่รัก และความผูกพันแบบวิตกกังวลเป็นตัวแปรทำนายทางบวกต่อการใช้การจัดการปัญหาแบบปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก และการจัดการปัญหาแบบโทษตัวเองและหมกหมุ่นกับปัญหา ซึ่งกล่าวได้ว่า หากบุคคลมีระดับความสัมพันธ์แนบแน่นลึกซึ้งกับคู่รักกับคู่รัก และมีความผูกพันแบบวิตกกังวลเมื่อถูกทิ้งโดยไม่ได้รับคำอธิบาย บุคคลนั้นมีแนวโน้มจะใช้การจัดการปัญหาแบบปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก และการจัดการปัญหาแบบโทษตัวเองและหมกหมุ่นกับปัญหา 3. ความผูกพันแบบหลีกหนี เป็นตัวแปรทำนายทางลบต่อการใช้การจัดการปัญหาแบบปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก และการจัดการปัญหาแบบโทษตัวเองและหมกหมุ่นกับปัญหา ซึ่งกล่าวได้ว่า หากบุคคลมีความผูกพันแบบหลีกหนีเมื่อถูกทิ้งโดยไม่ได้รับคำอธิบาย บุคคลนั้นมีแนวโน้มจะใช้กลวิธีการจัดการปัญหาในรูปแบบของการปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก และการจัดการปัญหาแบบโทษตัวเองและหมกหมุ่นกับปัญหา 4. ระดับความสัมพันธ์กับคู่รัก เป็นตัวแปรทำนายทางลบต่อการใช้การจัดการปัญหาแบบยอมรับความจริงได้ซึ่งกล่าวได้ว่า หากบุคคลมีระดับความสัมพันธ์แนบแน่นลึกซึ้งกับคู่รักมาก เมื่อถูกทิ้งโดยไม่ได้รับคำอธิบายบุคคลนั้นมีแนวโน้มจะใช้กลวิธีการจัดการปัญหาในรูปแบบยอมรับความจริงน้อยลง |
Description: | Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2019 |
Degree Name: | Master of Arts |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Psychology |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69657 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.453 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.453 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6177644738.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.