Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70710
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิราพร ณ ถลาง-
dc.contributor.authorบุษรา เรืองไทย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-12T07:03:15Z-
dc.date.available2020-11-12T07:03:15Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745317667-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70710-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาบทบาทของลิงในนิทานไทย ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากนิทาน ไทยและนิทานของชนชาติไทกลุ่มต่างๆในประเทศไทย ทั้งสำนวนลายลักษณ์และมุขปาฐะ ทั้งหมด ๖๙ เรื่อง ผลการศึกษาพบว่านิทานที่ปรากฏบทบาทของตัวละครที่เป็นลิงนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก และปรากฏ ในนิทานหลายประเภท ทั้งนิทานพระราม นิทานพุทธศาสนา นิทานคติ นิทานสัตว์ นิทานอธิบายเหตุ และ นิทานมหัศจรรย์ จากการศึกษาลักษณะของลิงที่ปรากฏในนิทานไทยสามารถแบ่งลักษณะของลิงได้เป็น ๒ ประเภท คือ ลิงที่มีลักษณะพิเศษ และลิงที่มีลักษณะธรรมดา ลิงที่มีลักษณะพิเศษพบในลิงพระโพธิสัตว์และลิง ผู้ช่วย ลิงพระโพธิสัตว์ในอรรถกถาชาดก มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีร่างกายใหญ่โตและกำลังแข็งแกร่ง อุปนิสัยที่ สำคัญได้แก่ความมีเมตตา และมีไหวพริบปัญญาเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้อื่น ส่วนลิงที่เป็นผู้ช่วยพบในนิทาน พระราม ปัญญาสชาดก ชาดกพื้นบ้าน และนิทานมหัศจรรย์ มีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีอำนาจวิเศษหรือมีของ วิเศษ มีอุปนิสัยกล้าหาญ และซื่อสัตย์ จงรักภักดี ส่วนลิงที่มีลักษณะธรรมดา พบในลิงจากนิทานคติและ นิทานสัตว์ มีอุปนิสัยชุกซน เจ้าเล่ห์ คล้ายกับลิงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผู้วิจัยได้แบ่งบทบาทของลิงออกเป็น OET ประเภท คือ ตัวเอก ผู้ช่วย ตัวร้าย และตัวประกอบ ลิงที่เป็นตัวเอก แบ่งได้เป็น ลิงที่แสดงให้เห็นความมีเมตตาและมีไหวพริบจากการช่วยเหลือผู้อื่น มักพบในลิงที่เป็นพระโพธิสัตว์ จากอรรถกถาชาดก และลิงที่แสดงพฤติกรรมการทำร้ายตัวเองด้วยความชุกซนและโง่เขลา พบในลิงจากนิทาน คติและนิทานสัตว์ ลิงที่เป็นผู้ช่วย พบในนิทานพระราม ปัญญาสชาดก ชาดกพื้นบ้าน และนิทานมหัศจรรย์ มี บทบาทในการช่วยเหลือตัวเอกด้วยความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ลิงที่เป็นตัวร้าย พบในอรรถกถาชาดก บทบาทคือ การทำร้ายพระโพธิสัตว์ด้วยความชุกซน และลิงที่เป็นตัวประกอบ พบในนิทานอธิบายเหตุ แสดงให้เห็นการ อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิงในหลายลักษณะ จากการศึกษาลักษณะและบทบาทของลิงในนิทานไทย พบว่าลิงในนิทานไทยมีภาพลักษณ์ ๓ ประการ ได้แก่ ภาพลักษณ์ของลิงพระโพธิสัตว์ที่มีความเมตตากรุณา ภาพลักษณ์ของลิงที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี และเก่งกล้าสามารถ และ ภาพลักษณ์ของลิงที่มีความเจ้าเล่ห์ชุกซน-
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at studying the role of monkey in Thai folktales. The researcher collected 68 stories, both oral and literary versions, from Thai and Tai groups in Thailand. There are many Thai folktales in which the monkeys play the role. The monkey character is present in various types of tales, i.e., the Tale of Phra Ram, Buddhist tale, didactic tale, animal tale, explanatory tale and fairy tale. The monkey character in Thai folktales can be divided into two distinctive types; that is, monkeys with soecial characteristics and ordinary monkeys. The monkeys with special characteristics tend to be the Bodhisatta monkeys and the helper monkeys. The Bodhisatta monkeys in Atthakhata Jâtaka are gigantic and powerful. They are kind and intelligent and like to help other people. The helper monkeys are found in the Rama story, Pannasa Jâtaka, folk Jâtaka and fairy tales. These helpers usually possess magic or magical items. They are brave, honest and faithful. As for the ordinary monkeys, they are found in didactic tale and animal tale. They are naughty and cunning just as any natural monkeys. The researcher categorizes the role of the monkey character into four main groups: the protagonist, the helper, the antagonist, and the supporting character. The role of the protagonist is divided into the Bodhisatta monkeys in Atthakhata Jâtaka who are kind and like to help other people, and the monkeys who hurt themselves with naughtiness and foolishness, mostly found in didactic tale and animal tale. Monkeys who play the role of helper are found in the Rama story, Pannâsa Jâtaka 1 folk Jâtaka and fairy tale. They have the major role in helping the protagonists with honesty and faith. The antagonist monkeys found in Atthakhata Jâtaka would naughtily hurt the Bodhisatta. As for the role of the supporting character, it is found in explanatory tale reflecting the relationship between monkeys and humans in various aspects. The researcher also analyzes three main images of the monkeys in Thai Folktales; that is, the image of the kind Bodhisatta, the image of honest, faithful and brave monkey and the image of naughty monkey.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.338-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนิทานพื้นเมืองไทยen_US
dc.subjectสัตว์ในวรรณคดี -- ไทยen_US
dc.subjectลิง -- ไทยen_US
dc.titleบทบาทของลิงในนิทานไทยen_US
dc.title.alternativeRole of monkey in Thai folktalesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiraporn.N@Chula.ac.th,Siraporn.N@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.338-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Busara_ru_front_p.pdf846.99 kBAdobe PDFView/Open
Busara_ru_ch1_p.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Busara_ru_ch2_p.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Busara_ru_ch3_p.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Busara_ru_ch4_p.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Busara_ru_ch5_p.pdf691.87 kBAdobe PDFView/Open
Busara_ru_back_p.pdf843.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.