Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70889
Title: การนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้ในการควบคุมปัญหามลพิษ จากโรงงานอุตสาหกรรม
Other Titles: The application of the measures of safety to control pollution from factory
Authors: ณรงค์ฤทธิ์ เสมอเหมือน
Advisors: สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sunee.M@Chula.ac.th
Subjects: โรงงาน -- แง่สิ่งแวดล้อมxกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้เป็นมาตรการเสริมของการลงโทษทางอาญาต่อผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมในฐานะผู้ก่อมลพิษ ผลของการวิจัยพบว่า การใช้มาตรการทางอาญาเป็นบทลงโทษแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติกฎหมายที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันไม่บังเกิดผลที่จะท่าให้ผู้ก่อมลพิษเกิดความเกรงกลัวต่อโทษ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยเรื่อง (1) การห้ามเข้าเขตกำหนด (2) การเรียกประกันทัณฑ์บน (3) การห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพบางอย่างเพื่อเป็นมาตรการเสริมอีกประการหนึ่งที่จะใช้ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการลงโทษทางอาญา วิธีการเพื่อความปลอดภัยที่นำมาใช้นี้จะไม่มีลักษณะรุนแรงเท่ากับโทษทางอาญาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยทั้งสามประการดังกล่าวมาใช้ให้เห็นผลอย่างชัดแจ้งและเป็นรูปธรรมควรมีกระบวนการดังต่อใปนี้ เรื่องการห้ามเข้าเขตกำหนด ควรหาวิธีการจูงใจให้เจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมและ เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้บังคับกฎหมายที่มีบทบาทพิทักษ์สิ่งแวดล้อมให้เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อจะได้พิจารณาหลักการแนวความคิดของมาตรการการห้ามเข้าเขตกำหนด เรื่องเรียกประกันทัณฑ์บน ควรนำมาใช้บังคับกับบุคคลผู้ที่จะกระทำการให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าศาลจะลงโทษผู้ถูกฟ้องหรือไม่ก็ตาม และเพิ่มเติมจำนวนเงินประกันจากไม่เกินห้าพันบาท เป็นไม่เกินห้าแสนบาท เรื่องการห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพบางอย่าง ควรมีการแก้ไขโดยเพิ่มข้อความว่า”มีเหตุนำเชื่อว่าจะอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพไปกระทำความผิด แม้ศาลยังไม่ได้ลงโทษ ก็สามารถห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพบางอย่างได้” หากมีการนำเอาวิธีการดังกล่าวมาใช้และใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ควรนำไปบัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
Other Abstract: This research has an aim to study the application of the Measure of Safety as implementary measures to the criminal penalty on the industrial factory operators as a polluter. The study shows that the application of criminal penalty solely cannot deter the factory operators from polluting the environment. The researcher has recommended to apply the safety measurements regarding (1) prohibition to enter a specified area (2) execution of a bond with security (3) prohibition to carry on certain kinds of occupations, as implementary measures to the penalty in criminal laws. These safety measures are not as severe as the penalty specified in the related environment protection acts. The procedure for the efficient application of measures of safety are as follows :- Re : Prohibition to enter a specified area, - The judicial officer and other related authority must be convinced that this measure of safety is very important. Re : Execution o' a bond with security. - Th s shall be applied to the polluters, no matter whether the court has penalized the accused or net. The bond should be amended from j not exceeding 5,000 Baht to 500,000 Baht. Re : Prohibition to carry on certain kinds of occupations. - A clause should be added and read “If there is a cause to believe that the offense is committed due to the profession or occupation, eventhough the court has not made decision yet, the accuses may be prohibited to J carry on à certain kind of occupations. If such measures of safety are efficiently used, they should be added to the Penal Code.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70889
ISBN: 9746361864
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narongrit_sa_front_p.pdf954.8 kBAdobe PDFView/Open
Narongrit_sa_ch1_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Narongrit_sa_ch2_p.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Narongrit_sa_ch3_p.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open
Narongrit_sa_ch4_p.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Narongrit_sa_ch5_p.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Narongrit_sa_ch6_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Narongrit_sa_back_p.pdf785.24 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.