Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70437
Title: แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่น ต่อ อาเซียน สมัยรัฐบาลอาเบะ  
Other Titles: The security strategy of Japan towards ASEAN in the Abe administration
Authors: นนทิวรรธน์ สามัญบุตร
Advisors: ธีวินท์ สุพุทธิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Teewin.S@chula.ac.th
Subjects: ความมั่นคงแห่งชาติ -- ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- กลุ่มประเทศอาเซียน
National security -- Japan
Japan -- International relations -- ASEAN countries
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อจะตอบคำถามว่า ความเปลี่ยนแปลงในนโยบายญี่ปุ่นต่ออาเซียน ในสมัย นายกฯ ชินโซ อาเบะ ตอบสนองยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่น อย่างไร? จากการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่ สมัยรัฐบาลฟูกูดะ ในช่วงสงครามเย็น  ญี่ปุ่นกลับเข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดเด่นคือ การแสดงออกชัดเจนว่า จะไม่แสดงบทบาทด้านการทหารอีก แต่นโยบายญี่ปุ่นต่ออาเซียนในยุครัฐบาลอาเบะ กลับเปลี่ยนแปลงมาให้ความสำคัญกับอาเซียนด้านความมั่นคงกว่าเดิม ในกรอบ อินโด-แปซิฟิก (Indo Pacific)  และวิสัยทัศน์เวียงจันทน์(Vientiane Vision)  ผ่านการให้ความช่วยเหลือ และ มีบทบาทด้านการทหารมากขึ้น เช่น มีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และ บุคลากรด้านความมั่นคง โดยเฉพาะใน ประเด็นเรื่อง เสรีภาพด้านการเดินเรือ และ กฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (UNCLOS1982) ซึ่งการปรับบทบาทของญี่ปุ่นต่ออาเซียนนี้ จัดว่าเป็น การถ่วงดุลแบบละมุนละม่อม (Soft Balancing) โดยมีปัจจัยการผงาดของจีน เป็นตัวเร่งให้ญี่ปุ่นจำเป็นต้องมีการแสวงหา หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ความมั่นคง(Security Strategic Partnership) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เห็นความจำเป็นในการถ่วงดุลกับ จีน  
Other Abstract: This independent study aims at clarifying Japan's ASEAN Policy Shift in Abe Administration in response to its national security strategy. The finding is as follows: since the cold war period, Fukuda Administration had put Japan in a non-military hegemonic role status in Southeast Asia. In Abe Administration, on the contrary, ASEAN policy has had its strong emphasis on security issues in terms of Indo Pacific and Vientiane Vision through various support schemes including significantly increasing military one such as exchanges in academia and security personnel on Freedom of Navigation and International Maritime Law (UNICLOS1982).Which can described this act of cooperation in terms of  soft-balancing .The rise of China is a contributive factor for Japan to approach Strategic Security Partners in Southeast Asia in keeping this balance of power.
Description: สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70437
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.200
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2019.200
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6180953024.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.