Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70984
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิศา ชูโต-
dc.contributor.advisorโกวิท ประวาลพฤกษ์-
dc.contributor.authorวิภา ลัคนาพรวิสิฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-25T03:30:04Z-
dc.date.available2020-11-25T03:30:04Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741308051-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70984-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย, 2543-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภาที่มีต่อคุณภาพของครู และเพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของครูต่อการฝึกปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การวิเคราะห์เอกสารและการสนทนากลุ่ม โดยเข้าไปศึกษาในสถานศึกษาเป็นระยะเวลาประมาณ 11 เดือนเศษ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ครูที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภาด้านการสอนในระดับที่สูงขึ้น กระบวนการพัฒนางานด้านการสอนในภาวะงานปกติของครูมีดังนี้คือ ขั้นแรกครูได้รับการกระตุ้นการพัฒนาวิชาชีพด้วยชุดฝึกอบรมการพัฒนาวิชาชีพครูของคุรุสภา จนเกิดความตระหนักสามารถเห็นแนวทาง ได้วิธีการ และกำหนดเป้าหมายการทำงานที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขั้นที่สอง ครูมุ่งมั่นนำแนวทาง วิธีการและเป้าหมายที่ได้รับจากชุดฝึกอบรมการพัฒนาวิชาชีพครูของคุรุสภาไปลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ สาม ครูลงมือปฏิบัติจริง โดยในขั้นนี้ครูศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้อื่น ขั้นที่สี่ ครูประเมิน ปรับปรุงเพื่อเพิ่มพูนแนวปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และขั้นสุดท้าย ครูชื่นชมผลสำเร็จของผลงานที่ปรากฏ ปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของครูต่อการฝึกปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภาในครั้งนี้ มีทั้งหมด 5 กลุ่มปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิรูปการศึกษา ปัจจัยด้านบริบทของสถานศึกษา ประกอบด้วย นโยบายของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และการรวมกลุ่มทางวิชาการของครูปัจจัยด้านครูผู้สอน ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจในวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ความตระหนักต่อวิชาชีพ ภาระงานของครู เจตคติต่อการทำผลงานทางวิชาการ ฐานะทางเศรษฐกิจ และสภาพครอบครัว ปัจจัยด้านผู้เรียน ประกอบด้วย ความสนใจใฝ่รู้ พฤติกรรมด้านวินัย สภาพครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านชุดฝึกอบรมการพัฒนาวิชาชีพครู-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research w as to study effects of practice based on standards of teaching profession of Khurusapha on teacher qualification and was to study the support factors and the constraint factors of practicing in line with the standards of teaching profession of Khurusapha. The qualitative methodology was employed including data collecting by participatory observation, formal and informal interview , literature analysis, and conducting focus groups in target school. The eleven months period was used for the study. The inductive analysis and the descriptive ap pro ach were also employed. The research result find that teacher having qualification changes in the line with the standards of teaching profession on teaching methods in higher level are having regular teaching improvement process in five stages. First the teacher is motivated to develop her profession by the training package for teaching professional development. This development attained the recognition, guidelines, methods and operational goals which focus on Child - Centred. Second, the teacher intended to implement the guidelines, methods and goals received from the training package for teaching professional development. Third, the actual operation is occured. At this stage the teacher may further her know ledge from other sources. Fourth, the teacher evaluate the process to improve the operational guidelines focussed on Child-Centred. The final is the appreciation of results attained. The support factors and the constraint factors of practicing in line with the standards of teaching profession comprise 5 groups of factors: educational reform factor; educational administration factor including school policies, school administrators, academic grouping of teachers; teacher factor including know ledge in Child - Centred approach, professional recognition, teachers’ workload, intention to produce academic works, economic situation and family status; student factor including learning interest, discipline behaviour, family status and economic situation and teach in g professional training package factor.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectครู -- มาตรฐาน-
dc.subjectครู -- การประเมิน-
dc.titleผลของการฝึกปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ของคุรุสภาที่มีต่อคุณภาพของครู : การวิจัยเชิงคุณภาพ-
dc.title.alternativeEffects of practice based in standard of teaching profession of Khurusapha on teacher qualification : a qualitative research-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wipa_la_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ874.37 kBAdobe PDFView/Open
Wipa_la_ch1_p.pdfบทที่ 1949.81 kBAdobe PDFView/Open
Wipa_la_ch2_p.pdfบทที่ 22.01 MBAdobe PDFView/Open
Wipa_la_ch3_p.pdfบทที่ 31.11 MBAdobe PDFView/Open
Wipa_la_ch4_p.pdfบทที่ 41.65 MBAdobe PDFView/Open
Wipa_la_ch5_p.pdfบทที่ 53.24 MBAdobe PDFView/Open
Wipa_la_ch6_p.pdfบทที่ 61.42 MBAdobe PDFView/Open
Wipa_la_ch7_p.pdfบทที่ 71.36 MBAdobe PDFView/Open
Wipa_la_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.